ดร.สุวิทย์ สะท้อน ‘7ประเด็นชวนคิด พลิกเกมเปลี่ยนประเทศไทย’

21 ส.ค.2565-ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “เจ็ดประเด็นชวนคิด พลิกเกมเปลี่ยนประเทศไทย” ระบุว่า เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา (20 สิงหาคม) ผมได้รับเกียรติจากทางสมาคมสมาชิกรัฐสภา เป็นหนึ่งในองค์ปาฐกภายใต้หัวข้อ “อนาคตประเทศไทย (Thailand Growth) ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. (อาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์) และที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คุณอลงกรณ์ พลบุตร)

ผมได้พูด “เจ็ดประเด็นชวนคิด” ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมดังนี้  1. ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติเชิงซ้อนโลก (Global Compounded Crises) ถาโถมระลอกแล้วระลอกเล่า ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตโควิด-19 ที่ยังไม่สิ้นสุด ตามมาด้วยวิกฤตซับพลายเชน วิกฤตอาหารโลก วิกฤติพลังงานโลก วิกฤตโลกรวน วิกฤติเงินเฟ้อโลก และอาจต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในอนาคตอันใกล้ พร้อมๆกันนั้น ประเทศไทยเองก็ยังต้องเผชิญกับกับดักเชิงซ้อนภายใน (Internal Compounded Traps) ไม่ว่าจะเป็นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ และกับดักความขัดแย้งที่รุนแรง

2. วิกฤตส่วนใหญ่จากนี้ไปจะมีคุณลักษณะดังนี้ 1) เป็นวิกฤตระดับโลก (Global Crises) 2) เป็นวิกฤตเชิงซ้อน (Compounded Crises) และ 3) เป็นคลื่นวิกฤตที่ถาโถมอยู่ตลอดเวลาระลอกแล้วระลอกเล่า (Persistent         Crises)  3. เรากำลังเผชิญกับการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างโลก อย่างน้อยใน 2 มิติ  1) จากกระแสโลกาภิวัตน์            (Globalization) ในหลายศตวรรษที่ผ่านมา สู่การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) ในปัจจุบัน 2) จากโลกขั้วเดียว (Unipolar World) สู่โลกหลายขั้ว (Multipolar World) โลกจากนี้ไปจึงไม่ใช่โลกใบเดิมที่เราคุ้นชินอีกต่อไป

4. อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างและแต่ละวิกฤตโลกส่งผลกระทบเชิงลบต่อแต่ละประเทศไม่เท่ากัน คำถามคือ สำหรับไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก เราจะมียุทธศาสตร์ในการรับมือกับประเด็นท้าทายเหล่านี้อย่างไร เราจะเปลี่ยน ”วิกฤตโลก”เป็น “โอกาสประเทศไทย” ได้หรือไม่  ที่สำคัญ มีความจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างในประเทศ เพื่อให้สอดรับกับการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างโลกหรือไม่

5. ในช่วงที่ผ่านมา มากกว่าทศวรรษแล้วที่พวกเรามัวแต่ทะเลาะกันเองจนเกิด “สังคมสองขั้ว” (Bipolar Society) เกิดความขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรง (Hyperconflict)  มิเพียงเท่านั้น คนไทยจำนวนไม่น้อยชอบดูถูก ดูแคลน (Look Down) ประเทศตนเอง แต่ชอบชื่นชม (Look Up) ประเทศอื่น เมื่อก่อนชอบเปรียบเทียบประเทศไทยกับสิงคโปร์ ตอนนี้ก็หันมาเปรียบเทียบไทยกับเวียดนาม เป็นต้น

6. ถึงเวลาร่วมกันพิจารณาประเทศไทยด้วยมุมมองใหม่ ผ่านทัศนคติและความคิด “เชิงบวกแบบสร้างสรรค์” ช่วยกันค้นหา “จุดพลิกเกม” (Game Changing) ในการแปลง “วิกฤตและกับดัก” ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็น “ศักยภาพและโอกาส” ของประเทศไทยในโลกหลังโควิด-19   ไม่ใช่คิดและวาดวิสัยทัศน์แบบครอบจักรวาล และเขียนยุทธศาสตร์ขายฝันแบบเก่าๆ ต้องมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง กัดไม่ปล่อย ไม่ใช่ขับเคลี่อนประเทศแบบ “Business as Usual” ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ดังเช่นในปัจจุบัน

7. ทัศนคติและความคิดเชิงบวก ต้องเกิดควบคู่กับ “การปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้างประเทศอย่างเป็นระบบและจริงจัง” เป็น “The Second Great Reform” ต่อจาก “The First Great Reform” ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 เพื่อปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้สอดรับกับพลวัตโลก ชุดของศักยภาพและโอกาสสำหรับประเทศไทยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว แต่ “ซ่อม เสริม สร้าง”ให้ดีขึ้น ผ่าน 2 Strategic Agendas สำคัญคือ 1) การขับเคลื่อน Thailand Softpower อย่างเป็นระบบ 2) การผลักดัน BCG Economy Model อย่างจริงจัง ทั้ง Softpower และ BCG จะตอบโจทย์การสร้าง Resilient Future, Sustainable Future และ Equitable Future ให้กับทั้งประเทศไทยและประชาคมโลกด้วยในขณะเดียวกัน…

…แต่ต้องไม่ใช่ในรูปแบบและกลไกที่กำลังผลักดันกันอยู่ ณ ขณะนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีต รมว.อุดมศึกษา ปาฐกถาพิเศษ “Thailand’s Soft Power กับ BCG Economy Model”

วันนี้ (14 กันยายน) ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ มีการจัดเวที “เปิดโลกทัศน์ เตรียมความพร้อม เติมความรู้ ผู้ปฏิบัติงาน พอช.” โดยมี ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์