24 มิ.ย.2565 - นายอัษฎางค์ ยมนาค โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียดดังนี้
“ธนาธร ผู้ลี้ภัย และสถาบันพระมหากษัตริย์” ที่คุณและเขา….อาจไม่เคยรู้
.....................
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความเนื่องในวัน "ผู้ลี้ภัยโลก 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา ใจความสำคัญตอนหนึ่งระบุว่า
"เราอยากภูมิใจในความเป็นไทยแบบไหนกัน ระหว่างความเป็นไทยที่คับแคบเห็นแก่ตัว หรือความเป็นไทยที่พร้อมหยิบยื่นมือให้ความช่วยเหลือ เคียงข้างผู้ทุกข์ยากในวันที่เขามีปัญหา ยืนอยู่ในสังคมโลกอย่างสง่างาม กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาไปพร้อมกับประชาคมโลก เป็นผู้นำอาเซียนด้วยการยึดถือจุดยืนเหล่านี้ เป็นเสาหลักที่มั่นคงของประชาคมโลกและประชาธิปไตย"
ไม่แน่ใจว่า คำพูดที่แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเรื่อง ผู้อพยพลี้ภัยกับประเทศไทยนั้น ธนาธรรู้เรื่อง ผู้อพยพลี้ภัย ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยลึกซึ้งมากน้อยแค่ไหน มีครูอาจารย์ หรือบิดามารดา ได้ถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ให้กับธนาธรบ้างหรือไม่
เพราะอ่านหรือฟังดูแล้ว เหมือนว่าธนาธรกำลังวิจารณ์ว่า ไทยมีจิตใจคับแคบเห็นแก่ตัว ละเลยต่อปัญหาผู้อพยพลี้ภัย หรือไม่
รวมทั้งอ่านหรือฟังดูแล้ว เหมือนว่าธนาธรกำลังบอกว่า ถ้าไทยเราพร้อมหยิบยื่นมือให้ความช่วยเหลือ เคียงข้างผู้ทุกข์ยากในวันที่เขามีปัญหา กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาไปพร้อมกับประชาคมโลก จะทำให้ไทยเราสามารถเป็นสาหลักที่มั่นคงของประชาคมโลกและประชาธิปไตย
ซึ่งอ่านหรือฟังแล้ว เหมือนว่า ธนาธรไม่เคยรู้ว่า ทั้งภาครัฐและสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ และอยู่เคียงข้างผู้อพยพลี้ภัยที่ทุกข์ยาก ด้วยความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาไปพร้อมกับประชาคมโลก จนเป็นที่ยอมรับจนมีชื่อเสียงดังกระฉ่อนในระดับนานาชาติไปทั่วโลกมานานแล้ว
นั้นย่อมแสดงว่า สถาบันพระมหากษัตริย์และภาครัฐของไทย เป็นเสาหลักที่มั่นคงของประชาคมโลกและประชาธิปไตย ตามทัศนะของธนาธร มานานแสนนานแล้ว
นี่ธนาธรกำลังสรรเสริญพระราชกรณียกิจและเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ไทยและภาครัฐของไทยอยู่หรือนี่
แต่ถ้าธนาธรไม่เคยรู้ หรือพ่อแม่ครูอาจารย์ของธนาธรไม่เคยเล่าให้ฟัง ผมขอทำหน้าที่นั้นแทนให้
แต่ขอบอกก่อนว่าเรื่องราวต่อไปนี้ถึงจะย่อให้สั้นที่สุดแล้ว ก็ยังคงยาวมากอยู่ดี เพราะพระราชกรณียกิจและรางวัลเกียรติยศต่างๆ นั้นมากมายเหลือคณานับ
เริ่มจาก....
...........................
การส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสถาบันพระมหากษัตริย์
ตามเนื้อที่อันจำกัด ในที่นี้จึงขอตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเฉพาะของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งผมขออนุญาตย่อความมาจากบทความที่รวบรวมโดย ทศพนธ์ นรทัศน์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงงานด้านสิทธิมนุษยชน และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ จำนวนมากมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในฐานะพระบรมราชินีนาถ และในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกาสภากาชาดไทย
ทรงส่งเสริมคุณภาพชีวิต อาชีพ ความเป็นอยู่ของบุคคลผู้ยากไร้ และประชาชนในชนบทห่างไกล รวมถึงผู้ลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาพักอาศัยในค่ายอพยพตามแนวชายแดน
การให้ความช่วยเหลือ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง และเผ่าพันธุ์ พระองค์ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ไปทั่วทุกหนแห่งบนผืนแผ่นดินไทย
พระราชกรณียกิจเหล่านี้ นับเป็นส่วนหนึ่งของการทรงงานด้านสิทธิมนุษยชน นั่นคือ “การให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์ การมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและมาตรฐานแห่งชีวิตที่ดีขึ้น”
....................
ผลจากการทรงงานเรื่องสิทธิมนุษยชนเพื่อผู้ลี้ภัย ได้เป็นที่ประจักษ์ในประชาคมโลก
ในโอกาสนี้ ขอยกตัวอย่างเพียงบางส่วนเพียงเล็กน้อย
จากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชา เมื่อ พ.ศ. 2522 ส่งผลให้ชาวกัมพูชาจำนวนมากซึ่งได้รับผลกระทบและความทุกข์ร้อนจากภัยสงคราม อพยพเข้ามาในชายแดนไทย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยร่วมมือกับกาชาดสากลในการช่วยเหลือผู้อพยพชาวกัมพูชา
โดยจัดตั้ง “ศูนย์ราชการุณย์ บ้านเขาล้าน จังหวัดตราด” และพระราชทานครูเข้าไปสอนวิชาชีพให้แก่ผู้อพยพ โดยทรงมีพระราชศรัทธาและพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะทรงบำบัดบำรุงสุขผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยมิได้ทรงเลือกเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์
................................
เมื่อ พ.ศ. 2522 เกิดสงครามกลางเมืองในประเทศกัมพูชา ชาวกัมพูชาอพยพลี้ภัยเข้ามาทางชายแดนของประเทศไทย
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในฐานะสภานายิกาสภากาชาดไทยได้เสด็จ พระดำเนินไปทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
โดยได้ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากเดือดร้อนเป็นที่สุดของชาวกัมพูชาที่อพยพหลบหนีภัยสงครามกลางเมืองเหล่านั้น
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงอำนวยการพระราชทานความช่วยเหลือทันทีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดส่งคณะผู้แทนพิเศษของสภากาชาดไทย ทั้งอาสาพยาบาลสนาม และอาสาสมัครออกไปช่วยเหลือ
..........................
ผลจากการทรงงานเหล่านั้นได้เป็นที่ประจักษ์ในประชาคมโลก จนทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยธรรม จากหลายสถาบัน อาทิ
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2533 ศูนย์ศึกษาการอพยพ องค์การสหประชาชาติได้ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย "รางวัลความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัย ประจำปี ค.ศ. 1990" (The Center of Migration Studies Immigration and Refugee Policy Award) ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
เพื่อเทิดพระเกียรติคุณ ที่ทรงเป็นผู้นำดีเด่นด้านมนุษยธรรม ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยจากประเทศในคาบสมุทรอินโดจีนที่หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย จำนวนนับล้านคน ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ได้มีที่พักพิง
ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจและเห็นใจบรรดาผู้ลี้ภัยในหมู่ประชาชนไทยที่เป็นเจ้าของประเทศ
................................
นอกจากนี้ยังมีรางวัลและปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่ทรงได้รับการทูลเกล้าถวาย จากการทรงงานด้านสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอันยาวนาน จนเป็นที่ประจักษ์และยอมรับในประชาคมโลก องค์การระหว่างประเทศต่างพากันยกย่องและทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลและปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมาก อาทิ
มหาวิทยาลัยเซนโตร เอสโคลาร์ ประเทศฟิลิปปินส์ (Centro Escolar University, Philippines) ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางมนุษยธรรม (Doctor of Humanities Honoris causa) (พ.ศ. 2506)
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเซเรส (Ceres Medal) เทิดพระเกียรติในฐานะทรงอุทิศพระองค์เพื่อพัฒนาสตรีและประชาชนในชนบท ทรงยกฐานะของสตรีให้มีระดับสูงขึ้นและทรงเป็น "ผู้ให้โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง" (To Give Without Discrimination)
โดยคำว่า “เซเรส” เป็นชื่อของเทพีแห่งการเกษตรของชาวโรมัน ชาวกรีกเรียกว่า “เทพดิมิเทอร์ (Demeter)” เทพีองค์นี้เป็นตัวแทนแห่งความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ ธัญญาหาร
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ เริ่มสร้างเหรียญเซเรสเมื่อ ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) เพื่อเป็นการสดุดีสตรีผู้อุทิศชีวิตให้แก่งานด้านการเกษตร โภชนาการ สังคมสงเคราะห์ สิทธิสตรี การศึกษา ฯลฯ
มหาวิทยาลัยทัฟท์แห่งเมืองเมตฟอร์ด รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ ในฐานะที่ทรงยกระดับฐานะการครองชีพของประชาชนมาตลอดด้วยความเสียสละ ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก ทรงเป็นตัวอย่างที่ดีในการพระราชทานความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ และทารกที่อดอยาก (4 มีนาคม พ.ศ. 2523) สหพันธ์พิทักษ์เด็กแห่งนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลบุคคลดีเด่นด้านพิทักษ์เด็ก (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524) สมาคมเอเซีย (Asia Society) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลด้านมนุษยธรรม (Humanitarian Award) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ศูนย์ศึกษาการอพยพ (CMS) องค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยประจำปี ค.ศ. 1990 (The Center for Migration Studies Immigration and Refugee Policy Awards, 1990) เทิดพระเกียรติที่ทรงส่งเสริมด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยนับล้านคนที่หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2518 (29 มีนาคม พ.ศ. 2533 ณ กรุงวอชิงตันดี.ซี.)
กลุ่มผู้สนับสนุนพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ประจำปี ค.ศ. 1991 (International Humanitarian Award) ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติ ทรงส่งเสริมการศึกษา เรียนรู้ และการสาธารณสุขมูลฐานแก่เด็กๆ ในชนบท และทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ นอกจากนั้น ยังได้ประกาศให้วันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกๆ ปี เป็นวัน “Queen Sirikit Day”
กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเกียรติคุณพิเศษ (UNICEF Special Recognition Award) ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษ 5 รอบ ในฐานะทรงเสียสละและมุ่งมั่นอุทิศพระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นผลให้แม่และเด็กนับล้านคนในประเทศไทยได้รับบริการขั้นพื้นฐาน
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลสตรีแห่งปี ค.ศ. 1993 ในฐานะที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนรวมเสมอมา (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2536)
มูลนิธิชาร์ลส์ เอ ลินเบิร์ก และแอนด์มอร์โรว์ ลินเบิร์ก ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล 1995 Lindbergh Award ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อมวลมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ณ โรงแรมวอลดอร์ฟ แอสทอเรีย นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (16 พฤษภาคม พ.ศ. 2538)
มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยธรรม (25 พฤษภาคม พ.ศ. 2538)
....................................
ทั้งหมดนั้นคือ รางวัลและปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ที่องค์กรระดับนานาชาติถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เฉพาะที่เกี่ยวกับมนุษยธรรมในการช่วยเหลือผู้อพยพเท่านั้น ยังมีรางวัลเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่ช่วยเหลือประชาชนไทยอีกเป็นจำนวนมากหลายรางวัล
รวมทั้งยังมีรางวัลและปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ที่องค์กรระดับนานาชาติถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในหลวงรัชกาลที่ 10 และพระบรมวงศานุวงศ์ จากพระราชกรณียกิจเพื่อมวลมนุษยชาติที่เป็นทั้งคนไทยและผู้อพยพลี้ภัย อีกเป็นจำนวนมาก
.....................................
เห็นการส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องสิทธิมนุษยชนของสถาบันพระมหากษัตรินย์ไทยแล้ว ที่นี้มาดูของภาครัฐบ้าง
ย้อนกับไปตั้งแต่มีการรับรองและประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อ พ.ศ. 2491 ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ยอมรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรองรับสิทธิมนุษยชน ไว้โดยชัดแจ้งในหลายมาตรามาโดยตลอด แม้แต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2500) ยังมีบัญญัติเอาไว้
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย
มาตรา 247 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และอํานาจ เสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา รวมทั้งสร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสําคัญของสิทธิมนุษยชน
............................
จะเห็นได้ว่าภาครัฐของไทยก็ให้ความสำคัญในเรื่องมนุษยธรรมอยู่ในระดับสากลเช่นกัน
รัฐธรรมนูญของไทยเรา ก็ไม่ได้ส่งเสริมความเป็นไทยให้เป็นคนคับแคบเห็นแก่ตัว แต่พร้อมหยิบยื่นมือให้ความช่วยเหลือ เคียงข้างผู้ทุกข์ยากในวันที่เขามีปัญหา
ซึ่งจะทำให้เรายืนอยู่ในสังคมโลกอย่างสง่างาม กระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหาไปพร้อมกับประชาคมโลก เป็นผู้นำอาเซียนด้วยการยึดถือจุดยืนเหล่านี้ เป็นเสาหลักที่มั่นคงของประชาคมโลกและประชาธิปไตย อย่างแท้จริง
....................................
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อังคณา' จี้นายกฯ ตอบปม สตม.ส่งนักการเมืองฝ่ายค้านกัมพูชากลับประเทศ
นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.)
'จอม' แจ้งข่าวร้าย! แคนาดา ไม่ต้อนรับผู้ลี้ภัยอีกแล้ว
จอม เพชรประดับ สื่อมวลชนอิสระ ลี้ภัยหนีคดีความมั่นคงในประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า ข่าวร้ายสำหรับ
กสม.ชงนายกฯ ทบทวนปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบเป็นลูกโซ่
'กสม.' มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้คุ้มครองสิทธิเด็กลูกหลานแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ทบทวนมาตรการปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบกว้างขวางเป็นลูกโซ่
'ศาสดาเจียม' ปลื้ม! ตัวเองโชคดีที่ไม่ได้เกิดในอเมริกา ไม่งั้นมีอาการบ้าตายแน่
นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ปัจจุบันลี้ภัยที่ประ
รู้แล้ว! 'ไมค์ ภาณุพงศ์' หลบหนีคดี 112 ไปประเทศอะไร
ผู้ต้องหาคดีหมิ่นเบื้องสูง โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยินดีต้อนรับ "ไมค์ ภาณุพงศ์" สู่ดินแดนใหม่ ดินแดนแห่งเสรีภาพ พร้อมระบบรัฐสวัสดิการที่รองรับทุกชีวิตนะครับ
'เพื่อไทย-ก้าวไกล' จับมือหนุนยกเลิกกฎหมายค้าประเวณี!
'Swing Thailand' บุกสภา ยื่นกว่าหมื่นรายชื่อ หนุนยกเลิก 'กม.ปรามการค้าประเวณี' เหตุละเมิดสิทธิมนุษยชน