27 ธ.ค.2566 - นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความประจำตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยกฟ้องไร้ความผิดทางอาญาและให้ถอนหมายจับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ว่า
หลายคน ยังตั้งคำถามแบบเอาเรื่อง
หลายคน ยังงงทำไม 2 ศาลแล้วรอด
ผมขอแสดงความเห็นจากที่ได้ฟังคำวินิจฉัยของศาลตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ และตามที่เราเข้าใจและได้ต่อสู้ไว้ในคดี มีสาระสำคัญว่า
แม้จะมีคำวินิจฉัยของ 2 ศาลมาแล้ว แต่โครงสร้างความรับผิดทางอาญา ต้องประกอบด้วย การกระทำ ที่ต้องมีเจตนา และข้อหาปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตนั้น จำต้องมีเจตนาพิเศษด้วย
ศาลฎีกาฯ ท่านจึงต้องพิจารณาและวินิจฉัยจากพยานในการไต่สวนของ ป.ป.ช. ให้ได้ข้อเท็จจริงและมีพยานหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ให้แน่ใจว่าจะลงโทษจำเลยได้ ด้วย
#ความน่าสนใจของทางนิติศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2 ประการ คือ
1.นิติวิธีทางกฎหมาย
2.เจตนารมย์ของกฎหมาย
ทั้งสองประการส่งผลต่อการตีความและการให้เหตุผลในการวินิจฉัยของศาลที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่าศาลรัฐธรรมนูญ อาจตัดสินตามกฎหมายและยังต้องมองมิติในด้านทางการเมืองในเวลานั้นด้วย
ข้อพิจารณาเพิ่มเติม (ความเห็นส่วนตัว)
ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 211 วรรค 4 บัญญัติให้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสรพ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งขอบเขคของการมีผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนี้ แยกออกเป็น
1. ผลของคำวินิจฉัย ผูกพันทุกองค์กร
2.เหตุผลที่ศาลใช้จะผูกพันทุกองค์กร จะต้องเป็นเหตุผลที่เป็นสาระสำคัญในการวินิจฉัยเท่านั้น ไม่รวมถึงเหตุผลแวดล้อมหรือเหตุผลประกอบที่ศาลรัฐธรรมนูญหยิบยกเพื่อสนับสนุนคำวินิจฉัยของตน
สำหรับกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2557 ผลผูกพันคือ ความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุด ส่วนเหตุผลที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการก้าวก่ายแทรกแซง เข้าใจว่าเป็นเพียงเหตุผลแวดล้อมหรือเหตุผลประกอบที่ศาลหยิบยกมาเพื่อสนับสนุนคำวินิจฉัยเท่านั้น
บางคดีสำคัญก่อนหน้านี้ ศาลยุติธรรม ก็รับฟังพยานหลักฐานจากการสอบสวนและทางนำสืบในชั้นพิจารณาจากพยานหลักฐาน แตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญ ที่จำเลยยกเอาคำวินิจฉัยที่เป็นคุณมาใช้ต่อสู้ในศาล แต่เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาถึงสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ส่วนศาลยุติธรรม จะพิจารณาวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาจากการกระทำในทางอาญาให้ชัดแจ้งจึงจะลงโทษหรือยกฟ้อง.
บันทึกหมายเหตุคดีนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจโอนย้ายข้าราชการระดับสูง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทวี' ถามกลับคาใจใคร ฝ่ายค้านก็อภิปรายแล้วปมชั้น14 โบ้ยถาม 'ป.ป.ช.-แพทยสภา'
'ทวี' ถามกลับ คาใจใคร 'ฝ่ายค้าน' ก็อภิปรายแล้ว ปมชั้น 14 ปรามไม่มีหน้าที่ชี้มูล บอกเปิดเวชระเบียนเพื่อใคร แพทยสภาก็เอาไปแล้ว โบ้ยถาม 'ป.ป.ช.-แพทยสภา' เอง ตีกรรเชียงบอกไม่เคยได้ยิน 'ยิ่งลักษณ์' จะกลับไทย
'จุลพงษ์' เตือนสรรพากรอย่าพึ่งรีบตีความตั๋วP/Nลองย้อนดูอดีต รมช.การคลังที่ติดคุกก่อน
เตือนอธิบดีกรมสรรพากร ตีความตั๋วP/N นายกฯ เลี่ยงภาษีหรือไม่ อย่าให้ซ้ำรอยอดีต รมช.การคลัง 'เบญจา หลุยเจริญ' อดีตรองอธิบดีสรรพากรที่ต้องเข้าคุก ชี้เป้า 2 ปมผิดปกติ เป็นการฝากหุ้นเพื่อเลี่ยงภาษี
'วันนอร์' ดักคอฝ่ายค้านล่วงหน้าบอกให้ซักฟอกตามข้อบังคับ
'วันนอร์' ขอ 'ฝ่ายค้าน' ซักฟอกตามกรอบข้อบังคับ หลังจ่ออภิปรายถึง 'ยิ่งลักษณ์' บอกเงื่อนไขตามตกลงฝ่ายค้านพูดไม่จบ ต่อเวลาได้ ไม่หวั่นลากยาวถึงตี 5
‘อนุสรณ์’ ชี้ปม 44 สส. ไม่กระทบงานสภา
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณี 44 อดีต สส.พรรคก้าวไกล ทยอยเข้ารับทราบข้อกล่าวหา “ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง”
'ศรีสุวรรณ' ปลื้ม ศาลยกฟ้อง คดีเเจ้งเท็จยื่นยุบพท.เอาผิด 'ทักษิณ' ครอบงำ
'ศรีสุวรรณ' ปลื้มศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง คดี 'ทนายวิญญัติ' แจ้งความ กลั่นแกล้งเเจ้งเท็จ ยื่นยุบพท. เอาผิด 'ทักษิณ' ครอบงำ เล็งเอาผิดผู้เกี่ยวข้องเตะตัดขา
'ความผิดสำเร็จ' ปมร้อนเพิ่มหมวด 15/1 'ปชน.-เพื่อไทย-วันนอร์' ขัดคำวินิจฉัยศาลรธน.?
การประชุมร่วมรัฐสภาครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) ซึ่งมีวาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแก้ไขมาตรา 256 และการเพิ่มหมวด 15/1 ต้องปิดประชุมไปโดยปริยาย หลังองค์ประชุมไม่ครบ มีผู้แสดงตนเพียง 175 คน จากสมาชิกทั้งหมด 620 คน