คนกรุงไฟเขียว! 'ชัชชาติ' จัดระเบียบม็อบ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “กทม. ไฟเขียว 7 สถานที่ จัดชุมนุมได้”

3 ก.ค.2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “กทม. ไฟเขียว 7 สถานที่ จัดชุมนุมได้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน อยู่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการจัดให้มีสถานที่ใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ 7 แห่ง ในกรุงเทพฯ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก    (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์   โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อคำสั่งผู้ว่าฯ กทม. ในการจัดให้มีสถานที่ใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ 7 แห่ง ในกรุงเทพฯ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 54.89 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการจัดระเบียบให้การชุมนุมอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ไม่กีดขวางการจราจร และเจ้าหน้าที่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง

 ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถแสดงออกทางความคิดได้ รองลงมา ร้อยละ 29.16 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ ทำให้การชุมนุมเป็นระเบียบ ไม่วุ่นวาย เจ้าหน้าที่สามารถดูแลและควบคุมได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ร้อยละ 9.16 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ทำให้เกิดการชุมนุมบ่อยครั้งขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง อาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท และความขัดแย้งในสังคม ร้อยละ 6.71 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ การชุมนุมสร้างความวุ่นวาย ทำให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อน กังวลว่าเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่า กังวลว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จากการชุมนุม และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านสิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม. ควรดำเนินการ หากมีการชุมนุมที่ไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่จัดไว้ให้ แต่ไปอยู่บนท้องถนนแทน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.08 ระบุว่า ไม่อำนวยความสะดวกในการชุมนุม (เช่น ไม่จัดห้องน้ำให้) และดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ชุมนุม รองลงมา ร้อยละ 36.79 ระบุว่า อำนวยความสะดวกในการชุมนุมเหมือนเดิม ร้อยละ 22.44 ระบุว่า ไม่อำนวยความสะดวกในการชุมนุม (เช่น ไม่จัดห้องน้ำให้) เท่านั้น และร้อยละ 0.69 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ กทม. ในการควบคุมการชุมนุมในกรุงเทพฯ ให้เป็นไปตามประกาศ กทม. เรื่อง จัดให้มีสถานที่เพื่อใช้สำหรับการชุมนุมสาธารณะ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.18 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 26.26  ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 22.60 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 14.65 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 0.31 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร ตัวอย่าง ร้อยละ 45.73  เป็นเพศชาย และร้อยละ 54.27 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 12.14 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 16.87 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.23 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.34 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 25.42 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 93.97 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.35 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.22นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุศาสนา .

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หรือจะเหนื่อยฟรี! โพลชี้ ‘ทักษิณ’ เคลื่อนไหว ไม่มีผลต่อคะแนนนิยม ‘เพื่อไทย’ ครั้งหน้าก็ยังแพ้

ถามถึงความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.98 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย

คุมประพฤติ 'คดีเมาขับ' ฉลองสงกรานต์ 4 วัน พุ่ง 3,737 คดี

เรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติในวันที่ 14 เมษายน 2567 รวมทั้งสิ้น 2,136 คดี

ผ่าน 3 วันสงกรานต์ เกิดอุบัติเหตุ 936 ครั้ง เสียชีวิต 116 ราย บาดเจ็บ 968 คน

ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำ

'นิด้าโพล' ชี้ คนไทย ไม่เห็นด้วยนโยบาย ยาบ้า 5 เม็ด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยาบ้า 5 เม็ด กับผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้