ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์หรือ AI โดย AI ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในหลายภาคส่วนของญี่ปุ่น มีการมุ่งเน้นการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ได้รับการเสริมประสิทธิภาพด้วย AI เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตและระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ในด้านการดูแลสุขภาพ AI ได้กำลังปฏิวัติวงการแพทย์ด้วยระบบการวินิจฉัยทางไกล การดูแลผู้สูงอายุเพื่อตอบสนองต่อสังคมประชากรผู้สูงอายุของประเทศ บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมยานยนต์มีการลงทุนกับเทคโนโลยี AI สำหรับยานยนต์อัตโนมัติและเทคโนโลยียานพาหนะอัจฉริยะ อีกทั้ง AI ยังเป็นกลไกสำคัญในวิสัยทัศน์ “Society 5.0” ซึ่งเป็นแผนการบูรณาการระหว่างพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่ทางไซเบอร์ เพื่อสร้างสังคมที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันมากขึ้น การสนับสนุนจากรัฐบาลและความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับสถาบันวิจัยระหว่างประเทศยังช่วยเสริมให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งในภูมิทัศน์ทางด้าน AI
ช่วงปลายปี 2567 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีโอกาสจัดการประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยเกียวโตเกี่ยวกับนโยบายและธรรมาภิบาลในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI Policy and Governance) ทำให้ทราบถึงแนวคิดและหลักการที่ประเทศญี่ปุ่นใช้ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี AI เพื่อให้การพัฒนาและการใช้งาน AI เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในศึกษาเพื่อการพัฒนาด้านกฎหมายของไทย ดังนี้
- การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี การใช้ชีวิตที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น และความปลอดภัยของเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้น เช่น การพัฒนาระบบยานยนต์อัตโนมัติ ระบบโดรนบินอัตโนมัติ และเมืองอัจฉริยะ โดยคาดว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานอันเป็นผลมาจากการลดลงของจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่องได้ด้วย
- การกำกับดูแล AI ที่มุ่งเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และมีความยืดหยุ่นคล่องตัว เพื่อที่จะสามารถตอบโจทย์เป้าหมายที่กำหนดได้ การกำกับดูแลจึงมิได้ยึดถือเพียงกฎระเบียบตายตัว แต่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกัน (Code of Conduct) โดยมุ่งหวังให้การกำกับดูแลสามารถปฏิบัติได้จริง สามารถสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและความปลอดภัยของสังคม และสามารถรองรับสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความผันผวนซึ่งเกิดขึ้นจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและความก้าวหน้าของโลกาภิวัตน์ได้ การกำกับดูแลดังกล่าวของประเทศญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่เรามักได้ยินในปัจจุบันว่า Agile Governance ซึ่งก็คือระบบการกำกับดูแลที่เรียกร้องให้องค์กรต่าง ๆ พัฒนาและจัดหาระบบบูรณาการพื้นที่ทั้งทางไซเบอร์และทางกายภาพ (Cyber-Physical System: CPS) ให้สามารถสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์และความเสี่ยงจาก CPS ได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในลักษณะที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพิ่มการยอมรับทางสังคมของความสมดุลระหว่างผลประโยชน์และความเสี่ยงและจัดการการทำงานของระบบที่ซับซ้อนโดยรวม โดยมีการนำแนวทางของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายรายที่ครอบคลุมหลายชั้นมาใช้ มีการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งมีการกำกับดูแลการบริหารจัดการในการควบคุมความเสี่ยงของสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่จะร่วมตัดสินใจในการกำหนดมาตรฐานและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น การกระจายความรับผิดชอบระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ดี แม้แต่สำหรับหน่วยงานเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนก็เป็นเรื่องยากในการสืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การกำกับดูแลที่จะสามารถรับมือกับเทคโนโลยีใหม่จึงเป็นสิ่งที่ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญ และเพื่อที่จะสามารถรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อนได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้กำกับดูแลจะต้องมีช่องทางที่จะได้รับการแบ่งปันข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาจากผู้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับ CPS ภาครัฐจึงอาจต้องพิจารณาเงื่อนไขของการกำกับดูแลที่จะสามารถดึงดูดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ซึ่งอาจรวมถึงการลดหรือยกเว้นโทษในบางกรณีด้วย
จะเห็นได้ว่าปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ อย่างมากในปัจจุบัน การกำหนดกฎ ระเบียบ หรือการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมและเทคโนโลยี โดยคำนึงถึงผลกระทบและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้มีการศึกษาแนวทาง รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานและประเทศที่เป็นผู้นำด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ ปรับปรุง และพัฒนาการทำงานด้านกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ของโลกในปัจจุบัน อันเป็นภารกิจหลักของสำนักงานฯ เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทูตญี่ปุ่น' ขอบคุณตำรวจไทย จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พร้อมมอบเกียรติบัตร
พล.ต.อ.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร จเรตำรวจแห่งชาติ ให้การต้อนรับ นายโอตากะ มาซาโตะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่น ประจำราชอาณาจักรไทย และคณะ
'รถถัง-ตะวันฉาย' ซ้อมโชวFCชาวญี่ปุ่น ก่อนบู๊ONE172ที่ญี่ปุ่น23มี.ค.นี้
พาไปส่องภาพบรรยากาศกิจกรรม Open Workout ซ้อมโชว์ความฟิตของนักกีฬาซูเปอร์สตาร์ ก่อนจะลงแข่งขันในศึก ONE 172 ซึ่งจะเสิร์ฟความมันไปยัง 195 ประเทศทั่วโลก จากสังเวียน ไซตามะ ซูเปอร์ อารีนา ประเทศญี่ปุ่น ในวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค.นี้ เริ่มเวลา 14.00 น.
'นาบิล'โชว์พร้อมเต็มร้อย ก่อนล้างตา'ซุปเปอร์เล็ก' ในศึกONE172ที่ญี่่ปุ่น
“นาบิล อานาน” แชมป์โลก ONE มวยไทย รุ่นแบนตัมเวต (135-145 ป.) เฉพาะกาล ดาวรุ่งเชื้อสายแอลจีเรีย-ไทย พร้อมแล้วที่จะทดสอบฝีมืออีกครั้งกับ “ซุปเปอร์เล็ก เกียรติหมู่ 9” แชมป์โลก ONE คิกบ็อกซิ่ง รุ่นฟลายเวต (125-135 ป.) และมวยไทย รุ่นแบนตัมเวต โดยมีบัลลังก์มวยไทย รุ่นแบนตัมเวต เป็นเดิมพัน ในศึก ONE 172 ที่จะถ่ายทอดสดส่งตรงถึง 195 ประเทศทั่วโลก จากสังเวียน ไซตามะ ซูเปอร์ อารีนา ประเทศญี่ปุ่น ในวันอาทิตย์ที่ 23 มี.ค.68
การปรับปรุงกฎหมายการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตฯ เพื่อยกระดับการบริการภาครัฐและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน
เมื่อสิบปีก่อน ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อเป็นกฎหมายกลางสำหรับกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและเครือข่ายนโยบายด้านกฎระเบียบที่ดี ASEAN-OECD GRPN
ในปี ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา คณะมนตรีแห่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบต่อการเปิดเจรจาเพื่อการเข้าเป็นสมาชิก