มหกรรมผ้าตีนจก'แม่แจ่ม' โชว์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผ้าตีนจก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการผ้าทอของประเทศไทย และถูกยกให้เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของอำเภอแม่แจ่ม ด้วยเป็นผ้าซิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนที่อื่น มีความละเอียดปราณีต ลวดลายอ่อนช้อย มีความหมายในตัวเอง ซึ่งปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เข้ามา ฟื้นฟูและพัฒนาผ้าซิ่นตีนจกร่วมกับชุมชน

“มหกรรมผ้าตีนจกและวัฒนธรรมชนเผ่า อำเภอแม่แจ่ม ครั้งที่ 29 ประจำปี 2567”  ที่จัดระหว่างวันที่ 14-18 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา เป็นกิจกรรมที่ตั้งใจแสดงพลังชาวอำเภอแม่แจ่มในการอนุรักษ์ผ้าตีนจกภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น และผ้าทอชนเผ่า เหล่าแม่ครูผ้าทอพร้อมใจกันสาธิตทอผ้าตีนจกแม่แจ่ม 16 ลวดลายดั้งเดิมที่รักษาไว้ ส่วนคนรุ่นใหม่ชวนกันทอลวดลายประยุกต์ เป็นงานผ้าจากต้นทุนวัฒนธรรมต่อยอดสู่ระดับสากล ขณะที่ขบวนแห่หนุ่มสาวนุ่งซิ่นตีนจกเผยแพร่วิถีให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ร่วมงานมากมายได้ยล โดยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงาน เยี่ยมชมนิทรรศการผ้าตีนจกและวัฒนธรรมชนเผ่า ลานวัฒนธรรม บ้าน 4 ชนเผ่า ชนพื้นเมือง ชนผ่าม้ง ชนเผ่าลั้วะ ขนเผ่ากะเหรี่ยง ด้วยความสนใจ  

โอกาสนี้ นายสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษา รมว.วธ. นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าฯ เชียงใหม่ นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัด วธ.  นายโกวิท ผกามาศ อธิบดี สวธ.  ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ชาวแม่แจ่ม เข้าร่วมงาน  ณ ที่ว่าการอำเภอแม่แจ่ม

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร กล่าวว่า  วธ. และ สวธ. มุ่งขับเคลื่อนงานศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ปรับบทบาทสู่กระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ได้สนับสนุนการจัดงานมหกรรมผ้าตีนจกและวัฒนธรรมชนเผ่าอำเภอแม่แจ่ม ประจำปี 2567 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มหกรรมครั้งนี้ชาวอำเภอแม่แจ่ม ทุกภาคส่วนในพื้นที่ร่วมกันจัดเพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่งดงาม ผ้าตีนจกแม่แจ่มเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของ อ.แม่แจ่ม และ จ.เชียงใหม่  นอกจากผ้าตีนจกแล้ว อ.แม่แจ่ม มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชนเผ่าที่งดงามที่สมควรได้รับการส่งเสริมและอนุรักษ์ให้อยู่คู่กับท้องถิ่น

“ มหกรรมนี้เปิดพื้นที่การเรียนรู้เรื่องผ้าของชาวแม่แจ่ม และสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาการทอผ้า การต่อยอดหลังจากนี้ วธ. พร้อมเป็นหน่วยงานผลักดัน สนับสนุน ฟื้นฟู และคุ้มครองงานภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์ชนเผ่าต่างๆ สอดคล้องกับรัฐบาลที่มุ่งให้ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญกลุ่มชาติพันธุ์ หรือเป็นผู้ทรงภูมิปัญญาชาติพันธุ์ ได้ให้คำปรึกษาและดำเนินงานคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ… “  ปลัด วธ. กล่าว

ด้าน ธวัชชัย อุบลพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ผ้าตีนจกเป็นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาติ เป็นสินค้า GI ของอ.แม่แจ่ม  ที่ผ่านมา มีการอนุรักษ์ พัฒนา ผ่านงานศึกษาวิจัย  รวมถึงจัดประกวดลวดลายผ้าอัตลักษณ์เชียงใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางวัฒนธรรม มหกรรมผ้าตีนจกฯ ครั้งที่ 29  รวมพลังกันจัดยิ่งใหญ่เพื่อเผยแพร่ประเพณีสอดรับนโยบาย วธ.ยกระดับเทศกาลประเพณีไทยระดับท้องถิ่นสู่ระดับชาติและระดับนานาชาติ  อ.แม่แจ่ม เป็นอำเภอหนึ่งในจ.เชียงใหม่ ตั้งอยู่ในหุบเขา นักท่องเที่ยวเข้ามาชมงานจะช่วยเผยแพร่งานประเพณีในอำเภอเล็กๆ แห่งนี้ ให้เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น รวมถึงประทับใจกับความเป็นพหุวัฒนธรรมที่มี 4 กลุ่มชาติพันธ์อาศัยอยู่รวมกันในอำเภอแม่แจ่มอีกด้วย

นางสมหมาย กรรณิกา ผู้ดูแลศูนย์หัตถกรรมบ้านท้องฝาย อุทยานแห่งชาติแม่แจ่ม กล่าวด้วยรอยยิ้มว่า ผ้าตีนจกแม่แจ่มจะมีลวดลายโบราณหลากหลายมาก แต่ชุมชนได้คัดเลือก 16 ลวดลายดั้งเดิมเพื่อขอขึ้นทะเบียน GI ซึ่งเป็นลวดลายที่ได้รับความนิยม เช่น โคม ขัน นาค หงส์ น้ำต้น สะเปา ลายทั้งสวยงามและมีความหมาย เป็นสัญลักษณ์ความเชื่อทางพุทธศาสนาตามวิถีล้านนา ถ้าเพิ่มสีสันและความละเอียดของลวดลายผ้าจะยิ่งเป็นที่นิยม ปัจจุบันพัฒนาสินค้าผ้าตีนจกแปรรูปเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ กระเป๋าแฟชั่น หมอน

” นอกจากกลุ่มแม่อุ๊ยที่เป็นครูช่างทอแล้ว ได้ส่งต่อภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกสู่ช่างทอรุ่นใหม่ วัยละอ่อน เชื่อว่าไม่สูญหายไปแน่นอน อีกทั้งในอำเภอมีศูนย์เรียนรู้ผ้าตีนจกหลายแห่งให้เรียนรู้การทอผ้า สำหรับงานมหกรรมผ้าตีนจกชาวแม่แจ่มพร้อมใจกันจัดต่อเนื่องทุกปีเพื่อเผยแพร่มรดกพื้นเมืองที่มีคุณค่า เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชาวแม่แจ่ม “นางสมหมาย บอกด้วยรอยยิ้ม

แม่แจ่มนอกจากมีผ้าตีนจกที่น่าหลงไหลแล้ว ยังมีวิถีวัฒนธรรมชนเผ่าและประวัติศาสตร์สำคัญ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต้นแบบที่คงเอกลักษณ์ตัวตนไว้อย่างดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ

25 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมห

ชวนชิม 10 เมนูอาหารถิ่น หากินยาก

เหลือเวลาอีก 2 วันที่จะได้ชิม ช้อป เมนูอาหารถิ่นในงาน "ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์" งานนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดเมนูอาหารหาทานยาก ภายใต้โครงการ "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

เที่ยวงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี ชิล ชิม ช้อป ครบครัน

24 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 20 หน่วยงาน จัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เที่ยวมิวเซียม ยลวัง ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์242ปี

เปิดงาน”ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” อย่างยิ่งใหญ่และอลังการ ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบ 242 ปีของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์  งานนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบูรพกษัตริย์ งาน242ปี กรุงรัตนโกสินทร์

21 เม.ย.2567 - เวลา 07.00 น. พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช