รัฐบาลเตือนประชาชนตั้งสติตรวจสอบก่อนกดลิงค์ในมือถือ

รัฐบาลเตือน ปชช.ตรวจสอบก่อนกดลิงค์ในสื่อออนไลน์ทุกช่องและผู้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ไม่อย่างนั้นอาจถูกมิจฉาชีพใช้โปรแกรมควบคุมโทรศัพท์ดูดเงินเกลี้ยง

26 ม.ค.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าขณะนี้ได้เกิดกรณีมิจฉาชีพแฝงตัวในสื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายการสื่อสารช่องทางต่างๆ หลอกลวงให้ประชาชนให้กดลิงค์แล้วล็อกโทรศัพท์ด้วยโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์มือถือจากทางไกล ก่อนดำเนินการโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของผู้หลงเชื่อ ดังนั้น จึงขอเตือนประชาชนทุกท่านโดยเฉพาะผู้ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ให้ระมัดระวัง ตรวจสอบลิงค์ที่ถูกส่งต่อ หรืออยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ช่องทางต่างๆ ก่อนกดดูหรือส่งต่อลิงค์ เช่น การส่งมาทาง SMS ทางโทรศัพท์, หรือแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งมิจฉาชีพได้ส่งลิงค์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Open Chat ที่ผู้คนที่มาพบกันไม่รู้จักกันมาก่อนและอาจไม่มีการคัดกรองคนก่อนเข้ากลุ่ม, กลุ่มไลน์ที่เป็นบุคคลที่รู้จักกันแต่ไม่ได้มีการตรวจสอบลิงค์ก่อนแชร์เข้ามาในกลุ่ม หรือการแฝงตัวเป็นการส่งข้อความจาก Official Account ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานราชการที่มีความน่าเชื่อถือ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ยังมีรูปแบบการโฆษณาในเฟซบุ๊กทั้งการให้สินเชื่อ การชวนทำงาน การให้บริการต่างๆ ที่ต้องมีการติดตั้งแอปพลิเคชันลงบนมือถือก่อน ตลอดจนแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ขององค์กรธุรกิจ หรือหน่วยงานราชการติดต่อไปทางโทรศัพท์โดยสร้างสถานการณ์ต่างๆ ให้บุคคลที่ได้รับการติดต่อนั้นหลงเชื่อ จากนั้นจะหลอกลวงให้ กดลิงค์ หรือติดตั้งแอปพลิเคชันลงในโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถเข้าควบคุมมือถือของเหยื่อได้

“ลิงค์ที่มิจฉาชีพเผยแพร่จะมีลักษณะเชิญชวนให้ผู้ที่อ่านแล้วรีบกดลิงค์เข้าไปดู เช่น การให้สิทธิประโยชน์ การแจกของฟรี เป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในที่สนใจ รวมถึงข้อความที่ทำให้เกิดความกังวล หรือตกใจกลัว เมื่อหลงเชื่อและกดเข้าไปในลิงค์แล้วมิจฉาชีพจะล็อกโทรศัพท์มือจากโปรแกรมควบคุมเครื่องจากทางไกล ทำให้เจ้าของเครื่องไม่สามารถดำเนินการต่างๆ จากนั้นจะเข้าไปในแอปพลิเคชันธนาคารและโอนเงินออกจากบัญชีของเจ้าของเครื่อง ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนตรวจสอบทุกลิงค์ก่อนที่จะมีการกดเข้าไปดู ต้องเป็นลิงค์ที่น่าเชื่อถือ ไม่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกส่งมาจากบุคคลแปลกหน้า และขอให้เตือนบุคคลในครอบครัว บุคคลใกล้ชิดให้ตระหนักถึงภัยที่กำลังแพร่ระบาดนี้” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การเร่งให้ความรู้และแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันความเสียหาย ขณะที่รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาภัยอาชญากรรมที่มาพร้อมกับการเติบโตของโลกออนไลน์อย่างจริงจัง โดยล่าสุดที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2566 ได้อนุมัติร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. .... ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่สนับสนุนให้ดำเนินมาตรการปราบปรามการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีอย่างมมีประสิทธิภาพและลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเด็ดขาด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' นั่งหัวโต๊ะตอกย้ำแนวปฏิบัติจัดระเบียบสังคม

'อนุทิน' นั่งหัวโต๊ะวางแนวปฏิบัติคณะทำงานบูรณาการมหาดไทย – ตำรวจ ขับเคลื่อนจัดระเบียบสังคม ปราบปรามผู้กระทำผิด ชี้ความมั่นคงคือหัวใจเมื่อประชาชนเชื่อมั่น สังคมปลอดภัยแล้วเศรษฐกิจจะตามมา

รัฐบาลชวนเจ้าของรถตรวจเช็กสภาพฟรีก่อนซิ่งช่วงสงกรานต์

รัฐบาลเชิญชวนเจ้าของรถตรวจเช็กสภาพรถให้พร้อมก่อนเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ฟรี ณ ศูนย์บริการของภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศตั้งแต่บัดนี้ถึง 15 เม.ย.2567

ข่าวดี!ขยายเวลาลูกจ้างลาคลอดบุตรได้ค่าจ้างจาก 90 วันเป็นไม่เกิน 98 วัน

'คารม' เผย ครม.เห็นชอบ กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่เกิน 90 วัน เป็นไม่เกิน 98 วัน

ไทยไฟเขียวให้แรงงานเพื่อนบ้านกลับบ้านเกิดเล่นน้ำสงกรานต์!

ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทาง เพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567

มาแล้ว! ธรรมนัสเตรียมดันโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง!

'เกณิกา' เผยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเสนอโครงการ 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' เข้า นบข.-ครม.ช่วยเกษตรกรกว่า 4.68 ล้านครอบครัว ใช้ปุ๋ยคุณภาพราคาถูกลดต้นทุน

'คารม' ย้ำเตือน ปชช. ระวัง 5 บัญชีโซเชียลอันตราย แนะอย่ารับแชท ไม่แอด ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

“คารม” รองโฆษกรัฐบาล ย้ำเตือน ปชช. ระวัง 5 บัญชีโซเชียลอันตราย แนะอย่ารับแชท ไม่แอด ไม่คุย ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ