3 ต.ค.2567 - ผศ.ดร.เพิ่มศักดิ์ จะเรียมพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โพสต์เฟซบุ๊กวิจารณ์หนังสือ "ในนามความมั่นคงภายใน การแทรกซึมของกองทัพไทย" เขียนโดย รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า #เชรีวิว ในนามของความมั่นคงภายใน การแทรกซึมสังคมของกองทัพไทย แบบอ่านผ่านๆ ผิดตรงไหนไปถามคนเขียนเอง 555
สรุปสั้นๆ คือ เป็นงานที่ไม่ได้สะท้อนสัจธรรมหรือความเป็นจริงอะไร มีการตีความผ่านกรอบคิดแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย / อุดมคตินิยม (Liberalism/Idealism) แล้วก็หาหลักฐานเชิงประจักษ์ (แบบเข้ากรอบทฤษฎี) มาสนับสนุนตามสูตร ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวเป็นทฤษฎีหนึ่งของการศึกษารัฐศาสตร์เท่านั้น ยังมีทฤษฎีอีกเพียบที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ดีกว่าเช่นแนวคิดแบบสัจนิยม (Realism) หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Post-Modernism) หรือแนวคิดแบบโบราณสามก๊ก (Samkokism) ก็ยังได้เลย
มากไปกว่านั้น งานนี้ยังมีลักษณะที่กลับหัวกลับหางแปลกๆ เช่น เริ่มจากการตั้งชื่อเรื่องที่ผิดทิศทาง กลับหัวกลับหางไปหมด ไม่รู้ว่าอาจารย์พวงทองงง หรือผมงง งงงไปหมดคือ
ก. การแทรกซึมทางสังคมของทัพไทย
คำถามคือ กองทัพแทรกซึมสังคมไทยได้เหรอ? ตกลงกองทัพไทยกับสังคมไทยไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกัน ตกลงเป็นกองทัพไทยหรือเป็นกองทัพอะไร งง?
คำว่า แทรกซึม มันต้องใช้กับรัฐคู่ขัดแย้งหรือคู่สงครามสิคับ อาจารย์ยกบริบทของสงครามเย็น ซึ่งในทางปฏิบัติมันเป็นสงครามตัวแทน (Proxy War) ระหว่างรัฐมหาอำนาจซ้อนกันหลายชั้น
ในบริบทของสงครามเย็นในประเทศไทย กองทัพไทยเป็น ฝ่ายป้องกันหรือเจ้าบ้าน เขาถึงตั้งชื่อว่ากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในไงคับ
ถามว่าป้องกันการแทรกซึมจากใคร ก็ป้องกันการแทรกซึมจากพวกอาจารย์ของอาจารย์ เช่น อาจารย์ธงชัย ที่อาจารย์อ้างอิงในหนังสือ ซึ่งอาจารย์ธงชัยนี้เองก็เป็นสหาย หรือกลไกที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เข้ามาจัดตั้งตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมปลายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา และใช้อาจารย์ธงชัยแทรกซึมสังคมไทย เช่น ผลิตความคิดที่ต่อต้านค่านิยมหลักหรือบ่อนทำลายความมั่นคงของสังคมและของรัฐต่าง ๆ นา ๆ เพื่อปูทางไปสู่การยึดอำนาจรัฐของ พคท. ในที่สุด แบบนี้สิครับเขาถึงเรียกว่าแทรกซึม ซึ่งการแทรกซึมมันก็คือยุทธวิธีการบ่อนทำลาย (Sabotage) แนวหลังของศัตรูให้อ่อนแอทั้งทางด้านความคิด สติปัญญาและทรัพยากร ฯลฯ
ในขณะที่รัฐไทยก็ต้องป้องกันการแทรกซึมจัดตั้งของ พคท. โดยจัดตั้งไทยอาสาป้องกันชาติ ลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง ฯลฯ มาสู้กับกลุ่มจัดตั้งของพคท. ในทุกองคาพยพของสังคม เช่น สหภาพแรงงาน ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา กลุ่มไฟลามทุ่ง ฯลฯ ถ้าไม่ทำอะไรก็เรียบสิคับ แดงทั้งแผ่นดิน เสร็จ พคท. หมด
ประธานเหมายังบอก ทหารคือปลา ประชาชนคือน้ำ อาจารย์ได้เรียนหรืออ่านสรรนิพนธ์ทางการทหารบ้างป่าวคับ ถึงชอบตั้งคำถามว่า ทหารมีไว้ทำไม? ได้คำตอบยังคับ
แล้วยิ่งไปกว่านั้น ตรงบทสรุป หน้า 216 อาจารย์พวงทองสรุปว่า "ข้อสรุปสำคัญของงานศึกษาชิ้นนี้คือไม่ใช่การป้องกันประเทศจากการคุกคามของศัตรูภายนอก แต่คือกิจกรรมความมั่นคงภายในที่เป็นเหตุผลของการดำรงอยู่ (raison d'être) ของกองทัพ"
เห้ย ถามจิง แค่นี้มันต้องทำวิจัยด้วยเหรอ ไปไล่เรียงประวัติศาสตร์การก่อตั้งรัฐตั้งแต่สมัยโบราณถึงสมัยใหม่แล้วมาตอบให้หน่อย ว่ากองทัพแมวที่ไหนมันไม่ได้มีหน้าที่ป้องกันรักษาเอกราชทั้งจากภายนอกและภายใน และภายในมันต้องเข้มแข็งก่อนด้วยถึงป้องกันภายนอกได้
ถ้าเป็นภาวะสงครามมันก็มีทั้งสงครามที่มาจากภายนอกและสงครามการบ่อนทำลายภายใน เช่น การบ่อนทำลายทางความคิด ฯลฯ เช่น ประเทศไหนมีระบบความคิดที่มั่นคง ก็นำแนวความคิดสมัยใหม่เข้าไปทำให้ประเทศเกิดความอ่อนแอ ขัดแย้งกัน พอตีกันเองก็ไม่ต้องพัฒนา ดูหลายๆประเทศรอบบ้านก็ได้ ตอนนี้ตีกันเข้าไป หัวเก่าหัวใหม่ สุดท้ายประเทศลุกเป็นไฟ
อย่างหมดยุคสงครามเย็น ตอนนี้ก็เป็นสงครามในรูปแบบใหม่ ตอนนี้ไม่ยึดครองโดยตรงแล้ว แต่ใช้วิธีการให้ทุนสนับสนุนองค์กรต่างๆมาเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของรัฐมหาอำนาจ ที่ต่างก็ต้องทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ใครเคยรับงานบ่อยๆก็จะทราบดีครับ หวานเจี๊ยบ พูดหรือเคลื่อนไหวอะไรสอดคล้องต้องกันหมดราวกับรับงานมา เด็กปั้น อิอิ
ตัวอย่างการแทรกซึมสังคมไทย แนวคิดไหนที่ไม่เคยมีในสังคมไทยมาก่อนถือว่าแนวคิดนั้นเข้ามาแทรกซึมนะคับอาจารย์ เช่น ทุนนิยม คอมมิวนิสต์ หหรือประชาธิปไตย เป็นต้น โดนหมดไม่ว่าไทย ยูเครน ซีเรีย อาเซียน ฯลฯ ผ่านแนวคิดเรื่อง สิทธิเสรีภาพ เสมอภาค โว๊ค ไม่เคารพพ่อแม่ บ่อนทำลายสถาบันหลัก ศาสนา ค่านิยม ฯลฯ
ในทางปฏิบัติเขาก็จะมีการจัดตั้ง การให้ทุน ส่งไปเรียน จัดค่าย เสวนา การระดมมวลชน หรือการตั้งพรรคการเมือง รวมไปถึงองค์กรมูลนิธิต่าง ๆ การให้รางวัล ฯลฯ โดยมีเป้าหมายการเคลื่อนไหวที่สอดประสานต้องกัน แทรกซึมเข้าไปในสถาบันการศึกษา โรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย ที่ปรากฏออกมาเป็นม็อบจัดตั้งเป็นระยะๆ ที่เคลื่อนไหวสอดคล้องกับคนจัดตั้ง ตั้งแต่สมัยโบราณจนมาถึงสมัยปัจจุบันอะ ไม่เคยเปลี่ยนอย่างเช่น รัฐ A อยากจะจัดการ รัฐ B วิธีการง่าย ๆ แบบไม่ต้องใช้กำลังทางทหารซึ่งสิ้นเปลืองมากก็คือบ่อนทำลายรัฐ B จากภายใน ให้ฟาดกันเองให้ย่อยยับ ให้ทุนสนับสนุนอย่างลับ ๆ
ยิ่งถ้าเป็นรัฐประชาธิปไตยยิ่งง่าย เลี้ยงพรรคที่อาจได้รับการเลือกตั้ง เลี้ยงพรรคหอกข้างแคร่ หนุนพรรคแปลก ๆ หรือเอาศาสนา ยาเสพติด โรคระบาด ปล่อยข่าวลบ ข่าวลือ ระบบเหตุผลแปลก ๆ หรือทำให้คนในรัฐนั้นโง่ ปัญญาอ่อน ฯลฯ ร้อยสารพันวิธี ถ้าอ่านประวัติศาสตร์มาบ้างอะ แล้วเข้ามากวาดแบบหวานเจี๊ยบ เป็นต้น
ดังนั้น หน้าที่ของกองทัพและสังคมก็คือต้องช่วยป้องกันการแทรกซึมของแนวความคิดบ่อนทำลายชาติและรัฐเหล่านี้ ที่แท้จริงแล้วอาจจะเป็นเครื่องมือในการเข้ามาแทรกแซงเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มคนบางกลุ่มได้ ทำแค่นี้ผมว่าน้อยไปด้วยซ้ำคับ อย่าตีกันมาก มีคนจ้องจะงาบคุณอยู่ เว้นแต่ว่ารับงานมา อิอิ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หัวเขียง' ปรับแก้ 10 กว่าจุด ลั่นหัวเด็ดตีนขาดยังไงก็ต้องเสนอ กม.ยึดอำนาจกองทัพ กลับไปใหม่
นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าในวันที่ 12 ธ.ค.ตนจะแจ้งเรื่องต่อที่ประชุมพรรคเพื่อไทย เพื่อขอถอนร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่เสนอ
นายกฯอิ๊งค์ ยืนยันจุดยืนรัฐบาล ไม่มีเจตนาแทรกแซงกองทัพ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ว่า เรื่องนี้มีความคิดเห็นต่างกันอยู่แล้วก็ต้องรับฟังทุก
อย่าวางใจ 'หัวเขียง-เพื่อไทย' ถอนร่างกฎหมายยึดอำนาจกองทัพ
แม้ดูแนวโน้มแล้ว นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ จากพรรคเพื่อไทยมีโอกาสที่จะถอนร่าง กฏหมายยึดอำนาจกองทั
'ไอติม' มั่นใจร่างกฎหมายสกัดรัฐประหาร ผ่านสภาฯได้ หากปชน.-เพื่อไทยจับมือกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กลาโหม โดยเฉพาะการสกัดการปฏิวัติ ว่า ในมุมมองของพรรคประชาชน หรืออดีตพรรคก้าวไกล เ
เข็ดแล้วสุดซอย! 'หัวเขียง' ถอยกรูด ถอนร่างกฎหมายยึดอำนาจกองทัพ
นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงเสียงคัดค้านร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ 92 ปีรัฐธรรมนูญ วัฏจักรการแย่งชิงอำนาจ!
ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม ระบุครบรอบ 92 ปีวันรัฐธรรมนูญ ยังวนเวียนอยู่กับวัฏจักรการแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง มากกว่าคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน