นักกฎหมายเทียบเสียง 2 ขั้วศึกซักฟอก ฝ่ายค้านมีไม่พอจะเด็ดหัวสอยนั่งร้าน

21 ก.ค.2565 - นายณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวว่ากรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีรายบุคคล ระหว่างวันที่ 19 -22 กรกฎาคม 2565 เป็นญัตติที่กล่าวหาไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เป็นการคานอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภา ฝ่ายค้านซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารในการบริหารบ้านเมืองของฝ่ายรัฐบาล ซึ่งจะกระทำได้ปีละหนึ่งครั้ง ตั้งข้อสังเกต ดังนี้

(1)การอภิปรายไม่ไว้วางใจของคณะรัฐมนตรีรายบุคคล ฝ่ายค้านจะต้องอภิปรายเนื้อหาที่กล่าวหาว่าไม่ไว้วางใจอย่างไร ข้อกล่าวหาใด โดยจะอภิปรายนอกเหนือจากเนื้อหาในญัตติไม่ได้ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจต้องอยู่ในระเบียบข้อบังคับการประชุมสภา

(2)รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจรายบุคคล จะต้องตอบคำถามด้วยตนเอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องตอบคำถามทุกประเด็น ซึ่งรัฐมนตรีรายดังกล่าว จะตอบคำถามผู้อภิปรายฝ่ายค้านหรือไม่ก็ได้ เพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คณะรัฐมนตรีรายบุคคล ให้ถือมติ”เสียงเกินกึ่งหนึ่ง”(เสียงข้างมาก) ไม่ใช่”เนื้อหา”ที่ถูกอภิปราย คณะรัฐมนตรีรายบุคคลจะตอบคำถามหรือไม่ก็ได้ มีผลเพียงเป็นดุลพินิจกระบวนการตัดสินใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการโหวตเสียงมีมติ “ไว้วางใจ”หรือ”ไม่ไว้วางใจ” เท่านั้น ส่วน”เนื้อหา”การอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นเพียงข้อกล่าวหา ยังไม่ผ่านกระบวนการพิสูจน์ คนละกรณีกันกับเสียงโหวต

(3)ในทำโปสเตอร์หนังหรือธีมของแต่ละฝ่าย โหมโรงแต่ละฝ่าย อาทิ ขั้วฝ่ายค้าน “ยุทธการเด็ดหัว สอยนั่งร้าน” “ธีมงานศพ” ชวนประชาชนมาร่วมอภิปราย ส่วนขั้วรัฐบาล “No Time to die” สร้างความสนใจแก่ประชาชน เป็นเพียงสีสันทางการเมืองเท่านั้น กรณีทั้งสองขั้วอำนาจ จัด ส.ส.อภิปรายเทคนิคโดยประท้วงบ่อยหน้าเดิมและตั้งองค์รักษ์พิทักษ์นาย จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม เป็นเพียงเทคนิคทางการเมืองเท่านั้น ถือปกติทางการเมือง ไม่มีผลต่อการโหวตเพราะถือเสียงข้างมากและเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งรัฐมนตรีรายใดที่ถูกฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต้องชี้แจงด้วยตนเอง ส.ส.ที่ไม่ใช่รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายจะลุกขึ้นชี้แจงหรือแก้ต่างแทนไม่ได้

(4)เอกสารสิทธิ์และความคุ้มกัน ส.ส.การประชุมที่มีการถ่ายทอดสด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 124 วรรคสอง เอกสิทธิ์ย่อมไม่คุ้มครอง ส.ส. ผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใด หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุม ไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น และ(วรรคสาม) ถ้าสมาชิกกล่าวถ้อยคำใดที่อาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้นได้รับความเสียหาย ให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงตามที่บุคคลนั้นร้องขอตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น ทั้งนี้ โดยไม่กระทบต่อสิทธิของบุคคลในการฟ้องคดีต่อศาล

ดร.ณัฎฐ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ผลทางกฎหมาย ดังนี้

(1) การเสนอญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจ สามารถกระทำได้ปีละ”หนึ่งครั้ง” มาตรา 154

(2)เมื่อได้มีการเสนอญัติ จะมีการ”ยุบสภา”ผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงในวรรคสี่ ตามมาตรา 151 วรรคสอง

(3) เมื่ออภิปรายทั่วไปเสร็จแล้ว โดยไม่มีการผ่านระเบียบวาระไปหรือการขอถอนญัตติดังกล่าว ให้มีการลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ”ในวันถัดไป” มาตรา 151 วรรคสาม

(4)มติไม่ไว้วางใจ ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 151 วรรคสี่ ในปัจจุบันมี ส.ส. จำนวน 477 คน กึ่งหนึ่ง คือ 238.5 คน(ถือ 239 เสียง)

หากมติไม่ไว้วางใจของ”รัฐมนตรีรายใด ส.ส.ที่มีอยู่ทั้งสภามีมติไม่ไว้วางใจเสียงเกินกึ่งหนึ่ง(239 เสียง) ผลทางกฎหมาย ความเป็นรัฐมนตรีนั้นจะสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามมาตรา 170(3) สภาผู้แทนราษฏรมีมติไม่ไว้วางใจ

หากเป็น "นายกรัฐมนตรี" สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ "เกินกึ่งหนึ่ง” ผลทางกฎหมาย จะทำให้สิ้นความเป็นนายกรัฐมนตรี อันมีผลทำให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 167 วรรคหนึ่ง (1) แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 168 วรรคหนึ่ง(1) นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะต้องรักษาการจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 167(1)เพราะเหตุขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 หรือมาตรา 160(4) หรือ(5) นายกรัฐมนตรีจะอยู่ปฎิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้

ทั้งนี้ หากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรายบุคคล ปรากฎว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีอยู่ 477 คน โหวตมีมติให้ไว้วางใจ เกินกึ่งหนึ่ง 239 เสียงขึ้นไป ผลทางกฎหมาย ความเป็นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรายบุคคลย่อมไม่สิ้นสุดลง

(5)เทียบเคียง ฐานเสียงขั้วอำนาจแต่ละฝ่าย จำนวนเสียงของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (477 เสียง)

-ขั้วฝ่ายรัฐบาล ประกอบด้วยพรรคพลังประชารัฐ 100 เสียง (ตัด พิเชษฐ สถิรชวาล ส.ส.บัญชีรายชื่อออก) ทำให้เหลือ 99 เสียง พรรคภูมิใจไทย 65 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ 51 เสียง ยกเว้น”อันวาร์ สาและ” ส.ส.ปัตตานี “พนิต วิกิตเศรษฐ์” ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทำให้จำนวนของ ส.ส.ประชาธิปัตย์ 51 เสียง หากตัด 2 เสียงจาก “อันวาร์-พนิต” จะเหลือ 49 เสียง พรรคชาติไทยพัฒนา 12 เสียง พรรครวมพลัง 5 เสียง พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง (อีก 1 เสียงแยกไปอยู่กลุ่ม 16) พรรคพลังท้องถิ่นไท 3 เสียง (อีก 2 เสียงแยกไปอยู่กลุ่ม 16) พรรคพลังธรรมใหม่ 1 เสียง เมื่อนับรวมยอดทั้งหมดของ “ขั้วรัฐบาล” ที่จะโหวตสนับสนุน “ประยุทธ์-รัฐบาล” มีอยู่ในมือทั้งหมด 237 เสียง

อย่างไรก็ตาม พรรคภูมิใจไทย มีเสียงจาก “ขั้วฝ่ายค้าน” มาเติมให้โดยเฉพาะงูเห่าจากพรรคก้าวไกล 4 เสียง ประกอบด้วย “นายคารม พลพรกลาง” ส.ส.บัญชีรายชื่อ “พีรเดช คำสมุทร” ส.ส.เชียงราย “เอกภพ เพียรพิเศษ” ส.ส.เชียงราย “ขวัญเลิศ พานิชมาท” ส.ส.ชลบุรี

ทั้งนี้ ยังมี ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่เตรียมย้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทย 7 เสียง ประกอบด้วย “จักรพรรดิ ไชยสาส์น” ส.ส.อุดรธานี “จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์” ส.ส.ศรีสะเกษ “ธีระ ไตรสรณกุล” ส.ส.ศรีสะเกษ “นิยม ช่างพินิจ” ส.ส.พิษณุโลก “ผ่องศรี แซ่จึง” ส.ส.ศรีสะเกษ “วุฒิชัย กิตติธเนศวร” ส.ส.นครนายก “สุชาติ ภิญโญ” ส.ส.นครราชสีมาเมื่อรวมเสียงกับ “ขั้วรัฐบาล” ที่มีอยู่ในมือ 237 เสียง มาบวกกับ “ส.ส. งูเห่า” 11 เสียง จะทำให้ “ขั้วรัฐบาล” มีเสียงโหวตสนับสนุนอยู่อย่างน้อย 248 เสียง และอาจจะมีเสียงสนับสนุนเพิ่มเติมจาก “ส.ส. งูเห่า”

-ขั้วฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 133 เสียง พรรคก้าวไกล 51 เสียง พรรคเสรีรวมไทย 10 เสียง พรรคประชาชาติ 7 เสียง พรรคเพื่อชาติ 6 เสียง พรรคปวงชนไทย 1 เสียง และพรรคไทยศรีวิไลย์ 1 เสียง รวมทั้งหมด 209 เสียง หัก “ส.ส. งูเห่า” เหลือ 198 เสียง เมื่อบวกรวมกับพรรคเศรษฐกิจไทย 16 เสียง และ “กลุ่ม 16” ที่เคลมกันว่า มีอยู่เกือบ 20 เสียง ประกอบด้วย พรรคเศรษฐกิจใหม่ 6 เสียง พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง พรรคพลังท้องถิ่นไท 2 เสียง พรรคพลังประชารัฐ 1 เสียง พรรคชาติพัฒนา 1 เสียง พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 เสียง พรรคไทรักธรรม 1 เสียง พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง พรรคประชาภิวัฒน์ 1 เสียง พรรคพลเมืองไทย 1 เสียง พรรคพลังชาติไทย 1 เสียง พรรคพลังธรรมใหม่ 1 เสียง พรรคเพื่อชาติไทย 1 เสียงเมื่อนับรวม “พรรคเศรษฐกิจไทย-กลุ่ม 16” จะได้ 16 + 20 เท่ากับ 36 เสียง ซึ่งตัวเลขใกล้เคียงกับที่ “ธรรมนัส” ประกาศเอาไว้ว่าพรรคเศรษฐกิจไทย-กลุ่ม 16 มีทั้งหมดเกือบ 40 เสียง หากนับรวมตัวเลข ส.ส. “ขั้วฝ่ายค้าน” 198 เสียง บวกกับ “พรรคเศรษฐกิจไทย” 16 เสียง และบวกกับ “กลุ่ม 16” 20 เสียง ทำให้เสียงของ “ขั้วฝ่ายค้านเฉพาะกิจ” ยอดรวมอยู่ที่ 234 เสียง

จะเห็นได้ว่า ฐานอำนาจทางการเมืองของขั้วฝ่ายรัฐบาล มีเสียง 248 เสียง และฝ่ายรัฐบาลอาจรวบรวมเสียงได้มากกว่า 248 เสียง ส่วนขั้วฝ่ายค้าน มีเสียงที่รวบรวมได้เพียง 234 เสียง (หรืออาจน้อยกว่า) คะแนนอาจสวิงไปมา 248/234 เสียง และตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 วรรคสี่ บัญญัติ”ให้มติไม่ไว้วางใจ ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร” ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เสียงขั้วรัฐบาลมากกว่า แม้อาจมี ส.ส.บางคนงดออกเสียง หรือไม่เข้าประชุมสภา ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ขั้วฝ่ายค้านนับเสียงแล้ว ไม่อาจเพียงพอถึงกึ่งหนึ่งได้ ฝ่ายค้านจึงมีเสียงไม่เพียงพอที่จะสอยเก้าอี้นั่งร้านรัฐบาลและตอกฝาโลงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรายบุคคล ให้ตกจากเก้าอี้ได้

ทั้งนี้ เสียงโหวตไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคลที่มีที่มาของแต่ละพรรค อาจมีเสียงมากน้อยแตกต่างกันไป กลไกลตามรัฐธรรมนูญในระบบรัฐสภา เป็นวิถีทางการตรวจสอบถ่วงดุลและคานอำนาจตามระบอบประชาธิปไตย โดยมติไม่ไว้วางใจถือเกณฑ์ "คะแนนเสียงมากกว่า" จำนวนเสียงของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น ตัวแปรสำคัญของที่เสียงของแต่ละฝ่ายที่รวบรวมได้ ส่วนเนื้อหาตามข้อกล่าวหาที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยยังไม่ผ่านกระบวนการพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 23: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

ผู้เขียนขอหยิบยกรายงานจากสถานทูตอื่นๆที่มีต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อจากตอนที่แล้ว โดยผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 10)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

“อนุทิน” เซ็นประกาศคืนชายหาดเลพัง ปิดตำนานกว่า20ปี หลังกรมที่ดินต่อสู้ยืดเยื้อกับผู้บุกรุก พร้อมคืนพื้นที่สาธารณะให้ชาวภูเก็ต

เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่บริเวณชายหาดเลพัง ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เปิดกิจกรรม “มหาดไทย มอบความสุข คืนชายหาดเลพัง ให้ชาวภูเก็ต”

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 22: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'โฆษกรัฐบาล' รับถูกทาบทามไปทำงานอื่น ย้ำนายกฯยังไม่ส่งสัญญาณเปลี่ยนตัว

นายชัย​ วัชรงค์​ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี​ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเปลี่ยนตัวโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี​ ว่า​ ตนไม่ขอออกความเห็น เนื่องจากยังไม่ได้มีการสื่อสารอะไรมาถึงตน

'รมต.พิชิต' มั่นใจไม่ใช่คนผิด รับชีวิตมีอุบัติเหตุกันได้ พร้อมขอโอกาสพิสูจน์ตัวเอง

นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวว่า วันนี้ตนปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นวันแรก ซึ่งจากการประชุมครม.วันนี้ ได้มีมติมอบหมายงานสำคัญให้กับตนคือ เป็นผู้ตรวจร่างมติคณะรัฐมนตรี