'ลิสบอน' ปลายทางร่วมของยูเครนและรัสเซีย

AFP

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ลิสบอนเคยเป็นสถานที่หลบภัยและเมืองแห่งความหวังของผู้ลี้ภัย ปัจจุบันชาวยูเครนและรัสเซียยังคงนั่งอยู่ร่วมกัน เพียงแต่วันนี้พวกเขาไม่คิดอยากเดินทางไปต่อที่สหรัฐอเมริกาแล้ว

เมื่อครั้งที่ทวีปยุโรปถูกไฟสงครามลามเลีย ผู้คนนับหมื่นพากันหลั่งไหลเข้าสู่เมืองหลวงลิสบอนของโปรตุเกส ทั้งชาวยิว นักคิด นักเขียน รวมถึงชาวยิวที่เป็นนักคิดนักเขียน และผู้คนที่พอมีทุนทรัพย์แต่จำเป็นต้องละทิ้งถิ่นฐานเนื่องจากถูกห้ามประกอบอาชีพหรือเป็นอันตรายต่อชีวิต พวกเขามารวมตัวกันที่นี่ เมืองที่เชื่อมโยงกับส่วนที่เหลือของยุโรปด้วยเส้นทางรถไฟ

ลิสบอนในยุคทศวรรษ 1930 เคยเป็นเพียงเมืองชนบทเล็กๆ มีประชากรอยู่ราว 600,000 คน จู่ๆ ผู้ลี้ภัยจำนวนมากพากันมาพักพิง สุมตัวกันอยู่ตามคาเฟ่ จากเมืองเล็กๆ เริ่มขยายตัวเป็นเมืองใหญ่ เต็มไปด้วยความหวัง และภาษาแปลกปลอม คนท้องถิ่นอ้าแขนต้อนรับผู้ลี้ภัยอย่างดี เหมือนเช่นทุกวันนี้ที่ยินดีต้อนรับคนแปลกหน้าหรือคนจากแดนไกล ลิสบอนคือ เอลโดราโดของคนทุกเชื้อชาติ แผ่กระจายไปทั่วทั้ง 53 เขตของเมือง และตามจัตุรัสต่างๆ

โปรตุเกสประกาศตัวเป็นกลางเมื่อตอนเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยเหตุผลเพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างฝ่ายอักษะและพันธมิตรเก่าที่มีอังกฤษ ซึ่งข้อตกลงทางทหารรับรองว่า ผู้ลี้ภัยจะได้รับอนุญาตให้ผ่านแดนไปยังประเทศที่สามได้ แต่อย่างไรก็ตามโปรตุเกสจะยินยอมให้ใครก็ตามเข้าประเทศได้ก็ต่อเมื่อคนนั้นแสดงวีซ่าสำหรับประเทศปลายทางแล้วเท่านั้น ส่วนวีซ่า ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ยื่นขอไม่ที่สเปนก็ฝรั่งเศส และส่วนใหญ่จะใช้เวลานานกว่าจะได้กันครบจำนวนคน

หลังจากฝรั่งเศสถูกนาซีเยอรมันยึดครอง และสเปนตกอยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มฟาสซิสต์ โปรตุเกส-ประเทศชายฝั่งแอตแลนติกจึงกลายเป็นท่าเรือเสรีสุดท้าย ที่เป็นความหวังสำหรับผู้ลี้ภัยในการเดินทางไปอเมริกา ผู้ลี้ภัยจับกลุ่มกันตามร้านกาแฟในลิสบอน บริเวณด้านหน้าสำนักงานบริษัทเดินเรือ รอคอยเพื่อจะซื้อตั๋วโดยสารให้ได้ “ลิสบอนกลายเป็นทดสอบความอดทน” นักเขียนชาวเยอรมันเคยเขียนบันทึก “วีซ่ายังไม่ได้ เงินก็ใกล้หมด สำหรับใครที่ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบนักท่องเที่ยวได้ ชาวโปรตุเกสได้เตรียมทัณฑสถานไว้พร้อมแล้ว รัฐบาลขอให้ทุกคนออกจากโปรตุเกสภายใน 30 วัน หลังจากนั้นแล้วจะมีการติดตาม จับกุม ใบหน้าและบทสนทนาที่สิ้นหวังก่อตัวให้เห็นในคาเฟ่”

ทุกวันนี้ผู้ลี้ภัยหวนกลับมาที่เมืองนี้อีกแล้ว-เช่นกัน พวกเขาเดินทางมาจากรัสเซีย จากยูเครน และจับกลุ่มสุมตัวกันอยู่ตามคาเฟ่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและชื่อเสียงในอดีต ไม่ว่าผู้ชาย ผู้หญิง หรือคู่รัก บางคนก็มาพร้อมกับรถยนต์ส่วนตัวที่ติดป้ายทะเบียนยูเครนหรือรัสเซีย พวกเขามาที่เมืองนี้ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กันคือ ลี้ภัยจากสงคราม และการมีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยความหวัง

จะแตกต่างจากเหตุการณ์ในอดีตอยู่บ้างตรงที่…เบื้องหลังเส้นขอบฟ้าไกลตาคืออเมริกา ซึ่งไม่มีใครอยากไปที่นั่นอีกต่อไปแล้ว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘นพดล’ ชี้ข่าวดีหาก ‘อิหร่าน’ ยุติโจมตี ‘อิสราเอล’ ห่วงคนไทยขอให้ฟังคำเตือนสถานทูต

กรรมาธิการห่วงใยชีวิตของคนไทยเกือบ 30,000 คนที่ทำงานในประเทศอิสราเอล และเข้าใจว่ามีแรงงานบางส่วนเริ่มเดินทางกลับไปทำงานเพราะต้องมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

‘พีระพันธุ์’ สั่งปลัดพลังงาน จับตาผลกระทบด้านพลังงาน สงคราม ’อิหร่าน-อิสราเอล’

รมว.พลังงานเผยสั่งการให้ท่านปลัดฯและหน่วยงานทุกหน่วยของกระทรวงพลังงานติดตามรายงานสถานการณ์ คาดการณ์ผลกระทบและแนวทางในการรับมือด้านพลังงานตลอดเวลาเช่นกัน

'เศรษฐา' เผยได้รับการยืนยัน 'เมียวดี' ยังไม่แตก สั่งกองทัพ-กต. สื่อสารให้ชัดเจน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์สู้รบระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) และเคเอ็นยู พีซี กลุ่มกะเหรี่ยงสันติภาพ