
ภายหลังการเจรจาอันยาวนาน ในที่สุดสหภาพยุโรปได้ข้อตกลงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้แล้วในหลายพื้นที่
ในอนาคต กฎหมายที่เข้มงวดยิ่งขึ้นจะถูกนำควบคุมการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในสหภาพยุโรป ตัวแทนเจรจาจากรัฐสภายุโรปและประเทศในสหภาพยุโรปได้สรุปข้อตกลงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเมื่อเย็นวันศุกร์ที่กรุงบรัสเซลส์ หลังจากมีการเจรจากันมาอย่างยาวนาน
รัฐสภาสหภาพยุโรปกล่าวว่า นี่คือ “กฎหมาย AI ที่ครอบคลุมฉบับแรกของโลก” เทียร์รี เบรอต็อง-กรรมาธิการตลาดภายในของสหภาพยุโรปโพสต์ข้อความในแพลตฟอร์ต X “นี่คือประวัติศาสตร์! สหภาพยุโรปจะเป็นทวีปแรกสุดที่ตั้งกฎเกณฑ์ชัดเจนสำหรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์”
ปัญญาประดิษฐ์มักจะหมายถึงแอพลิเคชันที่อาศัยการเรียนรู้ของเครื่อง ซึ่งซอฟต์แวร์จะกรองข้อมูลจำนวนมากเพื่อจับคู่และสรุปผลจากแอพลิเคชันเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรมดังกล่าวสามารถประเมินภาพจากเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ได้เร็วกว่าและมีความแม่นยำมากกว่ามนุษย์ แม้กระทั่งรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองยังพยายามประเมินพฤติกรรมของผู้ใช้ถนนรายอื่นด้วย และแชทบอทหรือเพลย์ลิสต์อัตโนมัติจากบริการสตรีมมิงก็ทำงานร่วมกับ AI ได้เช่นกัน
คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเสนอกฎหมายดังกล่าวในเดือนเมษายน 2021 โดยแบ่งระบบ AI ออกเป็นกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ยิ่งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานมีมากเท่าใด ข้อกำหนดก็จะมีสูงขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังคาดหวังว่ากฎเกณฑ์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในแนวทางเดียวกันทั่วโลกด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้การเจรจาเกือบจะล้มเหลว เนื่องจากคำถามในการควบคุมสิ่งที่เรียกว่า “แบบจำลองพื้นฐาน” เป็นโมเดล AI ที่ทรงพลังมากซึ่งได้รับการฝึกฝนจากชุดข้อมูลที่หลากหลาย สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้งานอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึง GPT
ก่อนหน้านี้เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลีต่างเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้งาน AI เฉพาะด้านเท่านั้น แต่ไม่ใช่เทคโนโลยีพื้นฐานในตัวมันเอง รวมทั้งกฎเกณฑ์ที่วางแผนไว้สำหรับการจดจำใบหน้าโดยใช้ AI เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงของชาติ ก็ทำให้เกิดข้อโต้แย้งขึ้นด้วยเช่นกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สภายุโรป' ประณาม 'ไทย' เขย่า FTA นักวิชาการมธ. ชี้น่ากังวลมาก ยกเคส 'ยึดอำนาจ' ทำเจรจาการค้าสะดุด
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชี้ “รัฐสภายุโรป” ประณาม “ไทย” กรณีการส่งตัวอุยกูร์กลับจีน มีความน่ากังวลอย่างมาก เหตุ EU ยึดสิทธิมนุษยชน-ประชาธิปไตย เป็นหลักการเจรจาทางการค้า ยกเคสปี 57 การทำกรอบความตกลง PCA เคยสะดุดจากรัฐประหาร ชี้บรรยากาศพูดคุยที่ดีกับกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า อาจไม่เพียงพอสำหรับบรรลุ FTA เพราะรัฐสภายุโรปมีสิทธิในการตัดสินใจด้วย
'ทวี' ยันส่งอุยกูร์กลับจีน ตัดสินใจถูกต้องยึดประโยชน์ประชาชน เมินโต้ต่างชาติประณาม
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสภายุโรปลงมติประณามไทยส่งกลับอุยกูร์กลับว่า ขอให้รอฟังกระทรวงต่างประเทศชี้แจง ทั้งนี้ประเทศไทยเรามีเอกราชและอธิปไตย
ผู้นำฝ่ายค้าน ห่วงภาพลักษณ์ไทย ชี้ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน ก่อนจะพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจ
"เท้ง" ห่วงภาพลักษณ์ไทย หลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรจำกัดวีซ่าเจ้าหน้าที่รัฐบาล ชี้หากยึดหลักสิทธิมนุษยชน ประเทศไหนก็ว่าไทยไม่ได้ เตือนอย่าใช้วิธีเจรจาหลังบ้าน หลัง “ทักษิณ” แนะคุยทูต EU
'นันทิวัฒน์' ฟาดกลับ รัฐสภายุโรป อย่าเสือก! แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า อย่าเสือก
'กุนซือใหญ่' ประณามรัฐสภายุโรป แทรกแซงกิจการภายในของไทย พ่วงคนไทยขายชาติ
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ) โพสต์เฟซบุ๊กว่า