'นักวิชาการ' กังขา 'แลนด์บริดจ์' ลงทุนมากกว่าเขา แต่ให้บริการสินค้าได้น้อยกว่า 3 เท่า

17ม.ค.2567- ผศ. ประสาท มีแต้ม กรรมการนโยบายด้านบริการสาธารณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค อดีตอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้

โครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง: รู้เขา-รู้เราแล้วจริงหรือ?
บทสรุป : เราลงทุนมากกว่าเขา แต่ให้บริการสินค้าได้น้อยกว่าเขา 3 เท่า
เส้นทางเดินเรือใหม่ผ่านแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง
จะเสร็จสมบูรณ์ 2582 ให้บริการสินค้าได้ 20 ล้านตู้ต่อปี
เงินลงทุนรวม 1 ล้านล้านบาท หรือ USD 28,000 ล้าน (แพงกว่าสิงคโปร์ 40% เพราะมี 2 ท่า และมีทางรถไฟ ลดอุโมงค์)
เส้นทางเดินเรือเดิม(สีดำ) ผ่านช่องแคบมะละกา(สิงคโปร์)
ปี 2564 ให้บริการสินค้าได้ 37.5 ล้านตู้ต่อปี*
ปี 2010 รัฐบาลสิงคโปร์ อนุมัติสร้างท่าเรือใหม่
TUAS Mega Port (ทางตะวันตกของท่าเดิม)
จะเสร็จสมบูรณ์ปี 2583 ให้บริการสินค้าได้ 65 ล้านตู้ต่อปี
เงินลงทุนรวม USD 20,000 ล้าน
โดยปี 2565 สามารถให้บริการได้ แล้ว 41 ล้านตู้ต่อปี
* ข้อมูลจากคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรี
Lee Hsien Loong ใน National Day Rally 2022
นี่ยังไม่ได้พิจารณาค่ายกตู้ลงจากเรือฝั่งหนึ่ง เพื่อไปขึ้นรถไฟ แล้วยกลงจากรถไฟไปลงเรืออีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายตู้ละประมาณ 5 พันบาท
ข้อมูลบอกว่า สินค้าเรือแม่ที่ผ่านช่องแคบมะละกา มี 10-20% ที่จะถูกขนลงเพื่อใช้ในภูมิภาค (อาเซียน) ที่เหลืออีก 8-9 พันตู้จะถูกส่งไปใช้ที่อื่นอื่น เช่น จีน ยุโรป
ดังนั้น เรือที่มาผ่านแลนด์บริดจ์ลำละ 1 หมื่นตู้ จะต้องเสียค่ายกขึ้น-ยกลง คิดเป็นเงินครั้งละ 40 ถึง 50 ล้านบาท (5,000X8,000) แต่ถ้าผ่านช่องแคบมะละกา จะไม่ต้องจ่ายค่าบริการส่วนนี้ นอกจากนี้เวลาที่ใช้ในการเทียบท่า 7-10 วัน (เพื่อขนสินค้าที่จะไปต่อ)
โดยเวลาที่ใช้ในการเดินเรือจะสั้นลงเพียง 2-4 วันเท่านั้น
ถ้าเราเป็นเจ้าของเรา เราจะเลือกใช้เส้นทางไหน
#สื่อเถื่อนเพื่อประชาชน
#มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
#ประสาทมีแต้ม
#เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สามารถ' จี้จุด แลนด์บริดจ์ไทย ช่วยประหยัด 'เวลา' จริงหรือไม่

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้ความเห็นเกี่ยวกับการผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพรของรัฐบาลผ่านเฟซบุ๊ก

'เซลส์นิด' โชว์กล่อมเอกชนญี่ปุ่น ลงทุน 'แลนด์บริดจ์'

นายกฯ คุยนักลงทุนญี่ปุ่นโน้มน้าว ลุย 'แลนด์บริดจ์' ชูจุดดี เพิ่มทางเลือกขนส่ง ลดต้นทุน-เวลา 'สุริยะ' เปิดแผนสร้างโครงการ 4 ระยะ ให้สัมปทานยาว 50ปี คิดให้แล้ว คืนทุนใน 24 ปี

ฉะ! รัฐบาลซื้อไฟเอกชนราคาสูงทั้งที่ไฟฟ้าล้นเกิน ต้นเหตุเก็บค่าไฟแพง ผุดแคมเปญ 'ทะลุแดด' สู้

วงเสวนา ฉะ รัฐบาลซื้อไฟเอกชนราคาสูง ทั้งที่ไฟฟ้าล้นเกินถึง 62 % ต้นเหตุเก็บค่าไฟแพงเพื่อใช้หนี้ เสนอ’ โซลาร์รูฟ’ ให้ประชาชนผลิตและขายไฟให้รัฐแก้ปัญหาค่าไฟราคาแพง ผุดแคมเปญ ‘ทะลุแดด’ ให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ได้