16 ส.ค.2567- นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรือ อาจารย์อุ๋ย นักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่านายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งยังมีสถานะเป็นนักโทษที่อยู่ระหว่างพักโทษ ได้เชิญแกนนำของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อหารือในประเด็นบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ว่า
คุณทักษิณไม่ได้เป็น และไม่สามารถเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ๆ ได้ เพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา 24 แห่ง พรป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 98 เพราะเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีทุจริต ดังนั้น การที่คุณทักษิณเทียบเชิญพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล มาร่วมหารือเพื่อตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และจัดตั้งรัฐบาล
จึงเข้าข่ายกระทำความผิดตามมาตรา 29 แห่ง พรป. พรรคการเมือง ซึ่งกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งไม่ใช่สมาชิกกระทำการใดอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม โดยมาตรา 108 กำหนดให้ผู้ที่ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ห้าถึงสิบปี
นอกจากนี้ แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลที่ปล่อยให้คุณทักษิณซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคเข้ามากระทำการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำกิจกรรมของพรรคตัวเอง ก็มีความผิดตามมาตรา 28 ของกฎหมายฉบับเดียวกัน ซึ่งมาตรา 92 กำหนดให้พรรคการเมืองที่ฝ่าฝืนต้องถูกยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรค ผมจึงขอฝากให้ กกต. พิจารณาเรื่องนี้โดยเร็ว
ยิ่งไปกว่านั้น การที่พรรคร่วมรัฐบาล ไปหาคุณทักษิณ ซึ่งยังมีสถานะเป็นนักโทษคดีทุจริตถึงบ้านจันทร์ส่องหล้า เพื่อเจรจาในการจัดตั้งรัฐบาล ผมก็ยังสงสัยว่านักลงทุนต่างชาติเขาจะมองเราอย่างไรที่ให้ปล่อยให้นักโทษในคดีทุจริตเป็นผู้นำในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งสวนทางกับมาตรฐานของสากลโลกในเรื่องระบบนิติธรรม
.
ที่สหประชาชาติได้ประกาศให้หลักนิติธรรมเป็น 1 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เพราะหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งจะทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจในระบบกฎหมายของประเทศที่ตนจะมาลงทุน ไม่ต้องกังวลกับ 'ต้นทุน' หรือ cost ที่มองไม่เห็น และคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งอาจจะต้องหมดไปกับการคอร์รัปชันและการเผชิญกับอุปสรรคที่เกิดจากกฎหมายหรือการบังคับใช้กฎหมายที่บิดเบือน
สุดท้ายนี้ผมขอฝากให้ทุกฝ่ายตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเมือง ภายใต้หลักนิติรัฐ นิติธรรม และยึดผลประโชน์ของชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง ด้วยความปรารถนาดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เพื่อไทยแจกเงินรัฐถังแตก? แผนสะดุดอดปล้นแวต15%
แม้รัฐบาลเพื่อไทยจะมั่นอกมั่นใจว่าจะอยู่ครบวาระหลังมีภูมิคุ้มกันด้วยพลังแฝง จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องคดี ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ครอบงำรัฐบาล
'วัชระ' แฉ 'เสี่ยเปี๋ยง' พ้นคุกตั้งแต่ 9 ต.ค.จี้ถาม 'อุ๊งอิ๊ง-ทวี' ค่าเสียหายจ่ายให้รัฐครบหรือไม่
'วัชระ' แฉ 'เสี่ยเปี๋ยง' พ้นคุกตั้งแต่ 9 ต.ค.แล้ว ราชทัณฑ์ปิดข่าวเงียบกริ๊บ ยื่นหนังสือถาม อุ๊งอิ๊ง-ทวี ค่าเสียหายจ่ายให้รัฐครบตามคำพิพากษาแล้วหรือไม่
จับตาอาจมีการแจ้งจับ 'บิ๊กโม่ง' ก้าวก่ายแทรกแซงป.ป.ช.ไต่สวน ป่วยทิพย์ชั้น 14
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า เรื่องแปลกแต่จริงของประเทศไทย ตามข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบไต่สวน กรณีป่วยทิพย์ชั้น 14
'จตุพร' ลั่นถ้ามั่นใจก็แบ่งประโยชน์ 50:50 เลย เชื่อ 'กิตติรัตน์' วืดเข้าครม. รัฐบาลลังเล
'จตุพร' ท้าอำนาจเอาแต่ได้ ลั่นถ้ามั่นใจก็แบ่งประโยชน์ 50:50 เลย เอาตามลูกพี่สบายใจ แล้วจะได้วัดกัน ส่วน 'กิตติรัตน์' วืดเข้าครม. เชื่อรัฐบาลลังเล หวั่นเป็นปัญหาหัวเชื้อคนค้านขย่ม แม้กฤษฎีการะบุคุณสมบัติไม่เข้าข่ายข้าราชการการเมือง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้อ้างในศาล รธน.จะชนะทุกกรณีไป
ม็อบการเมืองจุดติด-ไม่ติด อยู่ที่พฤติกรรม การกระทำ ผู้นำประเทศ-พรรคร่วมรัฐบาล
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อศุกร์ที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา สุดท้ายแล้วก็ยังไม่มีการตั้ง คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (JTC) ไทย-กัมพูชา
'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน
ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49