ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคดีครั้งแรกมหากาพย์รถไฟฟ้าสายสีเขียว!

จับตาศาลปกครองสูงสุดนั่งพิจารณาคดีครั้งมหากาพย์รถไฟฟ้าสายสีเขียนครั้งแรก หลังจากศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้บีทีเอสซีชนะ กทม.ต้องชดใช้กว่า 1.1 หมื่นล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยมาแล้ว

17 ส.ค.2566 - ณ ห้องพิจารณาคดี 3 ชั้น 3 อาคารศาลปกครอง เวลา 09.30 น. ตุลาการศาลปกครองสูงสุดนัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีหมายเลขดำที่ อ.2226/2565 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ฟ้องคดี) กับ กรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว)

คดีนี้ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่ากรุงเทพมหานคร กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 ตามสัญญาเลขที่ กธ.ส.006/55 ลว. 3 พฤษภาคม 2555และส่วนต่อขยายที่ 2 ตามสัญญาเลขที่ กธ.ส.024/59 ลว. 1 สิงหาคม 2559 กรณีผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือ ลว. 18 กันยายน 2563 และหนังสือ ลว. 15 มกราคม 2564 ทวงถามไปยังผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองให้ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเพิกเฉย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย

ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน สำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวน 2,348,659,232.74 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 2,199,091,830.27 บาท และหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418,719.36 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 8,786,765,195.47 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ภายหลังจากการทำสัญญา ผู้ฟ้องคดีได้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า
ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในส่วนต่อขยายที่ 1 เรื่อยมา และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 2) ได้ชำระค่าจ้างรายเดือนให้แก่ผู้ฟ้องคดีครบถ้วนต่อเนื่องมาจนถึงเดือนเมษายน 2562 แต่หลังจากนั้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จ่ายเงินค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงไม่ครบถ้วนเต็มจำนวน ซึ่งตามสัญญาข้อ 71 กำหนดว่า หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ผู้ฟ้องคดีภายในวันที่ 20 ของเดือนถัดไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จะต้องชำระดอกเบี้ยสำหรับค่าจ้างที่ค้างชำระนั้นในอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ชำระค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงดังกล่าว จึงถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้แล้วโดยมิพักต้องเตือน ดังนั้น เมื่อรวมต้นเงินและดอกเบี้ยของหนี้ค้างชำระค่าเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 ตามสัญญาเลขที่ กธ.ส. 006/55 ลว. 3 พฤษภาคม 2555 จึงมีหนี้เงินรวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 2,348,659,232.74 บาท

สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า โครงการฯยังไม่มีนโยบายให้เก็บค่าโดยสาร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่สามารถนำเงินค่าโดยสารไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการได้ ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่ได้ชำระค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าให้แก่ ผู้ฟ้องคดีตั้งแต่ที่มีการเดินรถในเดือนเมษายน 2560 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งกรณีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และผู้ฟ้องคดียืนยันสอดรับกันเกี่ยวกับจำนวนต้นเงินค่าเดินรถและค่าซ่อมบำรุงที่ค้างชำระ และเมื่อสัญญากำหนดให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดไว้แล้ว กรณีจึงมีหนี้เงินรวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 9,406,418,719.36 บาท

ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีหนี้ค้างชำระตามสัญญาในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามสัญญาเลขที่ กธ.ส.006/55 ลว. 3 พฤษภาคม 2555๕ และสัญญาเลขที่ กธ.ส.024/59 ลว. 1 สิงหาคม 2559 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ให้แก่ผู้ฟ้องคดีด้วย

ผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กค่าฝุ่น PM 2.5 กทม. คุณภาพอากาศภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศ กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เช้านี้คุณภาพอากาศ กทม. อยู่ในเกณฑ์ดี มีเหลืองปานกลางที่หนองจอก วังทองหลาง

จบปีนี้! ศาลปกครองสูงสุด แจงคืบหน้าคดี 'ยิ่งลักษณ์' ชดใช้จำนำข้าว 3.5 หมื่นล้าน

นายประวิตร บุญเทียม รองประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงคดีทุจริตจำนำข้าว ที่ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ปิดฉากทรงนักเรียน! ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนกฎไว้ทรงผม

ศาลปกครองสูงสุด สั่งเพิกถอนกฎการไว้ทรงผมของนักเรียน ชี้ขัด รธน. ไม่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กจำกัดเสรีภาพในร่างกายเกินสมควร