COP28 เห็นพ้องบรรจุความสำคัญด้านอาหารและเกษตรกรรมไว้ในแผนสภาพภูมิอากาศ

ประเทศต่างๆ กว่า 130 ประเทศเห็นพ้องร่วมกันในการจัดลำดับความสำคัญด้านอาหารและการเกษตรไว้ในแผนสภาพภูมิอากาศระดับสากลในการประชุม COP28 ที่ดูไบ

ภาพถ่ายหมู่ของบรรดาผู้นำและผู้แทนจากทั่วโลกที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติ COP28 ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม (Photo by Giuseppe CACACE / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2566 กล่าวว่า การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 หรือ COP 28 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค.2566 ได้บทสรุปสำคัญบางประการในวันแรกของการประชุม

กว่า 130 ประเทศเห็นพ้องร่วมกันว่าจะบรรจุความสำคัญด้านอาหารและการเกษตรไว้ในแผนสภาพภูมิอากาศระดับสากล

ที่ประชุมเล็งเห็นว่า ระบบการผลิตอาหารซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณหนึ่งในสามที่มนุษย์สร้างขึ้น กำลังถูกคุกคามมากขึ้นจากภาวะโลกร้อนและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

จึงเป็นที่มาให้ 134 ประเทศที่ผลิตอาหารได้กว่า 70% ของปริมาณบริโภคทั่วโลก ได้ร่วมลงนามในปฎิญญาที่ระบุว่าประเทศต่างๆ จะเพิ่มความพยายามในการบูรณาการระบบอาหารเข้ากับแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

"ไม่มีทางที่จะบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศปารีสได้โดยไม่กล่าวถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบอาหาร, เกษตรกรรม และสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน" มาเรียม อัลเฮรี รัฐมนตรีกระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวในฐานะเจ้าภาพการประชุม

นอกจากนี้ ประเทศต่างๆ จะพยายามสนับสนุนเกษตรกรและผู้ผลิตอาหารที่มีความเสี่ยงในปัจจัยต่างๆ รวมถึงการระดมทุนเพิ่มขึ้น, พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น เช่นเดียวกับการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า

ที่ประชุมยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการฟื้นฟูที่ดิน, การเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการลดความสูญเสียด้านอาหาร

ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, จีน และบราซิล ต่างเห็นพ้องร่วมลงนามด้วยเช่นกัน

แถลงการณ์ของที่ประชุม COP28 ระบุว่า 134 ประเทศเป็นที่อยู่อาศัยของประชากร 5.7 พันล้านคน และคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 3 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจากระบบอาหารทั่วโลก หรือคิดเป็น 25% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม แม้บรรดาผู้สังเกตการณ์ต่างยกย่องปฎิญญาดังกล่าวของที่ประชุมฯ แต่ก็ยังมีความกังวลต่อประเด็นบทบาทของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นปัจจัยหลักของปัญหาสภาพอากาศ เนื่องจากไม่มีการกล่าวถึงประเด็นนี้โดยตรง ซึ่งถือเป็นการละเลยอย่างเห็นได้ชัด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พปชร. เดินหน้าเสนอร่างพรบ.ลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิต เข้าสภาฯ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พรรคพลังประชารัฐ นำโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เตรียมที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ลดก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิตพ

รัฐบาลปลื้ม ‘ข้าวไทย’ กระแสตอบรับดีในงานแสดงสินค้า Gulfood 2024 ที่ดูไบ

โฆษกรัฐบาล เผย ข้าวไทยกระแสตอบรับดีในงานแสดงสินค้า Gulfood 2024 ที่ดูไบ เชื่อมั่นเพิ่มมูลค่าตลาดข้าวไทยในตะวันออกกลาง รัฐบาลวางแนวทางส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยตลอดปี