'นันทิวัฒน์' ชี้การสู้รบใน 'เมียนมา' ส่งผลกระทบคนไทยตามแนวชายแดน ลั่นอย่าผลักเพื่อนเป็นศัตรู

'นันทิวัฒน์' ชี้ภูมิภาคอาเซียนเป็นพื้นที่ช่วงชิงของมหาอำนาจ การสู้รบใน'เมียนมา'ส่งผลกระทบต่อคนไทยตามแนวชายแดนเดือดร้อน ลั่นอย่าผลักเพื่อนเป็นศัตรู เผยการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการบรรยากาศดีมาก

23มิ.ย.2566-นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก หัวข้อ อย่าผลักเพื่อนเป็นศัตรู มีเนื้อหาดังนี้

ไทยกับเมียนมามีพรมแดนติดต่อกันและไม่สามารถยกประเทศหนีกันไปไหนได้ ต้องอยู่กันไปแบบนี้. ต้องถามตัวเองว่า. อยากมีเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน. พูดจากันได้ หรือจะอยู่กันแบบไม่เป็นมิตร. ไม่พูดไม่จากัน. ต้องคอยหวาดระแวงกันตลอดเวลา. ชอบแบบนั้นหรือ

ในอดีตไทยกับพม่าเคยรบรากันมาตลอดในประวัติศาสตร์ของทั้งสองชาติ. น่าจะพอแล้วมั้ง

นายอาลี. อาลาตัช. อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้อาวุโสในเกมการเมืองระหว่างประเทศ ได้เคยกล่าวไว้ว่า ภายใต้คำประกาศกรุงเทพ 1967 Bangkok Declaration อาเซียนจะรับผิดชอบร่วมกันเพื่อความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคนี้

อาเซียนมีกำเนิดจากความขัดแย้งของมหาอำนาจและสงครามเย็น ดังนั้น อาเซียนต้องสนับสนุนสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่งคั่ง คำประกาศของอาเซียน Asean Declaration คือ ภูมิภาคแห่งสันติภาพ เสรีภาพและเป็นกลาง. รวมทั้ง การก่อตั้ง ARF. Asian Regional Forum เพื่อให้เป็นเวทีของการสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก.

คำกล่าวของนายอาลี อาลาตัชนี้. น่าจะช่วยเตือนสติและสะท้อนแนวความคิดของผู้นำในอดีตที่ผ่านความขัดแย้งในภูมิภาคระหว่างสมาชิกและความขัดแย้งภายในของประเทศสมาชิก

ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีการเจรจา ปฏิเสธการพูดคุย

วันนี้ สมาชิกอาเซียนอาจจะมีแนวความคิดในการผูกสัมผัสกับเมียนมาที่ไม่สอดคล้องต้องกันมากนัก บางประเทศอาจต้องการใช้ไม้แข็งกับรัฐบาลทหารเมียนมา ด้วยการกีดกันรัฐบาลทหารเมียนมาออกจากกิจกรรมต่างๆของอาเซียน ไม่สนใจที่จะรับฟังข้อมูลใหม่ๆของเมียนมา แต่กลับสนใจทึ่จะผูกสัมพันธ์กับกลุ่ม NUG และสนับสนุนกองกำลัง PDF.

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ภูมิภาคนี้ตกอยู่ภายใต้การแข่งขัน และเป็นพื้นที่ช่วงชิงของมหาอำนาจ แนวทางเก่าๆที่เคยทำกันมาในอดีตกำลังย้อนกลับมาใช้อีก

ประเทศไทยเลิกนโยบายสร้างพื้นที่กันชน Buffer Zone ในประเทศเพื่อนบ้านมา 40 ปีมาแล้ว. และไม่เคยประสบความสำเร็จ หวังว่าจะไม่มีการเดินย่ำรอยความล้มเหลวเดิมๆ

การสู้รบในเมียนมาส่งผลกระทบโดยตรงต่อไทย ผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ คนไทยตามแนวชายแดนเดือดร้อน เมื่อมีการสู้รบ. กลุ่มต่างๆต้องหาเงินเพื่อซื้ออาวุธ

ปัญหาที่ติดตามมาคือ การลักลอบส่งอาวุธเข้าไปให้กลุ่มตรงข้ามกับรัฐบาล เกิดการค้าอาวุธสงคราม ค้ายาเสพติดเพื่อหารายได้ อาชญากรรมใหม่ call center ที่อยู่ในพื้นที่ของกลุ่มตรงข้ามรัฐบาลเมียนมา ที่สร้างความเดือดร้อนทั้งในไทยและภูมิภาค

การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ อยากจะเล่าว่า ดำเนินไปภายใต้บรรยากาศที่ดีมาก ต่างฝ่ายต่างรับฟังซึ่งกันและกันเพียงแต่เอามาเล่าไม่ได้ว่าใครพูดว่าอะไรบ้าง ด้วยหลักการ Chatham House Rule ที่จะไม่เปืดเผยผลการหารือให้คนนอกทราบ

แต่พูดได้ว่า ผลการพูดคุยดีมาก รอดูความคืบหน้า
รัฐบาลต้องห่วงผลประโยชน์และความมั่นคงของไทยเหนือสื่งอื่นใด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ เผย 'มาครง' ยินดีหนุนให้เกิดความสงบใน 'เมียนมา'

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการพูดคุยกับ นายเอมานูว์แอล มาครง (H.E. Mr. Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ถึงความคืบหน้าสถานการณ์ในเมียนมา

อดีตบิ๊กข่าวกรอง ชี้รัฐบาลสะดุดขาตัวเอง ทำแต่เรื่อง บอกคนแอบสั่งอย่าขยันสั่งนัก

ผู้มีอิทธิพลนอกรัฐบาลแส่หาเรื่อง แทรกแซงกิจการภายในที่เขาไม่ได้ขอ ความสัมพันธ์ที่เคยดีจะเหมือนเดิมมั้ย

'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เชื่อชนกลุ่มน้อยไม่มีวันลืมเหตุการณ์ ผู้นำไทยส่งซิกทหารเมียนมาบุกเข้าตี

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

ถ้านักการเมือง มีอำนาจสั่ง ‘ผู้ว่าธปท.’ ได้ ความ ‘ฉห.’ บังเกิดแน่

ธปท.ไม่ต้องตามใจนักการเมืองอยู่แล้ว ถ้าเป็นเรื่องแจกเงินดิจิตอล ถามกฤษฏีกาแล้วมิใช่หรือ หากมั่นใจว่าทำได้ ไม่ผิดกฏหมาย มีเงินพร้อมที่จะแจก แจกเลย

‘นันทิวัฒน์’ ชม ‘ปานปรีย์’ รักษาศักดิ์ศรี ‘รมว.ต่างประเทศ’ อย่างสมเกียรติ

ที่ผ่านมารัฐมนตรีต่างประเทศจะดำรงตำแหน่งรองนายกฯด้วย เพื่อเป็นการให้เกียรติให้ความสำคัญกับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ