ยกคำร้อง 'รวิสรา' ยื่นขอออกนอกประเทศ ครั้งที่ 6 ศาลชี้ผู้กำกับดูแลไม่มีคุณสมบัติเหมาะสม

ศาลอาญาใต้ยกคำร้อง “รวิสรา” จำเลยคดี 112 เเปลเเถลงการณ์ม็อบหน้าสถานทูตเยอรมนี ยื่นขอออกนอกประเทศครั้งที่ 6 อ้างได้ทุนเรียนต่อ ป.โท ที่เยอรมัน ศาลไต่สวนผู้กำกับดูเเลเเล้ว ชี้คุณสมบัติยังไม่เป็นไปตามระเบียบศาลยุติธรรม

30 มี.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2565 เวลา 09.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 705 ศาลได้นั่งบัลลังก์นัดไต่สวนคำร้องขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ประเทศเยอรมนี ของน.ส. รวิสรา เอกสกุล บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในจำเลยคดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563 ซึ่งถูกสั่งฟ้องในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116 

โดยระบุว่า น.ส.รวิสราได้รับทุนไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของรัฐบาลเยอรมนี The German Academic Exchange Service (DAAD) แต่ด้วยเงื่อนไขการประกันตัวของศาลทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ โดยที่ผ่านมาเธอได้ยื่นคำร้องขอเดินทางออกนอกราชอาณาจักรต่อศาลแล้ว 6 ครั้ง

ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2565 โดยสองครั้งแรก ศาลไม่อนุญาต 5 ครั้ง ถัดมา ศาลให้ยื่นเอกสารต่างๆ เพิ่มเติม โดยครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2565 รวิสราได้นำหนังสือจากมหาวิทยาลัยออสนาบรึค ประเทศเยอรมัน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่รวิสราได้รับทุนให้เข้าศึกษาต่อ พร้อมผ่านการรับรองเอกสารจากสถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทยแล้ว เข้ายื่นต่อศาล

และศาลนัดไต่สวนคำร้องวันนี้ ซึ่งตามกำหนดของ น.ส.รวิสราหลังได้รับทุนการศึกษา จะต้องเดินทางไปศึกษาในหลักสูตรเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. -30 ก.ย. 2565 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ก่อน

โดยก่อนมีคำสั่งศาลได้นัดไต่สวนรายละเอียดเกี่ยวกับผู้กำกับดูแลของ น.ส.รวิสราทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและประเทศเยอรมนี ทั้งสองคนถึงการติดต่อสื่อสารกันได้ รวมทั้งประเด็นให้ผู้ปกครองช่วยติดต่อกับผู้กำกับดูแลทั้งสองอีกทางหนึ่งโดยวันนี้ศาลไต่สวน ผู้กำกับดูเเลทั้ง2คนคนเเรกเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่สองเป็นนักวิจัยระดับศึกษาปริญญาเอกที่สถาบันกฎหมายระหว่างประเทศวัลเธอร์ชึคกิ้ง ที่ประเทศเยอรมนี เเละไต่สวนบิดาของ น.ส.รวิสรา

ภายหลังไต่สวนเสร็จสิ้น ศาลอ่านคำสั่งโดยพิเคราะห์คำร้องของจำเลยที่ 11 แล้ว เห็นว่า ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว…พ.ศ. 2561  ข้อ 4 ผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่มิใช่บุคคลตามข้อ 5 ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 

(1) เป็นผู้ที่รู้จักผู้ถูกปล่อยชั่วคราวเป็นอย่างดีและผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้ความเคารพเชื่อฟัง หรือเป็นผู้ได้รับความไว้วางใจจากชุมชนที่ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีที่อยู่อาศัยให้ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และ (2) เป็นผู้สมัครใจ มีความพร้อมและเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ศาลมอบหมาย 

ข้อ 5 ผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวที่มีหน้าที่ในการให้คําปรึกษาเพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการให้คําปรึกษา หรือผ่านการอบรม การให้คําปรึกษาทางจิตสังคมตามหลักสูตรที่สํานักงานศาลยุติธรรมจัดหรือรับรอง และ (2) เป็นผู้สมัครใจ มีความพร้อมและเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ศาลมอบหมาย 

ข้อ 6 บุคคลต่อไปนี้ต้องห้ามเป็นผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราว…(2) ผู้ประกัน บุคคลซึ่งเป็นหลักประกัน หรือบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราว

ดังนั้นเมื่อบุคคลที่จำเลยที่ 11 ได้แสดงต่อศาล เพื่อขอให้เป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว คือรองศาสตราจารย์ดร.แพร จิตติพลังศรี เป็นผู้ประกันจำเลยที่ 11 ในคดีนี้ จึงเป็นบุคคลต้องห้ามตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมดังกล่าว 

ส่วนนายชัช ขำเพชร ซึ่งจำเลยที่ 11 ประสงค์ให้เป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวขณะไปศึกษาและพักอาศัยที่ประเทศเยอรมนี จำเลยที่ 11 เบิกความตอบศาลว่าตนเองมิได้รู้จักนายชัช เพียงแต่อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเป็นเพื่อนกับพี่สาวจำเลยที่ 11 แนะนำให้ทราบถึงบุคคลที่คิดว่าจะเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวได้ในระหว่างที่พักอาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมนี จำเลยที่ 11 จึงติดต่อนายชัชเพื่อขอให้เป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกกปล่อยชั่วคราว จึงน่าเชื่อว่านายชัชเองก็ไม่ได้รู้จักจำเลยที่ 11 เป็นอย่างดีเช่นกัน เท่ากับว่านายชัชมิได้มีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 11 ตามข้อ 4 ของระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมดังกล่าว

ในชั้นนีจึงยังไม่มีบุคคลที่เหมาะสมมีคุณสมบัติตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว…พ.ศ. 2561 ในอันที่จะกำกับดูแล หรือให้คำปรึกษา หรือคอยกำชับ หรือตักเตือนให้ผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลอย่างเคร่งครัด และป้องกันการหลบหนีของจำเลยที่ 11 ในระหว่างที่จำเลยที่ 11 จะเดินทางไปศึกษาและพักอาศัยอยู่ที่ประเทศเยอรมนี จึงยังไม่มีเหตุสมควรเพียงพอที่จะอนุญาตให้จำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ตามที่จำเลยที่ 11 ร้องขอ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไมค์ ภาณุพงศ์' เคลื่อนไหวแล้ว หลังศาลออกหมายจับ เหตุเบี้ยวฟังพิพากษาคดีหมิ่นเบื้องสูง

กรณีนายภาณุพงศ์ จาดนอก แกนนำม็อบคณะราษฎร จำเลยในคดีมาตรา 112 ไม่ได้เดินทางมาฟังคำพิพากษาในวันนี้ ศาลจึงออกหมายจับ

พ่อ 'ตะวัน' ยื่นประกันตัวลูกสาวอีกครั้ง เผยค่าโพแทสเซียมต่ำ ใกล้จะเสียชีวิต

นายสมหมาย ตัวตุลานนท์ บิดาของ น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ"ตะวัน" ได้เดินทางมาเข้ายื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว "ตะวันและแฟรงค์" จำเลยในคดี พ.ร.บ.คอมฯ และมาตรา116 จากกรณีโพสต์คลิปบีบแตรรถตำรวจรักษาความปลอดภัยขบวนเสด็จ เมื่อ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา

ด่วน! ศาลออกหมายจับ 'ไมค์ ภาณุพงศ์' ไม่มาฟังคำพิพากษาคดี 112

ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดี อ.2380/2564 ที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายภาณุพงศ์ หรือ ไมค์ จาดนอก อายุ 28 ปี แกนนำม็อบคณะราษฎร เป็นจำเลย ในความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

เพื่อนทำซวย! ศาลไม่ให้ประกันตัว 'ขนุน สิรภพ' ชี้โทษสูงหวั่นหลบหนีคดี 112

กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวในคดี ม.112 ของ "ขนุน สิรภพ" ระบุคำสั่ง คดีมีอัตราโทษสูง เกรงว่าจะหลบหนี ให้ยกคำร้อง

ลุ้น! 26 มี.ค.ศาลนัดพิพากษาคดี ’ทักษิณ’ ฟ้อง ‘ชวน’ หมิ่นประมาท ปมแก้ปัญหาชายแดนใต้

26 มีนาคม 67 นัด พิพากษา คดีอาญาที่ นายทักษิณ ชินวัตร ฟ้อง นายชวน หลีกภัย ข้อหาหมิ่นประมาท ต่อกรณีที่นายชวน หลีกภัย ได้บรรยายที่โรงเรียนการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี พ.ศ.2555 โดยได้กล่าวถึงนโยบายการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสมัยรัฐบาลทักษิณ

ศาลอาญาดีเดย์ต้น เม.ย.เปิดแผนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

เม.ย.อธิบดีศาลอาญาเปิดเเผนกคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจัดผู้พิพากษาเชี่ยวชาญนั่งพิจารณาคดีบัญชีม้า เว็บพนันฉ้อโกงออนไลน์ทันท่วงที ต่อยอดการเป็นศาลดิจิทัลสืบพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์