วธ.เตรียมออกข้อปฏิบัติจัดสงกรานต์เสนอ ศบค. 18 มีนานี้

วธ.หาข้อสรุปออกข้อปฏิบัติจัดงานสงกรานต์ ปี 65 เสนอที่ประชุม ศบค. 18 มี.ค. ย้ำยังงดสาดน้ำ-ปะแป้ง เน้นสรงน้ำพระพุทธรูป ทำบุญตามประเพณี ลดเสี่ยงโควิด

10 มี.ค.2565 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและองค์การมหาชนในสังกัด วธ. ได้มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ.จัดประชุมศูนย์บริการสถานการณ์โควิด-19 ของ วธ.เพื่อออกข้อปฏิบัติการจัดประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2565 ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้สามารถจัดงานเทศกาลสงกรานต์ และให้ปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  (ศบค.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดอย่างเข้มงวด โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถนำเสนอที่ประชุม ศบค.ในวันที่ 18 มี.ค.นี้ เบื้องต้นได้มอบหมายสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสงค์จะจัดงานในปีนี้ ซึ่งคาดว่าหน่วยงาน และภาคส่วนต่างๆ ร่วมจัดกิจกรรมมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนมากขึ้น และมีการงดเว้นการจัดงานมาถึง 2 ปี 

นายอิทธิพล กล่าวว่า สำหรับข้อปฏิบัติการจัดประเพณีสงกรานต์ยังคงคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก โดยเฉพาะการความเสี่ยงต่อผู้สูงอายุ เนื่องจากคาดว่าจะมีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาจำนวนมาก หากผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวยังไม่ได้รับวัคซีน หรือ วัคซีนเข็มกระตุ้นอาจจะมีความเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น จึงยังคงแนะนำให้งดการจัดกิจกรรมรดน้ำดำหัวไปก่อนเพื่อลดความเสี่ยง  แต่หากจะจัดกิจกรรมกันเป็นการภายใน เน้นย้ำให้มีการเว้นระยะห่างสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และควรจัดในเวลาไม่นาน งดการสัมผัสทั้งการสาดน้ำปะแป้ง การใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง เน้นการสรงน้ำพระพุทธรูป ทำบุญตักบาตร ส่วนการจัดกิจกรรมย้ำถึงมาตรการของ ศบค. และของจังหวัดเป็นหลัก เน้นพื้นที่โล่งแจ้ง คำนวณสถานที่ให้สอดคล้องกับจำนวนผู้เข้าร่วมงาน ส่วนการจัดประเพณีท้องถิ่น และการแสดงทางวัฒนธรรมสามารถจัดได้ แต่ให้พิจารณาจัดในพื้นที่โล่งแจ้งไม่แออัด  

” ทั้งนี้ ในส่วนของการจัดกิจกรรมในพื้นที่ส่วนกลาง ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.)ประสานงานกับเครือข่ายสภาวัฒนธรรม คาดว่า จะมีการจัดพิธีรดน้ำดำหัวขอพรศิลปินแห่งชาติแบบเว้นระยะห่าง รวมถึงการพิจารณากิจกรรมสงกรานต์ผ้าขาวม้า ที่ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ บริเวณสยามสแควร์ว่า จะจัดกิจกรรมได้หรือไม่   อย่างไรก็ตาม การออกข้อปฏิบัติดังกล่าว ถือเป็นคำแนะนำให้ประชาชนได้นำไปปฏิบัติโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการติดเชื้อ เนื่องจากคาดว่า ปีนี้จะมีผู้เดินทางทั้งกลับภูมิลำเนา และท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ จำนวนมาก เนื่องจากไม่มีการจัดประเพณีสงกรานต์มาแล้วถึง 2 ปี จึงย้ำให้ทุกคนยังคงมาตรการระมัดระวังตัวสูงสุด” รมว.วธ. กล่าว 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาเมืองเพชร ดัน'พระนครคีรี'มรดกโลก

ครม.สัญจรแรกหลังรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ลงพื้นที่แข็งขันตรวจเยี่ยมการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ของ จ.เพชรบุรี ได้แก่ ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ อ.เขาย้อย

วธ.พา'โนรา'อวดโฉมเทศกาลไทยกลางกรุงโตเกียว

10 พ.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดทำแผนโครงการส่งเสริมและเผยแพร่อำนาจละมุน (Soft Power) ของไทยในกรอบทวิภาคีประจำปี

'สุดาวรรณ' รมว.วธ. ไฟแรงชูนโยบาย'หนึ่งภูมิภาค หนึ่งมรดกโลก'

9 พ.ค.2567- ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางเข้ากระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นวันแรก ถือฤกษ์ดีเวลา 08.19 น. เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ วธ. ประกอบด้วย จุดที่ 1 ศาลตา- ยาย จุดที่ 2 ศาลพระภูมิ จุดที่ 3 พระพิฆเนศวร์

'รมว.สุดาวรรณ' เข้ากระทรวงวัฒนธรรม 9 พ.ค.นี้

6 พ.ค.2567 - น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ตนจะเดินทางเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤษภาคม2567 เวลา 8.00 น. ในส่วนการทำงานไม่ได้มีเรื่องอะไรที่หนักใจ

ชุมชนวัดพระธาตุผาเงา สัมผัสอัตลักษณ์บ้านสบคำ

อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถือเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทั้งลาว ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทยวน พม่า  เมี่ยน ม้ง ลั้วะ อาข่า ลาหู่ โดยเฉพาะในชุมชนวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ต.เวียง อ.เชียงแสน  เป็นชุมชนตั้งอยู่ในเขตประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนน้อย

ดนตรีภาษาสากล ถักทอมิตรภาพไทย-รัสเซีย

คณะนักร้องประสานเสียงเพลงพื้นบ้าน Pyatnitsky ซึ่งรวบรวมนักแสดงมากฝีมือ ทั้งนักร้อง นักเต้นรำ และนักดนตรีชั้นยอดจากภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซีย  จัดการแสดงเพลงรัสเซียในรูปแบบศิลปะดั้งเดิมสุดไพเราะ งดงามตระการตา ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย