ลูกน้องโทนี่ ยกกรณีปาขี้ 'ดวงฤทธิ์' เป็นงานศิลปะ

5 ก.ย.2566- เพจ CARE คิด เคลื่อน ไทย โพสต์ข้อความกรณี ปาขี้ ว่า นาทีที่มีค่า ศิลปะที่ไม่ใช่แค่ความสกปรก
วันเสาร์ที่ 2 ที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นภาพกิจกรรม “ปาขี้” ของคุณดวงฤทธิ์ บุนนาคกันบ้างแล้ว ซึ่งในแง่หนึ่ง กิจกรรมนี้ถูกมองว่าเป็น “การแสดงความรับผิดชอบต่อคำพูดตัวเอง” ของคุณดวงฤทธิ์ที่เคยประกาศไปว่า หากพรรคเพื่อไทยตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ คุณดวงฤทธิ์จะยอมให้เอาขี้ปาหัว ซึ่งเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองแน่ชัดแล้วว่า พรรคเพื่อไทยได้ร่วมรัฐบาลกับทั้ง 3 พรรคจริง คุณดวงฤทธิ์ จึงประกาศจัดกิจกรรมปาขี้ขึ้นเพื่อรับผิดชอบต่อคำพูดตนเอง

นอกจากมุมมองทางการเมืองแล้ว กิจกรรมการปาขี้ของคุณดวงฤทธิ์ ยังสามารถถูกมองในแง่มุม “ศิลปะ” ได้อีกด้วย โดยในมุมศิลปะนั้น กิจกรรมปาขี้ ถือได้ว่าเป็น “Relational Performing Art” หรือ “ศิลปะการแสดงเชิงสัมพันธ์” อย่างหนึ่ง

อะไรคือ ศิลปะการแสดงเชิงสัมพันธ์? และมันสำคัญอย่างไร? วันนี้ พวกเรากลุ่ม CARE จะมาอธิบายให้ฟัง

▪️ อะไร คือ Relational Performing Art

Relational Performing Art เป็นการผสมกันระหว่าง 2 คำ คือ Relational Art + Performing Art

“Relational Art” หรือ “ศิลปะเชิงสัมพันธ์” ซึ่งหมายถึง ศิลปะที่เปลี่ยนให้ผู้ชมเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ทางศิลปะ ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีปฏิสัมพันธ์ต่องานศิลปะ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ทางศิลปะที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น การเห็น ได้ยิน การรับรส การได้กลิ่น และการสัมผัสทางร่างกาย

ปกติเราจะเข้าไปเสพงานศิลปะด้วยการไปยืนดูรูปหรืองานศิลปะเฉยๆ แต่ศิลปะเชิงสัมพันธ์ คือ การที่ทำให้เราเข้าไปมีส่วนร่วมกับงานศิลปะด้วย จนทำให้การกระทำของเราที่มีต่อการศิลปะ ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะด้วย

ส่วนอีกคำ คือคำว่า “Performing Art” หรือ “ศิลปะการแสดง” ซึ่งหมายถึง ศิลปะสาขาหนึ่งที่ใช้ร่างกายเป็นสื่อ รวมถึงอาจมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือความรู้สึก ซึ่งเป็นการแสดงสดต่อหน้าคนดู เช่น การแสดงละครเวที เป็นต้น

พอเอา 2 คำนี้มาผสมกัน จึงกลายเป็น Relational Performing Art หรือ ศิลปะการแสดงเชิงสัมพันธ์ ที่หมายถึง ศิลปะที่ใช้ร่างกายศิลปินเป็นสื่อโดยเปิดโอกาสให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนหนึ่งของงานศิลปะผ่านการกระทำบางอย่างกับร่างกายศิลปิน

▪️ Rhythm 0 ศิลปะแห่งการท้าทายความคิดด้านลบของมนุษย์

ตัวอย่างของ ศิลปะการแสดงเชิงสัมพันธ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดโปรเจคหนึ่ง คือ “Rhythm 0” ของ มารินา อบราโมวิช ศิลปินชาวเซอร์เบียผู้ได้รับขนานนามว่า “ตัวแม่ของศิลปะแสดงสด”

Rhythm 0 (1974) เป็นการแสดงสดที่ท้าทายความคิดด้านลบของมนุษย์อย่างมาก โดยเธอได้เตรียมอุปกรณ์จำนวน 72 ชิ้น เช่น ปากกา ดอกกุหลาบ ขนนก กรรไกร แส้ มีด รวมไปถึงปืนพกที่บรรจุกระสุน 1 นัด และเชื้อเชิญผู้ชมให้ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ทำอะไรกับร่างกายเธอก็ได้ โดยที่เธอจะไม่ต่อต้านหรือป้องกันตัว เป็นเวลา 6 ชั่วโมง

โดยผู้ชมบางคนเข้ามาใช้ขนนกแหย่เธอ เอาปากกาเขียนบนตัวเธอ ก่อนจะเริ่มรุนแรงไปถึงการกรีดเรือนร่าง บางคนลวนลามเธอ รวมไปถึงเอาปืนจ่อหัวเธอ แต่ก็มีผู้ชมหลายคนช่วยปกป้องเธอจากความรุนแรงเหล่านั้นด้วยเช่นกัน คล้ายลุงเสื้อแดงที่วิ่งไปโอบกอดคุณดวงฤทธิ์

การแสดงศิลปะโปรเจคนี้จึงแสดงให้เห็นว่า “ถ้าไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตัวเอง มนุษย์เราก็สามารถทำเรื่องเลวร้ายได้อย่างง่ายดาย” และนี่คือศิลปะการแสดงเชิงสัมพันธ์ที่อื้อฉาวที่สุดและท้าทายมุมมืดของมนุษย์มากที่สุดครั้งหนึ่งในวงการ

▪️ Untitled (Free) ศิลปะกินได้กลางหอศิลป์นิวยอร์ก

นอกจากการใช้เรือนร่างตัวเองเป็นสื่อศิลปะแล้ว อีกหนึ่งผลงานศิลปะเชิงสัมพันธ์ที่โด่งดังจากศิลปินไทยร่วมสมัยอย่าง “ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช” ด้วยการแสดงผลงาน ผัดไทย (Pad Thai) หรือ Untitled (Free)

โดยเขายกครัวเข้าไปตั้งในหอศิลป์และทำผัดไทยแจกฟรีให้กับผู้ชมในแกเลอรีนิวยอร์ก โดยบางคนอาจจะมองว่าเป็นแค่ทำผัดไทยแจกฟรี หลายคนต่างงุนงงว่ามันศิลปะตรงไหน แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่แค่การทำอาหารแจก แต่มันเป็นการสร้างสถานการณ์ที่นำพาผู้คนเข้ามาร่วมสัมผัสผ่านการกิน

เพราะ “อาหาร คือ ศิลปะ” ดังนั้น การทำอาหารคือการทำผลงานศิลปะ และการที่ผู้ชมกินอาหารก็เป็นการพาให้ผู้ชมเข้ามาสัมผัสและเสพงานศิลปะผ่านการ “กิน” ซึ่งถือเป็นการสร้างผลงานร่วมกันระหว่างผู้ชมกับศิลปิน

▪️ ปาขี้ ในฐานะงานศิลปะ

หากย้อนกลับมาจะมองกิจกรรมการปาขี้ของคุณดวงฤทธิ์ ว่าเป็นศิลปะการแสดงเชิงสัมพันธ์ด้วยก็คงไม่แปลกนัก เพราะคุณดวงฤทธิ์ได้ให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมในงานศิลปะของเขา ด้วยการเปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาปาขี้ใส่ร่างกายเขา เพื่อสะท้อนความรู้สึก “สะใจ” ของผู้ชมที่ได้สาดอารมณ์ใส่เรือนร่างศิลปินด้วยการปาขี้

“ขี้” ในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงเพียง “อุจจาระ” แต่หมายถึง “สิ่งสกปรก” ในฐานะเครื่องมือสาดอารมณ์ใส่ศิลปินเพื่อความสนุกสะใจ และการที่เราจะสาดอารมณ์ใส่ใครเพื่อให้เขาเปรอะเปื้อนไปด้วยของสิ่งสกปรกนั้น มือของเราก็จำเป็นต้องหยิบคว้าสิ่งสกปรกนั้นด้วย จึงเท่ากับว่า มือของเราเองต้องสัมผัสสิ่งสกปรกนั้นก่อนที่เราจะทำให้คนอื่นเปรอะเปื้อนสิ่งสกปรกเสียอีก

สิ่งนี้สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่า การที่เราจะทำให้คนอื่นต้องเปรอะเปื้อนไปด้วยความทุกข์ มือของเราจะต้องกำความทุกข์นั้นไว้เองเสียก่อน

และนี่คือหนึ่งสิ่งที่สามารถสื่อความหมายในทางศิลปะได้เป็นอย่างดีจากกิจกรรมของคุณดวงฤทธิ์.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เด็กแม้ว' ลั่นไม่เบี้ยวคำสัญญา จะยอมให้เอาขี้ปาหัว กล้ำกลืนเพื่อไทยตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว

นายดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิก นักออกแบบชื่อดัง และแกนนำกลุ่มแคร์ คิด เคลื่อน ไทย ผู้สนับสนุนนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กภายหลังพรรคเพื่อไทยประกาศฉีก MOU และไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคก้าวไกล

ไอคอนสยามชวนชมผลงานอันโดดเด่นของเหล่าศิลปินรุ่นใหม่ กับ 3 นิทรรศการ ที่บอกเล่าแรงบันดาลใจเบื้องหลัง

ไอคอนสยาม แลนด์มาร์กระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยา เชิญชวนผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะ สู่การเดินทางที่ไม่ธรรมดาของความล้ำเลิศทางศิลปะ งานสุดพิเศษนี้จะประกอบด้วยนิทรรศการที่น่าประทับใจ

'ทักษิณ' รีทวีต ต้องทนให้เพื่อนถีบหน้าทุกวันจริงหรือ คอยแทงข้างหลังแต่ก็ต้องช่วยมัน

นายดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิก และแกนนำกลุ่มแคร์ คิด เคลื่อน ไทย ผู้สนับสนุนนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์ Duangrit Bunnag ว่า ต้องทนให้คนที่เรียกตัวเองว่าเพื่อน เอาตีนถีบหน้าอยู่ทุกวันจริงหรือครับ

เรียนฟรี! กับ BEM ฝึกสมาธิสร้างจินตนาการผ่านงานศิลปะ กับ Art Activities : “ศิลปะตัดกระดาษ” ตลอดเดือนมีนาคม

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง