กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงบรรยายพิเศษพระราชทานแก่คณาจารย์-นิสิต-บัณฑิตวิทยาลัย มก.

กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงบรรยายพิเศษเรื่อง”ภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง Immuno-oncology” พระราชทานแก่คณาจารย์ นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย ม.เกษตรศาสตร์ ผ่านสื่อออนไลน์

18 ม.ค.2565 – ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เสด็จออก ณ ท้องพระโรง ตำหนักทิพย์พิมาน ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ทรงบรรยายพิเศษ  เรื่อง  “ภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง Immuno-oncology” พระราชทานแก่ คณาจารย์ และนิสิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 50 คน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) โดยวันนี้ เป็นวันแรกของการบรรยายพระราชทานในหัวข้อเรื่อง ระบบภูมิคุ้มกันกับโรคมะเร็ง (The Immune System and Cancer) ซึ่งเป็นเรื่องการรักษามะเร็งโดยใช้ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต่อสู้กับเซลล์มะเร็งในร่างกาย

ทั้งนี้ ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System)  เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งอย่างมาก ในคนปกติทั่วไป เมื่อมีเซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งภายในร่างกาย เริ่มกลายพันธุ์เพื่อก่อตัวเป็นมะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่กำจัดเซลล์ที่กลายพันธุ์ทิ้ง เราก็รอดพ้นจากการเป็นมะเร็ง  แต่ในคนที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เซลล์ที่กลายพันธุ์ไม่ถูกระบบภูมิคุ้มกันทำลาย ก็จะกลายเป็นมะเร็งได้ ระบบภูมิคุ้มกันจึงมีบทบาทสำคัญในการปกป้องสุขภาพให้รอดพ้นจากการคุกคามของเชื้อโรค  ทั้งยังสามารถช่วยให้สมรรถภาพของเซลล์ทำงานได้ตามปกติ และป้องกันโรคมะเร็ง

      ​ในการนี้ ทรงบรรยายถึงหลักการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเมื่อมีสิ่งแปลกปลอม (Foreign agents) เข้าสู่ร่างกาย โดยระบบภูมิคุ้มกันจะถูกกระตุ้นเพื่อให้กำจัดสิ่งแปลกปลอม ซึ่งก็คือเซลล์มะเร็งออกไปจากร่างกาย จัดเป็นแนวทางใหม่และเป็นอีกทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็ง ที่มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อย และยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นกว่าการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี

อีกทั้ง ทรงบรรยายถึงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ภูมิคุ้มกันที่ได้มาแต่กำเนิด (Innate Immunity) และภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired or Adaptive Immunity) ซึ่งร่วมกันทำงานเกี่ยวข้องใกล้ชิดกัน โดยมีระบบการเฝ้าระวังของภูมิคุ้มกันที่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเซลล์ปกติของร่างกาย (Self) และเซลล์ที่ผิดปกติได้ (Non-Self) โดยปกติ เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจะไม่ทำลายเซลล์ของร่างกายเนื่องจากมีความสามารถในการจดจำเซลล์ของร่างกายได้ จึงสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้  เซลล์ต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด จะทำให้เกิดการตอบสนองในลักษณะภูมิคุ้มกันทั่วไป สามารถจำแนกคุณลักษณะในระดับโมเลกุลที่อยู่บนผิวเซลล์ของเซลล์แปลกปลอมหรือเซลล์ผิดปกติ โดยไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสสิ่งเหล่านี้มาก่อนและส่งสัญญาณไปเรียกเซลล์อื่นๆ ของระบบภูมิคุ้มกันให้มายังตำแหน่งนั้น เพื่อร่วมกันโจมตีและกำจัดเซลล์แปลกปลอมออกไปอย่างรวดเร็ว เช่น การกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย

        อย่างไรก็ตาม หากการทำงานของภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ก็จำเป็นต้องใช้ระบบภูมิคุ้มกันที่มีความจำเพาะมากขึ้น ซึ่งจะมีการพัฒนาความจำถึงการสัมผัสเซลล์แปลกปลอมนั้นมาก่อน ทำให้เกิดการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อสัมผัสอีกครั้ง   โอกาสนี้ ทรงยกตัวอย่างกลไกการทำงาน และ การตอบสนองของเซลล์ชนิดต่าง ๆ ในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น โดยทรงเน้นถึงความสำคัญที่ระบบภูมิคุ้มกันสามารถจำแนกได้ว่าเซลล์มะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อในร่างกายเจ้าของเองนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม แม้ว่าเซลล์มะเร็งนั้นจะเคยเป็นเซลล์ปกติที่อยู่ในร่างกาย และกำจัดเซลล์แปลกปลอมออกไปจากร่างกาย โดยที่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อตนเอง พร้อมทั้ง ทรงยกตัวอย่างแอนติเจนของเซลล์มะเร็ง (Tumor Antigens) ที่กระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน แอนติเจนเหล่านี้สามารถเป็นตัวบ่งชี้มะเร็งที่ใช้ในการวินิจฉัยโรค และการนำมาใช้เป็นเป้าหมายในการการรักษาโรคมะเร็งต่อไป

            ตลอดการบรรยายพระราชทานครั้งนี้ ทรงนำเนื้อหาที่ได้จากการที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะเพียรพยายามศึกษาค้นคว้า และติดตามความก้าวหน้าทางงานวิจัย วิชาการด้านการรักษาโรคมะเร็งทั้งในคนและสัตว์มาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แก่คณาจารย์และนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดความรู้เข้าใจในรายละเอียดพื้นฐานได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งจะนำไปสู่ความก้าวหน้าด้านการรักษาโรคมะเร็งทั้งในคนและสัตว์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงลงพระนาม MOU ระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กับ 4 สถาบัน

15 ธ.ค.2566 - เวลา 13.30 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปในพิธีลงพระนามและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์กับ 

กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงออกหน่วยสัตว์แพทย์อาสาจุฬาภรณ์ในอีสาน

ด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนชาวไทยมีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ได้มาตรฐาน โดยทรงตระหนักดีว่า

กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติองค์สิริศิลปิน

1 ก.ย. 2566 - เวลา 14.00 น. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงเปิดนิทรรศการ “เมตตา” LOVING KINDNESS นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติองค์สิริศิลปิน ณ หอศิลป์ทิพย์พิมาน ต.โป่งตาลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงออกหน่วยสัตว์แพทย์อาสาจุฬาภรณ์ในภาคใต้

24 ก.ค.2566 - ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ซึ่งเป็นภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จึงมีพระปณิธานแน่วแน่ในการบริหารจัดการแก้ปัญหาสุนัขจรจัด และกำจัดภัยโรคพิษสุนั

ชวนชมนิทรรศการ ‘แสงแห่งพระปณิธาน เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ส่องสว่างกลางใจไทยทั่วหล้า‘

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เปิดนิทรรศการ “แสงแห่งพระปณิธาน เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ส่องสว่างกลางใจไทยทั่วหล้า” พร้อมจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี