'ดร.ปริญญา' ยกรธน.ม.29 ยืนยันการได้รับการประกันตัวของผู้ต้องหา เป็นสิทธิพื้นฐานตามรธน.

'ดร.ปริญญา'ยกรัฐธรรมนูญม.29 ยืนยันการได้รับการประกันตัวของผู้ต้องหาเป็นสิทธิพื้นฐานตามรธน. เหตุผลที่ไม่ให้ประกันตัวเพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนีเท่านั้น ส่วนเหตุผลอื่นใดล้วนไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

14 ม.ค.2565- ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

มาตรา 29 #วรรคสาม #มาตราในรัฐธรรมนูญที่คนไม่ค่อยรู้จัก และ #ควรต้องมีการเคร่งครัดปฏิบัติตามให้มากขึ้น
จากหลัก #สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ หรือ presumption of innocence ทำให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 บัญญัติไว้ในมาตรา 29 #วรรคสอง ว่า

“ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษา อันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้”

ซึ่งเป็นหลักที่ได้รับการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของประเทศไทยทุกฉบับตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมาหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ หรือที่มักกล่าวกันเป็นคำพูดว่า “บุคคลย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษา” นี้เอง ทำให้ #การได้รับการประกันตัวเป็นสิทธิพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ผู้ต้องหา หรือจำเลย สามารถสู้คดีนอกคุก และเพื่อที่จะไม่ติดคุกก่อนศาลพิพากษา

และด้วยหลักนี้เอง ทำให้รัฐธรรมนูญมาตรา 29 ต้องมีการบัญญัติไว้อีกวรรคหนึ่ง เป็น #วรรคสาม ว่า

“การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยให้กระทําได้เพียงเท่าที่จําเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี”

ดังนั้น เหตุผลที่ไม่ให้ประกันตัว เพราะ #คดีมีอัตราโทษสูง หรือ #ผู้ตัองหาจะกระทำผิดซ้ำ หรือเหตุผลอื่นใดที่ผิดไปจากนี้ ล้วนไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพราะมาตรา 29 วรรคสาม อนุญาตให้ควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ว่าจะต้องข้อหาในคดีใด ด้วยเหตุผลข้อเดียวเท่านั้นคือ #เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี

ว่าง่ายๆ คือถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี หรือไม่มีความเสี่ยงที่จะหลบหนี หรือมีอุปกรณ์ติดตามตัวที่จะป้องกันการหลบหนีได้ ก็ต้องให้ประกันตัว ไม่ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะต้องข้อหาในคดีใดครับ

นี่คือมาตราในรัฐธรรมนูญที่ #กระบวนการยุติธรรมควรต้องเคร่งครัดปฏิบัติตามให้มากขึ้น เพราะเราควรจะติดคุกเมื่อศาลพิพากษาแล้วเท่านั้น และนี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญของเราทุกคนครับ

ทั้งนี้ในวันที่ 14 ม.ค.2565 เวลา 14.00 น.ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดฟังคำสั่งว่าจะให้ประกันตัว น.ส.เบนจา อะปัญ กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในความผิด 2 คดี ได้แก่ คดีอ่านแถลงการณ์หน้าซิโน-ไทย และ คดีชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี หรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บ่อน้ำ' ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ของอาจารย์ปริญญา

อาจารย์ปริญญา จบกฎหมายมหาชน จากเยอรมัน จึงน่าจะเป็นเหตุผล ที่ทำให้ อาจารย์ มักแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับกฎหมายของประเทศไทย อยู่หลายๆครั้ง ทำเหมือนไม่รู้ว่า “เมื่อเป็นคนไทยทำผิด ก็

ศาลฎีกาพิพากษายืน กักขัง 1 เดือน 'ไบรท์ ชินวัตร' คดีละเมิดอำนาจศาล

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ข่าวสารว่า 26 มี.ค. 2567 ศาลอาญานัดฟังคำสั่งของศาลฎีกาในคดีของ “ไบรท์”​ ชินวัตร จันทร์กระจ่าง นักกิจกรรมในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งถูกกล่าวหาในข้อหาละเมิดอำนาจศาล

ดร.นิว เฮลั่น! หยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมธ. 'ปริญญา' ได้ที่โหล่

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า "โชคดีของ

ศาลสั่งจำคุก ‘เบนจา’ แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ 3 ปี ปรับ 8 พัน โทษจำรอลงอาญา 2 ปี

ศาลอาญากรุงเทพใต้ วันนี้นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.1974/2564 ระหว่างพนักงานอัยการฯ โจทก์ ฟ้อง น.ส.เบนจา  อะปัญ นักกิจกรรมและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นจำเลย

ลุ้นระทึก! ศาลนัดฟังคำพิพากษา ’เบนจา’ คดี ’112-พรก.ฉุกเฉินฯ’

ศาลนัดฟังคำพิพากษาในคดีของ “เบนจา อะปัญ” นักกิจกรรมและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ