ส.ป.ก. ยันที่ดินข้อพิพาทเขาใหญ่ ได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย มีสภาพใช้ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่

2 มี.ค.2567 - เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ออกแถลงการโดยระบุว่าสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขอแถลงการเรื่อง กรณีพิพาท ระหว่างแนวเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครราชสีมากับแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตามที่ได้ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้เข้าทำการรื้อถอนหมุดหลักฐานซึ่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใต้กฎหมายยว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในท้องที่หมู่ 10 บ้านเหวปลากั้ง ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาอันอาจก่อให้เกิดเป็นประเด็นพิพาทในระหว่างส่วนราชการด้วยกัน นั้น

ส.ป.ก. ยืนยันว่า 1. ที่ดินในบริเวณพิพาทเป็นที่ดินที่ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามมาตรา 26 (3) และมาตรา 36 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งกรมแผนที่ทหารได้ตรวจสอบข้อมูล Field book ซึ่งเป็นการบันทึกการรังวัดขอบเขตของกรมอุทยานฯ เอง ตามมาตรฐานแผนที่และการรังวัดสากลแล้วยืนยันพื้นที่ข้อพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตอุทยานฯ แต่ประการใด

2. ที่ดินในบริเวณพิพาทตามข้อ 1 นั้น ส.ป.ก. ได้รับมาจากการนำที่ดินที่จำแนกออกจากป่าเขาใหญ่เฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติและเขตป่าสงวน (พื้นที่อยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ตามพระราชกฤษฎีกาที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505) เนื้อที่ประมาณ 33,896 ไร่ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530 มอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไปดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินครั้งที่ 6/2527 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2527 ที่มีกรมป่าไม้ (ผู้รับผิดชอบงานอุทยานแห่งชาติในขณะนั้น) และส..ก. ร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งได้สำรวจเป็นที่ยุติแล้วว่า พื้นที่ที่ส่งมอบให้ส.ป.ก. ข้างต้นมีสภาพการใช้ประโยชน์โดยการประกอบเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่กว่า 86.25 %

3. ส.ป.ก. จึงมีอำนาจหน้าที่นำที่ดินเนื้อที่ประมาณ 33,896 ไร่ ที่ได้รับมอบมาข้างต้น (รวมถึงที่ดินบริเวณพิพาท มาจัดให้แก่กษตรกรตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยไม่มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการทับซ้อนของแผนที่แสดงแนวเขตในบริเวณพื้นที่พิพาทระหว่าง ส.ป.ก. กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช แต่ประการใด

4. อย่างไรก็ดี ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีนโยบายให้ปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐตามโครงการ One Map เพื่อให้ที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้รับมาในบริเวณพิพาทไปอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาตินั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการปรับปรุงกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ และช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้สุจริตซึ่งเสียสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจากผลกระทบดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ จำนวน 10 ข้อ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติต่อไป

5. สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นั้น ส.ป.ก. ยังคงยึดมั่นในหลักการว่า หากปรากฏข้อเท็จจริงใด ๆ ว่า มีเจ้าหน้าที่ของ ส.ป.ก. ได้ดำเนินการรังวัดจัดที่ดินในพื้นที่ที่ยังมีสภาพป่า ย่อมเป็นกรณีที่ไม่ชอบด้วยระเบียบและข้อตกลงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้ ส.ป.ก.ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตลอดจนย้ายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายด้วยแล้วและหากพบว่าเจ้าหน้าที่ของ ส.ป.ก. ผู้ใดได้กระทำความผิดหรือมีการจัดที่ดินโดยฝ่าฝืนเจตนารมณ์แห่งกฎหมายหรือกระทำการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องอันก่อให้เกิดความเสียหายกับการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส.ป.ก. จะดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางวินัย ทางแพ่ง และทางอาญา กับผู้เกี่ยวข้องให้ถึงที่สุด และในทางกลับกัน หากตรจสอบแล้วพบว่า ส.ป.ก. ได้ดำเนินการจัดที่ดินที่ชอบด้วยระเบียบและกฎหมาย ก็เป็นกรณีสมควรที่เกษตรกรจะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิกฎหมายและมีความชอบธรรมในการถือครองที่ดินของ ส.ป.ก. ต่อไป โดยไม่ควรที่จะมีหน่วยงานใดก็ตามรบกวนหรือรอนสิทธิของประชาชนเหล่านี้

ทั้งนี้ส.ป.ก. จะยืนหยัดในการปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายทุกประการและจะดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของ ส.ป.ก. ที่ปฏิบัติหน้าที่มิชอบเพื่อพิสูจน์ทราบ และหากพบการกระทำความผิด จะดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัดต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชื่นมื่นสุดสัปดาห์ ‘ทักษิณ-อนุทิน-สารัชถ์’ ออกรอบตีกอล์ฟเขาใหญ่ ‘สุวัจน์-รมต.-สส.พท.’ ร่วมแจม

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่เขาใหญ่ จ. นครราชสีมา ซึ่งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ใด้ใช้เวลาในช่วงสุดสัปดาห์

'ลุงโชค วังน้ำเขียว' เปิดใจแทนชาวบ้านโดนหลอกมา 43 ปี กลับถูกตราหน้าเป็นผู้บุกรุก

จากกรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับฟังความเห็นในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานฝั่ง จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-12 ก.ค. 2567 ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเอื้อประโยชน์ให้นายทุน จนมีการติดแฮชแท็ก #Saveทับลาน ในโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง

'ปชป.' ชี้ปัญหา 'ทับลาน' ต้องแยกปลาออกจากน้ำ ดำเนินคดีนายทุนรุกป่า คืนสิทธิชาวบ้าน

นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย นักวิชาการด้านกฎหมาย และอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นผ่านเฟสบุ๊กว่า

'พัชรวาท' สั่ง 3 ข้อเร่งด่วน แนวทางแก้ปมพิพาทป่าทับลาน

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีกรณีปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานที่มีประชาชนแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางนั้น

จนท.อุทยานฯจับ 2 คนไทย ลักลอบตัดไม้กฤษณาป่าเขาใหญ่

เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนที่ 3 ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพยากรและควบคุมไฟป่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ออกลาดตระเวนเพื่อป้องกันการกระทำผิดในพื้นที่ บริเวณป่าคลองหินอ่อน ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่