ยก'ชุมชนอาเซียน'มาไว้ที่งาน'240ปี กรุงรัตนโกสินทร์'

งาน’ใต้ร่มพระบารมี 240 กรุงรัตนโกสินทร์’ คนแห่ชมคึกคัก แจกพิกัดชุมชนอาเซียนน่าเที่ยว ยกย่านเขมร-ญวณ-พม่า-มอญ-ลาว-มุสลิม มาไว้ที่เดียว ไม่ต้องเดินทางไกล

24 เม.ย.2565 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า งาน“ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 20-24 เมษายน 2565 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ และบริเวณพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯใน 9 พื้นที่หลักและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม 20 แห่ง ประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก ซึ่งวันนี้เป็นวันสุดท้ายของงาน กิจกรรมส่วนหนึ่งเป็นการเผยแพร่ความรู้ชุมชนในไทยและชุมชนต่างชาติในกรุงรัตนโกสินทร์ทั้งในกรุงเทพฯและภูมิภาคต่างๆ นับตั้งแต่สมัยอยุธยาสืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์โดยเมื่อปี พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี มีชาวต่างชาติทั้งที่อพยพย้ายถิ่นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและอพยพมาใหม่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงใช้ทศพิธราชธรรมปกครองพสกนิกรชาวไทย และทรงแผ่พระบารมีไปยังชาวต่างชาติโดยพระราชทานสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิต ประกอบอาชีพ การปฏิบัติประเพณีและนับถือศาสนา อีกทั้งพระราชทานที่ดินให้อยู่อาศัยแยกตามเชื้อชาติและศาสนา ก่อเกิดเป็นชุมชนและย่านตามรูปแบบทางวัฒนธรรมและศาสนาที่คล้ายคลึงกัน 

นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า  วธ.จัดนิทรรศการเกี่ยวกับชุมชนในไทยและชุมชนต่างชาติใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารใน 2 พื้นที่ ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร  จัดนิทรรศการ“ชุมชนใต้ร่มพระบารมี” ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาและอัตลักษณ์ชุมชน เช่น สถาปัตยกรรม งานหัตถกรรมและช่างฝีมือ อาหาร การแต่งกายของชุมชนในกรุงเทพฯ  ภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก และศูนย์อาเซียน ชั้น 3 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน จัดนิทรรศการ “ชุมชนอาเซียนใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร” วันที่ 20 – 24 เมษายน 2565 เวลา 10.00-19.00 น. เผยแพร่องค์ความรู้การตั้งถิ่นฐานของชุมชนอาเซียนดั้งเดิมในกรุงเทพฯ  6 กลุ่ม ได้แก่ เขมร ญวน พม่า มอญ ลาว และมุสลิม พร้อมนำเสนออัตลักษณ์ ขนบประเพณีของชุมชนอาเซียนที่อยู่อาศัยภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารอย่างร่มเย็นเป็นสุขตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน และวันที่ 23-24 เมษายน 2565 มีกิจกรรมบรรยายและเสวนา“ชุมชนอาเซียนใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร” การสาธิตด้านอาชีพและอาหารโดยผู้แทนชุมชนอาเซียน ได้แก่ ย่านเขมร ชุมชนบ้านบาตรสาธิตการทำบาตร ย่านพม่า ชุมชนตลาดพระโขนงออกร้านขายเครื่องอุปโภคบริโภค ย่านมอญ จัดแสดงข้าวแช่จากบางลำพู ย่านลาว ชุมชนบางไส้ไก่สาธิตการทำขลุ่ย และย่านมุสลิมจัดแสดงแกงมัสมั่นจากชุมชนมัสยิดจักรพงษ์

สำหรับบรรยากาศนิทรรศการและเสวนา “ชุมชนอาเซียนใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร” ในงาน “ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์”  ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เป็นไปอย่างคึกคัก ตลอดทั้งวันมีประชาชนทุกเพศทุกวัยทยอยเดินทางมาเยี่ยมชมและรับฟังเรื่องราวอาชีพและอาหารสุดคลาสสิก 6 ชุมชนอาเซียน  ภายในนิทรรศการที่มีชีวิตชีวา และมีผู้นำชุมชนมาบอกเล่าเรื่องราวด้วยตัวเอง นำพาผู้ชมไปท่องย่านเขมร ชุมชนบ้านบาตร บาตรนี้มีเรื่องราวเล่าขาน

ถัดมาเป็นย่านลาว ชุมชนบางไส้ไก่ ฟังเสียงขลุ่ยคลอเคล้าเล่าเทคนิคสร้างให้ไพเราะ ต่อด้วยมาช้อปย่านพม่า ชุมชนตลาดพระโขนง ออกร้านขายสินค้าสารพัด ก่อนจะแวะชิมอาหารย่านญวน เปาะเปี๊ยะแสนอร่อยซอยสามเสน 13 ตามด้วยย่านมุสลิมที่อยู่คู่พระนคร ลิ้มรสมัสมั่นจากชุมชนมัสยิดจักรพงษ์  ท้ายสุดมารู้จักย่านมอญ ชิมข้าวแช่รสเลิศบางลำพู

Ms. Suzilah Mohd Sidek ผู้แทนสถานเอกอัครทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย กล่าวว่า นิทรรศการให้ความรู้และสาธิตทางวัฒนธรรมของศูนย์วัฒนธรรมอาเซียนที่ได้นำเอามรดกร่วมของทั้งสิบประเทศมานำเสนอในมุมมองที่หลากหลาย และอีกสิ่งหนึ่งที่ประทับใจ คือ อาหารคลายร้อนของไทย ทั้งคาว หวาน คือ เมนูข้าวแช่และของหวาน “ส้มฉุน” และวิธีการทาน กลิ่นหอมรสชาติที่ไม่เหมือนใคร ทั้งประณีตและสร้างสรรค์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

20 ชุมชนชิงต้นแบบ'เที่ยวชุมชน ยลวิถี'

ชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนั้นกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย แต่ละชุมชนมีความโดดเด่นด้วยอัตลักษณ์ วิถีชีวิต เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวตามบริบทของชุมชน เพื่อคัดเลือกชุมชนต้นแบบ”เที่ยวชุมชน ยลวิถี”ที่มีเรื่องราวน่าสนใจ

ภาพถ่าย'Show Me Your Korea' ประตูสู่เกาหลี

ชวนคนไทยร่วมเดินทางไปท่องเที่ยวเกาหลีผ่านนิทรรศการภาพถ่าย “Show Me Your Korea” เนื่องในโอกาสเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเกาหลี - ไทย ปี 2023-2024   จัดโดยศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย นิทรรศการล่าสุดนี้ดึงดูดผู้ชมด้วยผลงานภาพถ่ายที่ผ่านการคัดสรรจากเวทีการประกวดภาพถ่าย

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

สงกรานต์ริมคลองรอบกรุง 'คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน-วัดบพิตรพิมุข'

สงกรานต์นี้เปิดเส้นทาง “คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน- วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร” เลาะเลียบคลอง ชมสตรีทอาร์ต เรียนรู้ประวัติศาสตร์พหุวัฒนธรรมให้เย็นฉ่ำชื่นใจ ถือเป็นพื้นที่น้องใหม่งาน Water Festival 2024 พร้อมเชิญร่วมกิจกรรมมงคล ย้อนวันวานตักบาตรริมคลองยามเช้า

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม