ซัดเดือด! ส.ส. - ส.ว. ใช้ 'วิชามารวิธี' รุมปู้ยี่ปู้ยำสภา

‘อดีตรองอธิการ มธ.’ ประณาม ส.ส. – ส.ว. รุมปู้ยี่ปู้ยำสภา ใช้ ‘วิชามารวิธี’ ลากให้พ้น 180 วัน กลับไปใช้สูตรปาร์ตี้ลิสต์หาร 100 เอื้อประโยชน์พรรคใหญ่

12 ส.ค. 2565 – รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า แม้ว่าจะมีสมาชิกลาประชุมไปจำนวนหนึ่ง แต่การประชุมรัฐสภาวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำท่าว่าจะผิดความคาดหมาย เนื่องจากในช่วงเช้ามีสมาชิกเข้าประชุมครบองค์ประชุม สามารถทำการประชุมได้ ช่วงบ่ายเริ่มมีความพยายามให้นับองค์ประชุมโดยผู้นำฝ่ายค้าน แต่ท่านประธานรัฐสภาสมารถแก้เกมได้อย่างสวยงาม ต่อมาเมื่อท่านประธานวุฒิสภาทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม กำลังพิจารณากฎหมายลูกที่ว่าด้วยการเลือกตั้ง ก็มีความพยายามถ่วงเวลาด้วยการเสนอให้นับองค์ประชุมด้วยการขานชื่อ ใช้เวลาไปร่วม 2 ชั่วโมง ปรากฎว่ายังครบองค์ประชุม ประชุมต่อได้ แต่หลังจากลงมติมาตราหนึ่งของกฎหมายลูก และหลังจากท่านประธานที่ประชุมขอพักการประชุมชั่วคราว จากนั้นท่านก็แจ้งว่าผลการลงมติไม่ครบองค์ จึงต้องขอปิดประชุมไปดื้อๆ ก็คงหมายความว่าตอนนับองค์ประชุมน่ะครบองค์ แต่ตอนจะลงมติน่าจะมีคำสั่งจากผู้มีอำนาจสั่งไม่ให้ลงมติ ทำให้จำนวนคนที่ลงมติจึงไม่ครบ

ด้วยเหตุดังกล่าว การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้งก็ถูกทำให้ล่มจนได้ เหลือเวลาจนถึงเวลา 24.00 น วันอาทิตย์ที่ 14 นี้ ก็จะครบ 180 วัน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดว่าต้องพิจารณากฎหมายลูกให้เสร็จสิ้น มิฉะนั้นให้กลับไปใช้ร่างเดิมที่นำเข้าพิจารณาในวาระ 2 นั่นหมายความว่า มีโอกาสสูงมากที่จะต้องกลับไปใช้วิธีการคำนวณหาจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคจะได้ ด้วยการใช้จำนวนผู้ที่ลงคะแนนบัตรเลือกตั้งใบที่ 2 ทั้งหมด หารด้วย 100 และไม่มี ส.ส.พึงมี แทนที่จะหารด้วย 500 และมี ส.ส.พีงมีตามที่ลงมติไปแล้วในวาระที่ 2

รัฐสภาที่ควรจะเป็นสถาบันที่มีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกปู้ยี่ปู้ยำโดย ส.ส. และ ส.ว. ผู้ทรงเกียรติจำนวนหนึ่ง ไปอย่างน่าละอาย ไม่ต้องอธิบายให้เปลืองน้ำลายดีกว่าว่าเป็นวิธีการตามปกติ ไม่ขัดต่อหลักจริยธรรมแต่อย่างใด ก็เมื่อได้มีการลงมติไปแล้วในประเด็นสำคัญคือให้ใช้วิธีหารด้วย 500 กลับเปลี่ยนใจจะกลับมาใช้วิธีหารด้วย 100 ด้วยการใช้วิธีถ่วงเวลาด้วยวิธีการทุกรูปแบบไม่ให้ผ่านกฎหมายฉบับนี้ได้ทันตามกำหนด 180 วัน ประหนึ่งว่ารัฐสภาอันทรงเกียรติเป็นสภาของเล่นหรือสภาโจ๊กกระนั้น ไม่ต้องเรียกว่าเป็นการใช้ “นิติวิธี” ดีกว่า ที่ถูกควรเรียกว่า “วิชามารวิธี” จะเหมาะสมกว่า

ไม่ทราบว่าบรรดาผู้ที่สนับสนุนให้ใช้วิธีหารด้วย 500 จะสามารถพลิกเกมโดยผลักดันให้มีการประชุมรัฐสภาในเวลาที่เหลือซึ่งเป็นวันหยุดได้หรือไม่ หากไม่ได้ก็คงสมใจสมประโยชน์พรรคใหญ่ โปรดสังเกตว่าพรรคนี้พร้อมเพรียงกันมาก ทั้งยังพูดอย่างเปิดเผยว่า นี่คือสิ่งที่ต้องทำ

ที่ยังเป็นปัญหาสำหรับพวกเขามีอยู่เพียงหนึ่งเดียวก็คือวุฒิสมาชิก 250 คน วิธีเดียวก็คือต้องจับมือกับผู้ที่คุมเสียงส่วนใหญ่ของวุฒิสมาชิกได้ ตรรกะนี้ทำให้น่าเชื่อได้ว่า ข่าวลือที่ลือกันขณะนี้ แต่ได้รับการปฏิเสธ อาจจะเป็นจริงก็ได้

การเมืองไทย อะไรก็เกิดขึ้นได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ว่าฯธปท.จบจากที่ไหน 'นักวิชาการ' แนะดูคลิปแล้วจะตัดสินได้เองว่าสมควรเชื่อใคร

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า s

หยาม 'มาดามแพ' ไม่ได้เขียนนโยบายเอง ไร้วิสัยทัศน์ มีแต่พรรณนา กังขาผุด 'กาสิโน' ทำเลทอง

'อ.หริรักษ์' เชื่อนโยบายรัฐบาลผู้เขียนคงไม่ใช่ตัว'แพทองธาร' ภาพรวมไม่ต่างรัฐบาลชุดก่อนคือไม่มีวิสัยทัศน์ มีแต่การพรรณนา ชี้ entertainment complex จุดหมายที่แท้จริงคือ casino ในทำเลทอง ส่วนอื่นๆเป็นเพียงส่วนประกอบ 'ดิจิทัลวอลเล็ต'งวด3คงไม่ได้แจกเพราะคงอยู่ไม่ถึง

อดีตรองอธิการบดี มธ. ห่วง ‘ภูมิธรรม’ คุมเหล่าทัพ ตัวเร่งรัฐประหารในอนาคตอันใกล้

การส่งคุณภูมิธรรมไปนั่งเป็นผู้บังคับบัญชาของกองทัพทั้ง 3 เหล่า เหมือนกับเป็นการบอกว่า อำนาจอยู่ที่ฉัน ฉันจะเลือกใครเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ คนใต้ 41% บอกไม่เลือก ปชป. แล้ว

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสียงพี่น้องชาวใต้ถึงพรรคประชาธิปัตย์ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2567

อดีตรองอธิการบดี มธ. สะกิดมีอีก 2 ดาบ รอชี้อนาคต ‘รัฐบาลอิ๊งค์’ จะอยู่ได้กี่เดือน

แม้ขณะนี้จะดูเหมือนประเทศนี้จะเป็นของตระกูลชินวัตรไปแล้ว แต่ยังคงต้องติดตามดูกันอีกพักใหญ่ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

‘รศ.หริรักษ์’ ถามสภานิสิตจุฬาฯ อาศัยอำนาจอะไรเรียกตุลาการศาลรธน. ชี้แจงคดียุบพรรคก้าวไกล

ขอบเขตอำนาจของสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงครอบคลุมเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับนิสิตเท่านั้น ไม่มีอำนาจไปกำกับดูแลการเรียนการสอน ไม่มีอำนาจแม้แต่จะเชิญอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยมาให้ชี้แจงไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด