'รมว.กต.' ขอบคุณ หลังไทยได้รับเลือกนั่ง HRC วาระ 2568-2570 ยืนยันจะเป็นสะพานเชื่อมความแตกต่างของชาติสมาชิก แสดงความมุ่งมั่นส่งเสริมสถานะประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนไทยให้เป็นที่ยอมรับ
10 ต.ค.2567 - นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 44 และ 45 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กล่าวถึงกรณีที่ประเทศไทย ได้รับเลือกตั้งเข้าไปดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ HRC วาระปี ค.ศ.2025 - 2027 หรือ พ.ศ.2568 - 2570 ซึ่งมีการออกเสียงลงคะแนน เมื่อค่ำวันที่ 9 ต.ค. ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่า ประเทศไทยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และขอขอบคุณประเทศสมาชิกสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกอาเซียน ที่ได้ให้การสนับสนุนและให้ความไว้วางใจประเทศไทยในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งในตำแหน่งนี้ ได้สะท้อนถึงความเชื่อมั่น และการยอมรับในบทบาทของประเทศไทยในเวทีโลก
นายมาริษ กล่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นสะพานเชื่อม และประสานความแตกต่างของท่าทีของประเทศสมาชิก เพื่อช่วยแสวงหาทางออก และฉันทามติ โดยอาศัยจุดแข็งของไทย ที่มีมุมมองในหลายเรื่องที่ก้าวหน้า ขณะเดียวกัน ก็มีความเข้าใจในบริบททางสังคม ศาสนา วัฒนธรรมของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศไทยจะนำแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศไทย อาทิ นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage), นโยบายการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล ไปเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ และหุ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสถานะของไทยให้เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมในประชาคมระหว่างประเทศ และยกระดับมาตรฐานด้านกระบวนการประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนของไทย รวมถึงการนำกระบวนการประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนของระหว่างประเทศ มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยต่อไปด้วย
นายมาริษ กล่าวอีกว่า ขอให้ความมั่นใจว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญ และมุ่งมั่นในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนประชาชนคนไทยในประเทศ และระหว่างประเทศ รวมถึงความพยายามดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เป็นประชาธิปไตย, การยกเลิกคำสั่ง คสช., การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งเพื่อให้เกิดการสมรสเท่าเทียม, การต่อยอดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล, การปลดล็อกอุปสรรค และปรับปรุงกฎหมาย เพื่ออำนวยสะดวกในการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการขออนุญาต และขอรับบริการจากหน่วยงานของรัฐ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่มิตรประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น
นายมาริษ กล่าวว่า นอกจากนั้น ประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญและประสงค์จะผลักดันในฐานะสมาชิก HRC ครั้งนี้จะรวมถึง การมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทและทบทวนทิศทางการดำเนินงานของ HRC เพื่อให้ HRC ตอบสนองต่อความท้าทายของโลกและความท้าทายใหม่ ๆ ในด้านสิทธิมนุษยชน ในบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสนับสนุนให้ HRC มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าและพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ HRC มีสมาชิกจำนวน 47 ประเทศ จากกลุ่มภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มแอฟริกา 13 ประเทศ, กลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก 13 ประเทศ, กลุ่มยุโรปตะวันออก 6 ประเทศ, กลุ่มลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 8 ประเทศ และกลุ่มยุโรปตะวันตก 7 ประเทศ ซึ่งปัจจุบัน ประเทศสมาชิก HRC จากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบไปด้วย บังกลาเทศ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คาซัคสถาน คูเวต สาธารณรัฐคีร์กีซ มาเลเซีย มัลดีฟส์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม
โดยที่ประเทศไทย สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก HRC วาระปี ค.ศ.2025-2027 หรือ พ.ศ.2568 ถึง 2570 ซึ่งต้องแข่งขันกับ 6 ประเทศ ได้แก่ หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไซปรัส กาตาร์ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และไทย สำหรับตำแหน่งว่าง 5 ตำแหน่ง ซึ่งผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของรัฐสมาชิกทั้งหมด หรือ 97 คะแนน และจะต้องได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 5 ลำดับแรกของกลุ่มภูมิภาค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จูบปากแล้ว! รมว.ท่องเที่ยวฯ ฟุ้งพร้อมจัดโมโตจีพี-เอฟ1
'รมว.ท่องเที่ยวฯ' ยันงบพอจัด motogp - F1 บอกสร้างรายได้ให้ประเทศมหาศาล เร่งสร้างความร่วมมือภาคเอกชน
'สรวงศ์' ผิดหวัง 'วิโรจน์' คนรุ่นใหม่แต่สุดหยาบคาย
'เลขาฯ พท.' ผิดหวัง 'วิโรจน์'เป็นคนรุ่นใหม่ แต่เล่นการเมืองเก่า หลังว่านายกฯ ไม่รู้สี่รู้แปด เชื่อ สังคมแยกแยะวุฒิภาวะได้
'ภูมิธรรม' ไม่เห็นชื่อจนท.รัฐบาลไทย ถูกสหรัฐระงับวีซ่า เผยไปจีนพบผู้นำอิสลามด้วย
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่ทางสหรัฐอเมริกาจะงดออกวีซ่า จากกรณีประเทศไทยส่งกลับชาวอุยกูร์ไปยังประเทศจีนว่า ตนยังไม่เห็นเลย เห็นแค่คำแถล
'ทักษิณ' ชี้สหรัฐฯไม่อัปเดตข้อมูล ประณามไทยส่งอุยกูร์กลับจีน ไม่ใช่เรื่องใหญ่อย่าตกใจ
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีสหรัฐอเมริกาจ่องดออกวีซ่าเจ้าหน้าที่ไทย ตอบโต้ผู้เกี่ยวข้องส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ว่า เรื่องนี้เกิดจากสหรัฐฯ ไม่มีข้อมูลที่อัพเ
'วราวุธ' สรุปผล ร่วมประชุม กมธ.ว่าด้วยสถานภาพสตรี ที่ UN แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลายประเทศชื่นชม พม.-ขอนำตัวอย่างไปขยายผล
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงผลการนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีสมัยที่ 69 (Commission on the Status of Women) หรือการประชุม CSW 69 ซึ่งปี 2568 เป็นวาระครบรอบ 30 ปี ปฏิญญาปักกิ่ง ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (UN) นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตภูฏานฯเตรียมความพร้อม 'ในหลวง-ราชินี' เสด็จฯ เยือน ครั้งแรก
นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตภูฏานประจำประเทศไทย เตรียมความพร้อมอย่างสมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเยือน เป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน ขณะความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ พร้อมลงนาม FTA ระหว่างกันในประชุมบิมสเทคที่ไทย เม.ย.นี้