WHOค้านห้ามเดินทางแบบเหวี่ยงแห ญี่ปุ่นตื่นไวรัสระงับจองเที่ยวบิน

องค์การอนามัยโลกคัดค้านการออกมาตรการห้ามการเดินทางแบบเหวี่ยงแห เตือนอาจกระทบถึงการปกปิดข้อมูล แนะกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเลี่ยงการเดินทาง ด้านญี่ปุ่นสั่งระงับการจองตั๋วเครื่องบินเข้าประเทศตั้งแต่วันพุธ ซาอุดีอาระเบีย-บราซิล-ไนจีเรียพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรายแรก

ผู้โดยสารที่สนามบินระหว่างประเทศเคปทาวน์ของแอฟริกาใต้ หลายประเทศห้ามนักเดินทางจากแอฟริกาใต้เข้าประเทศหลังการตรวจพบไวรัสโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์โอไมครอนเมื่อสัปดาห์ก่อน (Getty Images)

รายงานเอเอฟพีและรอยเตอร์เมื่อวันพุธที่ 1 ธันวาคม 2564 กล่าวว่า นับแต่แอฟริกาใต้ประกาศว่าพบไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์โอไมครอนเมื่อสัปดาห์ก่อน จนถึงขณะนี้มีมากกว่า 12 ประเทศและดินแดนแล้วที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อ รวมถึงออสเตรเลีย, อังกฤษ, แคนาดา, อิสราเอล, อิตาลี และโปรตุเกส โดยล่าสุดในวันพุธ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขซาอุดีอาระเบียเปิดเผยว่า ตรวจพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรายแรกในประเทศ เป็นพลเมืองซาอุดีอาระเบียที่เดินทางกลับมาจากแอฟริกาเหนือ

ก่อนหน้านั้นในวันเดียวกัน ไนจีเรีย ซึ่งเป็นประเทศแอฟริกาตะวันตกที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปนี้ กล่าวว่าพบผู้เดินทางจากแอฟริกาใต้รายหนึ่งติดไวรัสโอไมครอน และเมื่อวันอังคาร บราซิลเป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาที่พบผู้ติดเชื้อ โดยเป็นผู้เดินทาง 2 รายจากแอฟริกาใต้

ด้านญี่ปุ่น ซึ่งประกาศเมื่อวันอังคารว่าพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรายแรกของประเทศเป็นชายชาวนามิเบีย และรัฐบาลเริ่มปิดพรมแดนห้ามชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศ ยกเว้นผู้ที่มีถิ่นพำนักถาวรและผู้ที่ได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ ในวันพุธ เจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคมเผยกับเอเอฟพีว่า ญี่ปุ่นได้ขอไปยังสายการบินต่างๆ ระงับการจองตั๋วเครื่องบินเดินทางเข้าประเทศเป็นเวลา 1 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม

ทางการญี่ปุ่นเพิ่งประกาศในวันพุธว่าตรวจพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรายที่ 2 เป็นนักเดินทางที่มาจากเปรู ฮิโรคาซู มัตสึโน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า ญี่ปุ่นจะขยายมาตรการจำกัดการเดินทางครอบคลุมชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักถาวรที่มาจาก 10 ประเทศแอฟริกา เริ่มมีผลตั้งแต่เที่ยงคืนวันพุธ

ส่วนฮ่องกง ซึ่งพบผู้เดินทางที่ติดเชื้อเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประกาศขยายข้อจำกัดการเดินทางครอบคลุมบุคคลที่ไม่ได้มีถิ่นพำนักในฮ่องกงเพิ่มเติมอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น, โปรตุเกส และสวีเดน เริ่มมีผลวันศุกร์นี้

มาตรการจำกัดการเดินทางของหลายประเทศมีออกมาใหม่ทั้งที่องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) เตือนเมื่อวันอังคารว่า การห้ามเดินทางแบบ "เหวี่ยงแห" เสี่ยงที่จะก่อผลเสียมากกว่าผลดี และว่า นับตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน มีราว 56 ประเทศแล้วที่ใช้มาตรการจำกัดการเดินทาง

คำแนะนำด้านการเดินทางของดับเบิลยูเอชโอเตือนว่า ท้ายที่สุดแล้ว คำสั่งห้ามแบบเหวี่ยงแหอาจส่งผลให้ประเทศต่างๆ ไม่ยอมแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสที่กำลังวิวัฒนาการอยู่นี้ กระนั้น ดับเบิลยูเอชโอแนะนำเช่นกันว่า ผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 รวมถึงผู้ที่อายุเกิน 60 ปีที่มีภาวะเสี่ยง ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่พบการแพร่เชื้อไวรัสในชุมชน

ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการดับเบิลยูเอชโอ กล่าวว่า เป็นเรื่องเข้าใจได้ที่ประเทศต่างๆ พยายามหาทางปกป้องพลเมืองของตนต่อไวรัสที่เรายังไม่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ แต่เขาขอให้ใช้มาตรการที่ลดความเสี่ยงตามสัดส่วนและมีเหตุผล.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย

ปรบมือรัวๆ ‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาด ‘โควิด’ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง

อาจารย์หมอจุฬาฯ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง แต่ขอให้ตระหนักว่าการติดเชื้อในระหว่างใช้ชีวิตประจำวันยังมีกันอยู่ต่อเนื่อง การเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องที่น่าพิสมัย ไม่ประมาท

สยอง! 'หมอธีระวัฒน์' เผยพบแท่งย้วยสีขาว คล้ายหนวดปลาหมึก ในคนที่ฉีดวัคซีนโควิด mRNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ภาพและข้อ

‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาดโควิดรอบสัปดาห์ ผู้ป่วยปอดอักเสบมากขึ้น

จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ ถือว่าสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2023 เป็นต้นมา และเป็นการเพิ่มอย่างต่อเนื่องถึง 7 สัปดาห์แล้ว