
วงการกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาทุกคน มีบทบาทสำคัญในการเป็นแบบอย่างที่ดีที่ไม่สูบบุหรี่ทุกชนิด รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้า ให้แก่เด็กและเยาวชน ทั้งนี้ในอดีตบริษัทบุหรี่มีการใช้นักกีฬาเป็นสื่อบุคคลในการโฆษณาสินค้าบุหรี่ แต่กฎหมายทั่วโลกได้ห้ามการกระทำเช่นนี้แล้ว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ สสส.จะร่วมรณรงค์ “การกีฬาไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า”
ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) กล่าวว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จะร่วมกับมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานกีฬาต่าง ๆ เพื่อทำให้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ลงนามในวันนี้ได้เกิดการขับเคลื่อนจริง ด้วยการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้หน่วยงานภายใต้สังกัดดำเนินการจัดสถานที่ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560, สร้างความรับรู้เกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ของนักกีฬาไทยทุกคนไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเป็นต้นแบบของเด็กและเยาวชนให้ไม่ตกเป็นเหยื่อและเป็นทาสของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า, สนับสนุนให้พื้นที่หรือสถานที่ที่ใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาทุกประเภทเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ด้วยการติดสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าให้เห็นชัดเจน พร้อมการพูดประกาศเสียงตามสายตลอดระยะเวลาการแข่งขัน มีการติดตามผลการดำเนินงานสร้างค่านิยมไม่สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในหน่วยงานภายใต้สังกัด รวมถึงจะไม่รับทุนอุปถัมภ์หรือ CSR จากอุตสาหกรรมยาสูบทุกประเภท ตามข้อห้ามในมาตรา 35 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การส่งเสริมให้คนไทยออกกำลังกายเพื่อที่จะทำให้สุขภาพดีขึ้น ลดโอกาสเกิดโรค เป็นแผนงานหลักหนึ่งของ สสส. การรณรงค์ “งานกีฬาไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า” มีประโยชน์ต่อนักกีฬาและผู้เข้าร่วมงานกีฬาในหลายด้าน โดย 1) ช่วยรักษาสมรรถภาพทางกาย เพราะบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน ซึ่งส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และอาจลดความสามารถในการส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อ ซึ่งนักกีฬาที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจติดขัด 2) ป้องกันผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ เพราะไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าอาจมีสารพิษ เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ และโลหะหนัก ซึ่งอาจทำลายเซลล์ปอดและลดประสิทธิภาพในการหายใจ นักกีฬาที่ต้องใช้ความอึด เช่น นักวิ่ง นักฟุตบอล นักว่ายน้ำ อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากปอดที่อ่อนแอลง 3) ลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บและฟื้นตัวเร็วขึ้น เนื่องจากนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้หลอดเลือดหดตัว ส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บได้ช้าลง 4) สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพในงานกีฬา เพราะงานกีฬาควรเป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมสุขภาพและ แรงบันดาลใจให้คนมาออกกำลังกาย การไม่มีบุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้บรรยากาศดีขึ้น ไม่มีควันหรือกลิ่นรบกวน และ 5) ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของนักกีฬา ซึ่งนักกีฬามักเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การไม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจึงช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสนับสนุนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ในงานวันนี้ยังมีการเสวนา เรื่อง “การสูบบุหรี่ และ บุหรี่ไฟฟ้ามีผลกระทบต่อนักกีฬาอย่างไร” เพื่อเป็นการให้ข้อมูลในเชิงประจักษ์จากคุณหมอ นพ.ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด วิกฤตบำบัด และการปลูกถ่ายปอด ประเทศสหรัฐอเมริกา, พญ.พิมพ์ชนก จันทร์สวัสดิ์ กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต), พลตรี นพ.ภูษิต เฟื่องฟู ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม และตัวแทนนักกีฬา นำโดย นาวาอากาศเอก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน อดีตนักฟุตบอล และผู้แทนนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"วราวุธ" กราบ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ หนุน พม. จับมือ พศ. ลงนาม MOU ทำงานร่วม บ้าน-วัด-ราชการ ช่วยกลุ่มเปราะบาง เป็นพลังพัฒนา ไม่เป็นภาระสังคม
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ที่พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราม วรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร และประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม
'จิราพร' สั่งปราบบุหรี่ไฟฟ้าต่อ แม้พ้น 30 วัน ตามคำสั่งนายกฯ
น.ส.จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมหารือมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า
ตำรวจเปิดปฏิบัติการค้น 82 จุดทลายโกดังบุหรี่ไฟฟ้า
ตร.เปิดปฏิบัติการ Smoke Out 2 ตัดวงจรพ่อค้าบุหรี่ไฟฟ้าทั่วประเทศ
รองนายกฯ ประเสริฐ มอบ สสส. ทำงานคู่ขนานรัฐ สื่อสารอันตรายบุหรี่ไฟฟ้า เตือนเสี่ยงป่วยซึมเศร้า-กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สูงกว่าคนปกติ 2 เท่า และแจ้งเบาะแสแหล่งขาย
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ประธานการประชุมกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 3/2568 เผยมติที่ประชุมเห็นชอบโครงการสร้างเสริมสมรรถนะและขยายเครือข่ายเพื่อพัฒนางานควบคุมการบริโภคยาสูบทุกระดับ เป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าที่ระบาดหนักในกลุ่มเด็กและเยาวชนทุกพื้นที่ควบคู่ไปกับการทำงานของรัฐบาลอย่างเร่งด่วน
สภาฯ ต้าน”บุหรี่ไฟฟ้า” หวั่น เยาวชนตกเป็นทาส
ปัญหา”บุหรี่ไฟฟ้า”ที่ตอนนี้กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาทางสังคมที่หลายฝ่ายเป็นห่วง หลังพบว่าคนไทยโดยเฉพาะ”เยาวชน-คนรุ่นใหม่”