นายกสมาคมทนายฯ ชี้การคุมตัว 'ทักษิณ' ของตำรวจเป็นไปตามสิทธิไม่ใช่อภิสิทธิ์


26 ส.ค.2566 - นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เเถลงการณ์สมาคมฯว่าตามที่ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า เป็นการเลือกปฏิบัติและอดีตนายกทักษิณมีอภิสิทธิ์มากกว่าผู้ถูกจับรายอื่น นั้น

ผมขอเสนอความเห็นทางกฎหมายที่บัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจับไว้ ดังนี้

(1) การเดินทางกลับประเทศไทยครั้งนี้ อดีตนายกทักษิณตัดสินใจเดินทางกลับด้วยตนเอง จึงไม่มีเจตนาจะหลบหนีและมิได้ขัดขวางการจับกุม ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมิได้ใช้เครื่องพันธนาการจึงเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งการจับนั้น"

(2) การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจอนุญาตให้อดีตนายกทักษิณได้พบปะกับญาติและประชาชนที่เดินทางมาต้อนรับ เป็นการปฏิบัติตามมาตรา 83 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถูกจับมีความประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุม ซึ่งไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี"

(3) ในการควบคุมตัวอดีตนายกทักษิณไปศาลและเรือนจำโดยมีขบวนรถยนต์คุ้มกันหลายคัน นั้น เป็นไปตามมาตรา83 วรรคแรก และมาตรการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากอดีตนายกทักษิณเป็นนักการเมืองที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต่อต้าน อีกทั้งวันดังกล่าวมีผู้ไปต้อนรับเป็นจำนวนมาก การที่เจ้าหน้าที่ใช้ขบวนรถยนต์รักษาความปลอดภัยหลายคันจึงสมควรแก่กรณี

ดังนั้น การปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจับอดีตนายกทักษิณ เพื่อนำตัวไปศาลและเรือนจำจึงชอบด้วยวิธีการจับตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทุกประการ มิได้เป็นการเลือกปฏิบัติหรือให้สิทธิ แก่อดีตนายกเกินเลยจากที่กฎหมายบัญญัติไว้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สองตระกูล หนึ่งผลประโยชน์: เบื้องหลังสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา

ในขณะที่ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนที่สองของไทย เดินทางเยือน ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 23-24 เมษายน 2568 ในวาระ ครบรอบ

ผบ.ตร. สั่งสอบอดีตนายตำรวจ พัวพันขบวนการลักลอบข้อสอบนิติฯ ยังไม่ชี้ผิดวินัย

“บิ๊กต่าย” กำชับกองวินัย–ฝ่ายกฎหมาย ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีอดีตนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ถูกพาดพิงเอี่ยวขบวนการลักข้อสอบคณะนิติศาสตร์ ชี้ยังไม่ตัดสินผิด–ถูก พร้อมให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย

ตำรวจตีปี๊บ โชว์ผลงานปราบอาชญากรรมในช่วง 6 เดือน

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มอบหมายให้ พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ และ พล.ต.ต.วรศักดิ์ พิสิษฐบรรณกร รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงผลการดำเนินการปราบปรามอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รอบ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2568 ณ สารสิน อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

วางมือตรงหน้า ซ่อนไพ่ไว้ข้างหลัง: รัฐบาลที่ไม่กล้าชนภูมิใจไทย

กล้องทุกตัวจับภาพ ภูมิธรรม เวชยชัย ควงแขน อนุทิน ชาญวีรกูล เดินลงจากตึกไทยคู่ฟ้า พร้อมรอยยิ้มและคำหยอกว่า “เดี๋ยวหอมแก้ม” ท่ามกลางเสียงแซวว่าจะจับมือกันถึงปี 70

'ภูมิธรรม' ขีดเส้น 7 วัน แก้ไฟใต้ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ไฟเขียวยุทธการเชิงรุก

"ภูมิธรรม" ไฟเขียวทหาร- ตร. เปิดยุทธการเชิงรุกสกัดก่อเหตุชายแดนใต้ อย่าตั้งรับอย่างเดียว ขีดเส้น ผบ.ทบ. - ผบ.ตร. ต้องทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญใน7วัน พร้อมยอมรับ “ดับไฟใต้ ยากลำบาก-ซับซ้อน เผยหนึ่งปมเหตุเพราะคิดปรับยุทธศาสตร์ หลายส่วนยังไม่ให้ความจริงในการคุย เดินหน้าถกสันติสุข ภายใต้กรอบ”รัฐเดี่ยว” ภายใต้ รธน.

'สันติสุข' ฉบับทักษิณ-อันวาร์ กับกระสุนปืนที่ปลิดชีพสามเณรสะบ้าย้อย

เช้าวันที่ 22 เมษายน ขณะพระภิกษุและสามเณรจากวัดกูหลาออกบิณฑบาตตามวิถีของสงฆ์ พร้อมมีรถกระบะของตำรวจคุ้มกันนำขบวนอยู่ด้านหน้า