23 ต.ค.2567 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงกรณีการสลายการชุมนุมที่ตากใบ ระบุว่า
ตามที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคดีการสลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี 2547 จะหมดอายุความในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 นี้ โดยระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมาไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับเหตุสลายการชุมนุมในครั้งนั้นถูกดำเนินคดีจากการกระทำความผิดที่เป็นเหตุให้มีประชาชนเสียชีวิตรวม 85 ราย แต่อย่างใด
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เห็นว่า การดำเนินคดีที่ล่าช้าและปล่อยปละละเลยจนระยะเวลาล่วงผ่านมาเกือบ 20 ปี เป็นการซ้ำเติมความสูญเสียของครอบครัวและญาติผู้เสียชีวิต ผู้สูญหาย ผู้ได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบอย่างไม่อาจยอมรับได้ การที่กระบวนการยุติธรรมยังไม่สามารถนำตัวคนผิดมาลงโทษ และไม่สามารถทำความจริงให้กระจ่างได้ ถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้เสียหาย และเป็นการละเมิดต่อ “สิทธิในการรู้ความจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของเหยื่อ” ตามกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ให้การรับรอง
กสม. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่ออำนวยความยุติธรรมกรณีการสลายการชุมนุมที่ตากใบ ดังต่อไปนี้
1.เร่งนำตัวผู้ต้องหาในคดีนี้ทุกรายเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อมิให้เกิดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิดโดยอาศัยช่องว่างจากการดำเนินคดีล่าช้าและการขาดอายุความของคดี
2.ให้มีการเยียวยาความเสียหายที่มิใช่เฉพาะตัวเงิน การเยียวยานี้หมายรวมถึงการทำความจริงให้ประจักษ์ โดยญาติและครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้เสียหายต้องได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างสมบูรณ์และครบถ้วนอันเป็นการให้ความเคารพในศักดิ์ศรีของเหยื่อและผู้สูญเสีย
3.ผลักดันแก้ไขกฎหมายให้คดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิต เช่นคดีตากใบ เป็นคดีที่ไม่มีอายุความ
กสม. หวังว่าในโอกาสที่รัฐบาลไทยได้รับเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญ คือ การเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council – HRC) วาระปี 2568 – 2570 รัฐบาลจะได้ให้ความสำคัญกับการอำนวยความยุติธรรมและการเยียวยาความเสียหายกรณีการสลายการชุมนุมที่ตากใบในทุกรูปแบบอย่างจริงจังและเร่งด่วน โดยไม่ปล่อยให้ประชาชนผู้เสียหายได้รับความไม่เป็นธรรมและหมดความหวังต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กสม. หารือจุฬาราชมนตรี หลังแจ้งนายกฯ กังวลข่าวส่งตัวชาวอุยกูร์กลับประเทศต้นทาง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 ได้เข้าพบหารือกับนายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ณ สำนักจุฬาราชมนตรี
หวั่น'การเมือง'ล้วงลูก ตั้งประมุข'อลป.ไทย' ส.สื่อกีฬาฯแถลงปกป้องอธิปไตยกีฬา
จากที่หลายสมาคมกีฬาได้มีความกังวลต่อการเลือกตั้งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยคนใหม่ ที่อาจจะสร้างความแตกแยก และอาจจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนากีฬาของชาติอย่างมาก โดยเชื่อกันว่าจะมีการใช้อำนาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงด้วยนั้น
กสม. ประณาม 'ทักษิณ' ปราศรัยเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน ย้ำไทยอยู่ภายใต้ CERD
กสม.ซัด 'ทักษิณ' จ้อเหยียดเชื้อชาติคนแอฟริกัน อบรมคนมีอิทธิพลทางสังคมไม่ควรทำ หวั่นโดนขยายความรุนแรง ซ้ำรอยความสูญเสียในอดีต
กสม.แนะตร.แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีผู้ต้องขังถูกอายัดตัวกว่า 10 ปี
กสม. แนะ ตร. แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดีอาญาผู้ต้องขังที่ถูกอายัดตัวนานกว่า 10 ปี เสนอเรือนจำงดเว้นการร้องทุกข์ในคดีลหุโทษ
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจี้ รร.นายร้อยตำรวจเร่งคดีล่วงละเมิดทางเพศ!
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์เรื่องขอให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
กสม. ชื่นชมรัฐบาล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคลแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ไว้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ (High-Level Segment on Statelessness) เ