
2 มี.ค.2568 – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ชีวิตคนไทย ดีขึ้น เหมือนเดิม หรือ แย่ลง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,329 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา
เมื่อสอบถามถึงชีวิตความเป็นอยู่โดยภาพรวมของคนไทยที่ถูกสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.6 ระบุว่าชีวิตความเป็นอยู่โดยภาพรวมแย่ กล่าวคือ แย่เหมือนเดิม ร้อยละ 32.2 และ แย่ลง ร้อยละ 35.4 ในขณะที่ ร้อยละ 12.5 ระบุว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 19.9 ระบุว่า ดีขึ้น
จากการพิจารณาเหตุผลในกล่องเหตุผลที่ระบุว่า ดีขึ้น และดีเหมือนเดิม ให้เหตุผลว่า เพราะมีรายได้เพิ่มขึ้น ค่าครองชีพดีขึ้น รายได้พอ ๆ กับ รายจ่าย เข้าถึงบริการที่ดี สวัสดิการดีขึ้น บริการสาธารณะดีขึ้น ได้โอกาสทำงานที่ดี มีการศึกษาดีขึ้น รู้สึกมั่นคงในการเงิน และปลอดภัยในสังคมมากขึ้น และอื่น ๆ เช่น มีเทคโนโลยีที่ดีกว่าแต่ก่อน เดินทางสะดวก รายได้รายจ่ายพอๆ กัน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาเหตุผลในกล่องเหตุผลที่ระบุว่า แย่เหมือนเดิม และ แย่ลง ให้เหตุผลว่า ไม่มีอะไรใหม่ ไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น มีแต่ทรงกับทรุด ราคาสินค้า ค่าครองชีพสูงขึ้น หนี้สิน ภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น โอกาสทำงานดี ๆ เงินดี ลดลง คุณภาพชีวิตแย่ ปัญหามลพิษ ปัญหาฝุ่น รถควันดำ อุบัติเหตุ ปัญหาสังคมแย่เหมือนเดิม แย่ลง หวาดกลัวมากขึ้นและอื่น ๆ เช่น บริการสาธารณสุข บริการของรัฐ แย่เหมือนเดิม ยังไม่ตอบโจทย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์เจาะลึกเพิ่มเติม พบข้อสังเกตและแนวโน้มว่า กลุ่มที่เห็นว่าชีวิตดีขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจเทคโนโลยี ในขณะที่ กลุ่มที่เห็นว่าชีวิตแย่ลงมีแนวโน้มมาจากภาคเกษตรกรรมและแรงงานรายวัน ดังนั้น ประเด็นค่าครองชีพและโอกาสทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความคิดเห็นของประชาชน
ข้อเสนอแนะคือ ควรมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพที่เข้าถึงได้จริง ควรสนับสนุนโครงการสร้างงานและเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ และควรพัฒนาระบบสวัสดิการให้ครอบคลุมกลุ่มเปราะบางมากขึ้น
กล่าวโดยสรุป ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายของภาครัฐที่มีผลต่อประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซูเปอร์โพลชี้ผลสำรวจคนไทยมีความทุกข์มากขึ้น แต่ยังมั่นใจฝีมือ 'อิ๊งค์'
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในสายตาของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น 1,215 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 19 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา
ซูเปอร์โพลชี้ 'ตึกถล่ม' กระทบศรัทธาประชาชน จี้รัฐฟื้นเชื่อมั่นด่วน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ถอดบทเรียนตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวในใจประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ
โพลชี้ ปชช. ส่วนใหญ่ขอให้หน่วยงานรัฐติดตามแผ่นดินไหว พร้อมแจ้งสถานกาณ์ทันที
ความต้องการของปชช.ส่วนใหญ่ ขอให้หน่วยงานรัฐ ปรับปรุง พร้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน พบส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 87.1 ต้องการให้ เฝ้าระวัง ติดตามพื้นที่เสี่ยง สื่อสาร ไลฟ์สดจากรัฐบาล นายกรัฐมนตรีไลฟ์สดทันที ตอบสนองรับมือเหตุฉุกเฉิน แก้วิกฤต และฟื้นฟูเยียวยา
ซูเปอร์โพลเผยผู้ปกครองห่วงบุหรี่ไฟฟ้าระบาดกลุ่มเด็กและเยาวชน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความกังวลของผู้ปกครองต่อบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ
โพลหนุนตัดไฟฟ้าประเทศเพื่อนบ้านแก้อาชญากรรมข้ามชาติ
ประชาชนคิดอย่างไร ต่อ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตัดไฟฟ้าประเทศเพื่อนบ้านแก้อาชญากรรมข้ามชาติ
ซูเปอร์โพลชี้ เด็ก- เยาวชน สนใจการเมืองแต่อยากเห็นการทำงานโปร่งใส
ดร.ชาญวิชย์ อริยาวรนันต์ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เด็กคิดอย่างไรต่อการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนอายุ 14 – 19 ปี ทุกภูมิภาคของประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,089 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9 – 11 มกราคม พ.ศ.2568 ที่ผ่านมา