แผ่นดินไหวขนาด 6.6 เขย่าพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เสียชีวิตเบื้องต้น 7 ราย

เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.6 แม็กนิจูดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทำให้อาคารต่างๆ สั่นสะเทือนในเมืองเฉิงตู ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงมาตรการล็อกดาวน์จากการระบาดโควิด-19 และประชาชนต้องอยู่แต่ในที่พัก

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 กล่าวว่า สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) รายงานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.6 แม็กนิจูดทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเมื่อวันจันทร์

แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นที่ความลึก 10 กิโลเมตรในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ห่างจากเมืองคังติ้ง ของมณฑลเสฉวน ประมาณ 43 กิโลเมตร ตามรายงานของยูเอสจีเอส

ประชาชนสัมผัสได้ถึงแรงสั่นสะเทือนในเฉิงตู เมืองหลวงของมณฑลที่อยู่ใกล้เคียง รวมถึงมหานครฉงชิ่ง และมีบันทึกการเกิดอาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้งในพื้นที่ใกล้เคียง ตามรายงานจากสื่อทางการของจีน

เจ้าหน้าที่กู้ภัยกว่า 500 คนเดินทางไปยังศูนย์กลางของแผ่นดินไหวเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ขณะที่ถนนหลายสายถูกปิดกั้นจากดินถล่มที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือน ตามรายงานของสถานีโทรทัศน์ ซีจีทีเอ็น ซึ่งล่าสุดมีรายงานงานว่าพบผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้แล้ว 7 ราย

เฉิงตูในเวลานี้ กำลังเผชิญทั้งคลื่นความร้อน และการระบาดของโรคโควิดจนต้องล็อกดาวน์ และยังถูกซ้ำเติมจากแผ่นดินไหวครั้งล่าสุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” ห่วงใยแรงงานไทยจากเหตุแผ่นดินไหว หวั่นเกิดสึนามิในญี่ปุ่น

วันที่ 2 มกราคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.6 แมกนิจูดโดยมีศูนย์กลางในพื้นที่เขตโนโตโจ จังหวัดอิชิคาวะ ทางตอนกลางของญี่ปุ่น

นายกฯ เกาะติดแผ่นดินไหวที่กานซู

นายกฯ ติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลกานซูของจีนอย่างใกล้ชิด ห่วงพี่น้องคนไทยในพื้นที่ สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

รอยเลื่อนเชียงตุงเขย่าถึงอีสาน เช็คแผนรับมือ'แผ่นดินไหว'

จากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ในเมียนมา เช้าวันที่ 17 พ.ย. 2566   ที่ผ่านมา ถือเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อน kengtung fault หรือคนไทใหญ่ เรียกว่า “รอยเลื่อนเก่งตุง”