อบจ.จุฬายุคสามนิ้ว ทำลาย ‘พระเกี้ยว’ สัญลักษณ์ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภูมิใจ สืบเนื่องจากชื่อของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
24 ต.ค.2564- หลังองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ภายใต้การนำของ นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นายกสโมสรฯ ออกแถลงการณ์คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ด้วยเหตุสะท้อนถึงระบบอำนาจนิยม ค้ำยันความเชื่อคนไม่เท่ากัน มีการใช้อำนาจบังคับนิสิตหอในมาเป็นผู้แบกเสลี่ยงกว่า 50 คน จึงมีการลงมติในวาระการประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 1/2564 ให้ยกเลิกกิจกรรมด้วยผลโหวต 29:0 นั้น มีเสียงวิพากวิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความเหมาะ เพราะขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวเป็นหนึ่งในประเพณีที่ปฏิบัติกันมาต่อเนื่องยาวนาน
เว็บไซต์ https://www.chula.ac.th/ ระบุว่าพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภูมิใจ สืบเนื่องจากชื่อของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระเกี้ยวเป็นพิจิตรเรขาประจำรัชกาลของพระองค์ เมื่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือนหรือโรงเรียนมหาดเล็ก จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียนมหาดเล็ก และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายของโรงเรียน เมื่อโรงเรียนมหาดเล็กได้วิวัฒน์ขึ้นเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เปลี่ยนข้อความใต้พระเกี้ยวตามชื่อซึ่งได้รับพระราชทานใหม่ตลอดมา
พระเกี้ยวองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตึกจักรพงษ์ เป็นพระเกี้ยวซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสร้างจำลองจากพระเกี้ยวจริงที่ประดิษฐานอยู่ในพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง และได้พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยต่อหน้าประชาคมจุฬาฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา ๒๕๓๑ เมื่อ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๒
ข้อมูลเพิ่มเติม
“พระเกี้ยว” เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า เกี้ยว ถ้าเป็นคำนามแปลว่าเครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยาแปลว่าผูกรัดหรือพัน
“จุฬาลงกรณ์” แปลว่า เครื่องประดับศีรษะหรือจุลมงกุฎ
“จุลมงกุฎ” หมายถึง พระราชโอรสของสมเด็จฯเจ้าฟ้ามงกุฎฯ หรือ พระจอมเกล้าน้อย อันเกี่ยวโยงถึงพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนามาภิไธยเดิม คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘นายกฯอิ๊งค์’ ผู้อยู่ใต้อิทธิพลพ่อ | ห้องข่าวไทยโพสต์สุดสัปดาห์
ห้องข่าวไทยโพสต์สุดสัปดาห์ : วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567
ปลื้มผลโพล! 'จิรายุ' ชี้คนไทยมีความสุขมากขึ้น
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนหรือโพลของ “นอร์ทกรุงเทพโพล” รายงานว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความสุขในการดำเนินชีวิตเพิ่มขึ้น และมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น
ป.ป.ช.ตื่น! เริ่มสอบข้อเท็จจริง หน่วยงานรัฐทำตามกฎหมายหรือไม่ ปมรถบัสมรณะ
นายสุขสันต์ ประสาระเอ ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ และคณะ ได้รับมอบหมายจาก นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการ ป.ป.ช. ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการ ป.ป.ช
ประเพณีถือศีลกินผักภูเก็ต อัตลักษณ์แห่งศรัทธาสืบทอดมา 199 ปี
จังหวัดภูเก็ต พร้อมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะกรรมการอ๊าม (ศาลเจ้า) และองค์กรต่าง ๆ พร้อมใจกันจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2567 โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล