ดีไซเนอร์จับคู่ชุมชนแดนใต้ พัฒนาลายบาติกรังสรรค์แฟชั่น

เตรียมพบกับคอลเลคชั่นผ้าบาติกชายแดนใต้ใหม่ล่าสุดภายในงาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ระหว่างวันที่ 11-14 สิงหาคม 2565 ที่รอยัลพารากอน ฮอลล์  ศูนย์การค้าสยามพารากอน

คอลเลคชั่นนี้เปิดโอกาสให้ดีไซเนอร์ชื่อดังมากความสามารถได้มาทำงานใกล้ชิดกับเหล่าผู้ประกอบการผ้าบาติกในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาลายผ้าบาติกยุคใหม่ให้เป็นที่ชื่นชอบสวยงามต้องตา  คอลเลคชั่นใหม่สำหรับชายและหญิงจะนำเสนอสีสันและลวดลายใหม่ๆ  การออกแบบที่ร่วมสมัยเพื่อสร้างสรรค์มรดกใหม่ที่ทันสมัยขึ้นจากภูมิปัญญาดั้งเดิมอันทรงคุณค่า เป็นงานภายใต้โครงการพัฒนาผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้ สนับสนุนโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)

โกวิท ผกมาศ ติดตามผลงานพัฒนาลายผ้าของ OK Batik

โกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กล่าวว่า ตนลงพื้นที่ จ.นราธิวาส ยะลา ปัตตานี และสงขลา ร่วมกับนายธีระ ฉันทสวัสดิ์ และนายเอก ทองประเสริฐ นักออกแบบแฟชั่นติดตามความคืบหน้าการสร้างสรรค์ผลงานลายผ้า ซึ่ง สศร.คัดเลือกผู้ประการและกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านสิ่งทอในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีศักยภาพ 14 ชุมชน ผลิตผลงานผ้าบาติกมาใช้ในการออกแบบชุดผ้าไทยร่วมสมัย 28 ชุด  และจะนำมาจัดแสดงร่วมกับโครงการผ้าไทยใส่สบายที่ตัดเย็บด้วยผ้าพื้นถิ่นของภูมิภาคต่างๆ ในงาน “ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล” เฉลิมพระเกียรติ 90 พรรษา

“  ต้นแบบผ้าบาติกที่ทุกชุมชนร่วมพัฒนากับนักออกแบบสวยงาม บอกเล่าวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชน ลายที่ประยุกต์ให้ทันสมัย ทั้งลวดลายเลขาคณิต ลายกราฟิก ลายธรรมชาติ  ชุมชนสามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าของกลุ่มวางจำหน่ายได้ด้วย ช่วยขยายกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่และผู้คนทั่วโลก  สร้างรายได้ ฟื้นเศรษฐกิจชุมชนที่ซบเซาจากโควิด-19 “ โกวิท กล่าว

ผู้ประกอบการบ้านบาโง จ.นราธิวาส

สำหรับผู้ประกอบการ 3 จังหวัด 4 อำเภอ ประกอบด้วย จ.นราธิวาส ได้แก่ OK Batik และบ้านบาโง ส่วน จ.ปัตตานี ได้แก่ บาติกเดอนารา ,ตันหยง ปาตานี ,รายาบาติก ,กลุ่มสตรีซัมบีลัน , ยาริงบาติก ขณะที่ จ.ยะลา ได้แก่ กลุ่มครูผีเสื้อ ,อาดือนัน ,Adel kraf ,เก๋บาติก และ Assama Batik และ จ.สงขลา ได้แก่ มีดีที่นาทับ และ บาติกสะบ้าย้อย

เอก ทองประเสริฐ ดีไซเนอร์ ให้คำปรึกษาบาติกสะบ้าย้อย

เอก ทองประเสริฐ ดีไซเนอร์ที่ทำกิจกรรมกับผู้ประกอบใน จ.ยะลา และสงขลา กล่าวว่า คอลเลคชั่นผ้าบาติกครั้งนี้ต้องการสร้างผลงานบาติกให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมเสื้อผ้ามือสองหรือธุรกิจเสื้อผ้าวินเทจ   ซึ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจชายแดนภาคใต้ มีเงินหมุนเวียนหลักพันล้าน  และช่วยเหลือผู้ประกอบที่มีจุดอ่อนไม่สามารถตัดเย็บชุดที่ทันสมัยได้ ลวดลายผ้าบาติกที่ชุมชนพัฒนาจากคำแนะนำ เราสามารถนำไปตัด ทับ บนเสื้อผ้ามือสอง เพื่อเพิ่มดีไซน์และเพิ่มมูลค่า เช่น ซื้อเสื้อมือสองราคาหลับสิบ ทำแล้วขายได้หลักร้อยหลักพัน  โดยไม่ต้องลงทุนออกแบบเสื้อผ้าหรือทำงานตัดเย็บที่ไม่ถนัด เกิดผลิตภัณฑ์บาติกรูปแบบใหม่ๆ มีชิ้นเดียว นอกจากนี้ ยังพัฒนาลายมัดย้อมด้วย ทั้ง 7 ชุมชนเราจะต่อยอดจากทักษะและความชำนาญแต่ละชุมชน

“ ลายคอลเลคชั่นนี้ยังได้แรงบันดาลใจจากตัวตลกในหนังตะลุง การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ ที่มีความร่วมสมัยบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน มาเชื่อมโยงกับพฤติกรรมที่ได้รับความนิยมในเมือง เช่น การเล่นสเก็ตบอร์ด การเซลฟี่ เช็คอินร้านกาแฟ ท่องเที่ยวที่ต่างๆ  ชวนชุมชนออกจากลายดอกไม้ปรับเป็นลายใหม่ๆ  ผมทำคอลเลคชั่นผู้ชายทั้งหมด 14 ชุด จะได้เห็นงานออกแบบแจ๊กเก็ต ชุดทำงาน เสื้อยืดที่ผสานลายผ้าบาติก โทนสีครีม ดำ และแดง ผลงานจะสร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนและผู้ประกอบการเอาไปต่อยอดได้ สร้างตลาดใหม่เพื่อเจน Z ที่ให้ความสำคัญพัฒนาชุมชนและชอบสินค้ามีสตอรี “ ดีไซเนอร์ดัง บอก

ธีระ ฉันทสวัสดิ์ ให้คำปรึกษาพัฒนาลายผ้าผู้ประกอบการ OK Batik

ด้าน ธีระ ฉันทสวัสดิ์ ดีไซเนอร์ระดับประเทศ กล่าวว่า การพัฒนาลายผ้าบาติกร่วมกับชุมชน เราทำการบ้านและหาข้อมูลผลิตภัณฑ์กลุ่มหน้าตาเป็นยังไง จากนั้นหาแรงบันดาลใจให้สอดคล้องกับชุมชน หลักการทำงานไม่เอาตัวตนของเราไปยัดใส่ เพราะชุมชนจะไม่รับ พูดเสมอว่า นวัตกรรมกับวัฒนธรรมดั้งเดิมต้องเดินไปด้วยกัน ​ปัจจุบันเทรนด์เปลี่ยนไปแล้ว ลงพื้นที่คุยกับผู้ประกอบการ ถ้ายังทำลายแบบเดิมจะขายไม่ได้ มีตัวอย่างชุมชนที่ร่วมโครงการพัฒนาผ้าไทยร่วมสมัยชายแดนใต้ หลังพัฒนาลายผ้าบาติกขึ้นใหม่ ปรับโทนสีสดเป็นโทนอ่อน ขาว เทา ฟ้า คราม   ขายได้เมตรละ 850 บาท จากเดิม 150 -200 บาท หรือผ้าบาติกจากกลุ่มเดอนารา นราธิวาส ส่งออกไปญี่ปุ่นใช้ตัดเย็บกิโมโน

“  พอใจกับผลงานลายผ้าบาติกของ OK Batik  เป็นผู้ประกอบการใหม่ เราให้ไอเดียลายรูปทรงเราขาคณิตไป ชวนวาดและเล่นสีสนุกๆ ชาวบ้านใช้ความถนัดเขียนสด เขียนทับซ้อนหลายครั้ง งานออกมาแนวแอบแสตร็กแต่ดูสวยงาม   ผมจะนำไปทำคอลเลคชั่นของผู้หญิงแสดงแฟชั่นโชว์เดือน ส.ค. นี้ ช่วยพัฒนาและยกระดับผ้าบาติกสู่สากล  “ ธีระ กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามผลงานในหลายชุมชนของชายแดนใต้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไฮไลต์ 3 วัน เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง 2024

เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง Phetchaburi Harmony Puppet Festival 2024 กลับมาอีกครั้ง ภายใต้การออกแบบเฟสติวัลที่เชื่อมโยง คำว่า “หนัง” ที่สื่อถึงตัวหนังที่แกะขึ้นเป็นภาพ ภาพบนตัวหนังที่เคลื่อนไหวใช้ชักเชิด ต่อมาวิวัฒนาการเป็นภาพยนตร์  มีการชมหนัง  ปีนี้

5 งานอาร์ตจัดเต็มที่หอศิลป์ร่วมสมัยฯ

ใครอยากเพลิดเพลินใจกับงานศิลปะที่คัดมาแล้วว่าสุดเจ๋ง!  ต้องแวะไปที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินอาร์ตสเปซที่ตอบโจทย์ทั้งสายอาร์ตและมือสมัครเล่นหัดดูงานศิลปะใจกลางเกาะรัตน์โกสินทร์ ซึ่งเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ ชวนมาเสพอาร์ตยาวๆ

กราฟิกอัตลักษณ์'น่าน' เพิ่มเสน่ห์เที่ยวเมืองรอง

จ.น่าน เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มอิทธิพลของลุ่มน้ำโขงและกลุ่มอิทธิพลล้านนา นครแห่งนี้สะสมบ่มเพาะปัญญาจากหลากทิศทางจนสามารถสร้างรูปแบบอัตลักษณ์อันเป็นฐานรากสำคัญนครน่านขึ้นมาได้ อัตลักษณ์น่านเติบโตโดยได้รับอิทธิพลสกุลช่าง

เปิดโลกศิลปะที่บ้านสวนสมพงษ์ Art Space

เข้าสู่ช่วงเดือนที่สามของ“Thailand Biennale Chiangrai 2023” ซึ่งประสบผลสำเร็จมีผู้คนสนใจเดินทางไปชมมหกรรมศิลปะร่วมสมัยระดับนานาชาติครั้งนี้อย่างคึกคัก ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญช่วยเปิดโลกศิลปะวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ชาวโลกได้รับรู้

'ศิลปะบนนาข้าว'ดังระดับโลก

1 ก.พ.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมตามกรอบนโยบายหลัก “วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจ”พร้อมทั้งขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก โดยการสำรวจรวบรวมทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภา

ผลงานศิลปะ 80 ปี กมล ทัศนาญชลี

ครบ 80 ปี ศิลปินแห่งชาติ กมล ทัศนาญชลี จัดใหญ่จัดเต็มขนผลงานศิลปะสุดล้ำค่ามาจัดแสดงให้คนรักงานศิลปะชื่นชมผ่านนิทรรศการ “ผลงานศิลปะ 80  ปี กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ” ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน งานแสดงเดี่ยวครั้งนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 11 ก.พ.2567