ฟ้อง 'บิ๊กตู่-ผบ.ทสส.' ขอศาลเเพ่งสั่งยกเลิก ม.9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

‘ตัวแทนนักศึกษา’ ยื่นฟ้อง ‘บิ๊กตู่-ผบ.ทสส.’ ขอศาลเเพ่งสั่งยกเลิก ม.9 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ‘ทนายนรเศรษฐ์’ โวยกฎหมายลักไก่เพิ่มโทษชุมนุม หวังสกัดม็อบไล่นายกฯ

22 ส.ค. 2565 – เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ตัวแทนภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยเจนิสษา แสงอรุณ นายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นาย พศินยินดี ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, นายวชิรวิทย์ เทศศรีเมือง ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ,นายสิรภพ อัตโตหิ นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,นาย ศิวัญชลีวิธญเสรีวัฒน์ เป็นประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่, นายเชษฐา กลิ่นดี สมาชิกสภานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, นายณพกิตติ์ มะโนชัย นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นโจทก์ที่ 1 – 7

ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด​ (ผบ.ทสส.) เป็นจำเลยที่ 1 – 2 ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งเพิกถอนข้อกำหนดมาตรา 9 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ข้อกำหนดนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 47 และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ฉบับที่ 15 และขอให้ศาลเปิดไต่สวนเพื่อคุ้มครองชั่วคราว

ทั้งนี้​ สืบเนื่องจากวันที่ 27 ก.ค. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 47 กำหนดให้การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพของประชาชนที่ย่อมกระทําได้ โดยให้นําหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) กำหนดมาตรการขึ้นเป็นการเฉพาะ “เพื่อคุ้มครองประชาชน รวมทั้งอำนวยความสะดวกและดูแลการชุมนุม”

นายนรเศรษฐ์ กล่าวว่า วันนี้ตัวแทนประธานนักศึกษาจากหลายๆ แห่ง ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ กับผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อขอให้เพิกถอน ข้อกำหนดนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 47 และประกาศของผบ.ทสส ฉบับที่ 15 เนื้อหาที่ยื่นฟ้องวันนี้ เนื่องจากเนื้อหาของทั้ง 2 ฉบับนี้ ระบุสถานการณ์ฉุกเฉินให้นำพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะมาบังคับใช้โดยอนุโลม หมายความว่าเปรียบเสมือนเป็นการลักไก่เพิ่มโทษให้การชุมนุมสาธารณะให้มีโทษที่หนักขึ้นเดิมตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ถ้าเราไปชุมนุมสาธารณะและมีการแจ้งการชุมนุมโดยไม่ชอบ โทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าตามข้อกำหนดและประกาศฉบับดังกล่าว จะถูกจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท ทั้งที่กลไกการร้องขอให้เลิกการชุมนุมต้องผ่านศาลเท่านั้น คือต้องมาร้องต่อศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดสั่งให้เลิกการชุมนุม แต่ประกาศและข้อกำหนดฉบับดังกล่าวกับระบุให้ ผบ.ทสส. สามารถออกแบบแผนต่างๆ ในการสั่งให้เลิกการชุมนุมได้โดยไม่ต้องผ่านกลไกของศาล

“จึงเป็น 2 ประเด็นหลักที่วันนี้เรามายื่นฟ้อง และจะขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราว สั่งไม่ให้บังคับใช้ข้อกำหนดฉบับนี้ เพราะช่วงวันที่ 23-24 ส.ค.ที่จะถึงนี้ อาจจะมีการชุมนุมสาธารณะเพื่อติดตามกรณีที่นายกฯจะครบ 8 ปีตามรัฐธรรมนูญ หากมีการปล่อยให้ใช้ข้อกำหนดฉบับดังกล่าว ก็อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ โดยหลัก ก็ควรเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติหรือของสภา พ.ร.บ.การชุมนุมฯ กำหนดอัตราโทษที่ต่ำ แต่คราวนี้มีการออกกฎหมายลำดับรอง เป็นแค่ตัวประกาศของผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปเพิ่มโทษของกฎหมายตามพระราชบัญญัติ เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้และไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างยิ่ง” นายนรเศรษฐ์ ระบุ

เมื่อถามว่า ตั้งข้อสังเกตอย่างไรกับการออกกฎข้อกำหนดของ ผบ.ทสส. ในครั้งนี้ นายนรเศรษฐ์ กล่าวว่า ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ที่มีการออกประกาศในลักษณะนี้มาในช่วงที่กำลังมีการจับตาว่า พล.อ.ประยุทธ์ กำลังดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบ 8 ปี และจะออกจากตำแหน่งหรือไม่ รวมถึงกำลังจะมีการชุมนุม วันนี้เราจึงมีข้อมูลมายื่นต่อศาล เพื่อขอให้ไต่สวนด้วยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจเตรียมกำลังสำหรับการควบคุมการชุมนุมและ อุปกรณ์ควบคุมการชุมนุมไว้แล้ว ซึ่งเราจะนำมาแสดงต่อศาลในวันนี้ด้วย

ด้าน น.ส. เจนิสษา แสงอรุณ นายกองค์การบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนนักศึกษา กล่าวว่า ตามพ.ร.บ.การชุมนุมฯ และข้อกำหนดดังกล่าวมีความไม่เป็นธรรม ต่อตัวพวกเราเองและประชาชน เพราะเป็นการลักไก่เพิ่มโทษอย่างที่ทางทนายพูด แล้วอ้างว่าการที่ใช้ประกาศ รวมทั้งข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค แต่พวกเราก็ตั้งข้อสังเกตว่า จะใช้เพื่อควบคุมโรคหรือควบคุมสิ่งใดกันแน่ หรือจะใช้ควบคุมการชุมนุมที่เป็นสิทธิเสรีภาพของพวกเราประชาชนทั่วไปหรือไม่นี่จึงเป็นสิ่งที่พวกเราต้องมายื่นฟ้องเพื่อที่จะขอเพิกถอนข้อกำหนดในครั้งนี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลนัดไต่สวน ชาวประมงระยองฟ้องเอกชนปล่อยน้ำมันรั่ว เรียกค่าเสียหาย 240 ล้าน

ศาลแพ่ง (แผนกคดีสิ่งแวดล้อม) นายสัญญาภัชระสามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ มอบหมายให้ ว่าที่ร้อยตรี สมชาย อามีน ประธานอนุกรรมการสิ่งแวดล้อมฝ่ายคดีและปฏิบัติการ พร้อมคณะทำงานฝ่ายคดีของสภาทนายความ

ศาลสั่ง ส.ต.ต.ซิ่งบิ๊กไบค์ ชนหมอกระต่ายเสียชีวิต ชดใช้ค่าเสียหาย 27.3 ล้านบาท

ศาลเเพ่ง สั่ง ส.ต.ต.ซิ่งบิ๊กไบค์ ละเมิดชนหมอกระต่ายตายให้ ชดใช้ค่าเสียหายพ่อเเม่หมอ27.3 ล้านบาท ยกฟ้องสำนักงานตำรวจเเห่งชาติ

ศาลแพ่ง สั่ง 'นิกกี้ขยี้ข่าว-ลูกสาว' ร่วมชดใช้แม่หนุ่มขี่จยย.ถูกชนตาย กว่า 4 แสนบาท

ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษา ในคดีที่ นางสาวอัญชลี พวงมาลี มารดาของนายกรเทพ กุฏีงาม หรือ เบนช์ อายุ 29 ปี เสียชีวิต เป็นโจทก์ฟ้อง น.ส.เอ (นามสมมุติ) อายุ 19 ปี บุตรสาวของนิกกี้ ขยี้ข่าว เจ้าของเพจเฟซบุ๊กชื่อดั

กบฉ. เคาะต่อ พรก.ฉุกเฉินชายแดนใต้อีก 3 เดือน พร้อมปรับลดพื้นที่ 2 อำเภอ

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1/2567 โดยมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายฉัตรชัย บางชวด รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

ปลุกหนักมาก! 'ก้าวไกล' ชวนปชช.มีส่วนร่วม ยุบ กอ.รมน. สถาปนาสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้

นายรอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เชิญชวนประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. ยกเลิก พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 หรือร่างกฎหมาย ยุบ กอ.รมน. ซึ่งเป็นร่างที่นายรอมฎอนและ สส. พรรคก้าวไกลเสนอเข้าสู่สภาฯ

กบฉ. เคาะต่อ พรก.ฉุกเฉิน ชายแดนใต้อีก 3 เดือน ปรับลด 3 อำเภอ ใช้ พรบ.มั่นคง แทน

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (กบฉ.) เป็นประธานการประชุม กบฉ. ครั้งที่ 4/2566 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อพิจารณา