เมื่อน้ำ(ตา)และหนี้ท่วมชาวนา

ปี 2563-2564 ถือเป็นปีแห่งวิบากกรรมซ้ำซ้อนของพี่น้องชาวนาและเกษตรกรอย่างแท้จริง เนื่องจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่ทันจางหาย ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวราคาตกต่ำ วิกฤตระลอกใหม่จากปัญหาอุทกภัยก็เข้ามาซ้ำเติม จากลมมรสุมพายุ 6 ลูก ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2564 ได้สร้างความเสียหายและกระทบพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศกว่า 5.37 ล้านไร่ คิดเป็นมูลค่า 8,000 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าความเสียหายส่วนใหญ่ร้อยละ 83 เป็นมูลค่าความเสียหายต่อผลผลิตข้าว ซึ่งอยู่ในที่ลุ่ม และพืชผักร้อยละ 17 คาดว่า GDP ภาคเกษตรปี 2564 ลดลงประมาณ 4,190-5,730 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.2-0.5 (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร)

ทั้งนี้ภาครัฐได้กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการช่วยเหลือและเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมหรือภัยพิบัติ ในปี 2564 เฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะสรุปข้อมูลความเสียหายและจ่ายเงินเยียวยาภายใน 2 เดือนหลังน้ำลด ดังนี้  กรณีพื้นที่ทำการเพาะปลูกมีพืชตายหรือเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟู หรือเยียวยาให้กลับสู่สภาพเดิมได้อีก ให้ช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เสียหายจริง ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ อาทิเช่น ข้าวไร่ละ 1,340 บาท พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท ไม้ผลไม้ยืนต้น และอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือและเยียวยาชาวนาและเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วม ต้องไม่หยุดเพียงแค่เยียวยาความเสียหายบางส่วน ซึ่งอาจไม่ถึงครึ่งของต้นทุนการผลิต ค่าไถ ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าหว่าน ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่ชาวนาได้ลงทุนลงแรง เฉลี่ยไร่ละ 3,000-4,000 บาท กรณีชาวนาเช่าเฉลี่ยไร่ละ 5,000-6,000 บาท ความเสียหายจากภัยพิบัติของชาวนาหมายถึงภาระหนี้สินและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทันที และชาวนาไม่ต้องการผิดนัดชำระหนี้  รู้สึกวิตกกังวลใจเป็นอย่างมาก กลัวว่าเจ้าหนี้จะฟ้องและถูกยึดที่นา จึงเลือกก่อหนี้ใหม่เพื่อใช้หนี้เก่า ชาวนาบางรายในภาวะปกติ ก็จ่ายได้เพียงดอกเบี้ย พอไม่มีกินก็ต้องไปกู้มาใหม่อีก

เมื่อสำรวจมาตรการและนโยบายช่วยเหลือภาระหนี้สินชาวนาและเกษตรกรในภาวะวิกฤตของภาครัฐ ทั้งผลกระทบโควิด และผลกระทบน้ำท่วมที่ผ่านมา หนึ่งในมาตรการสำคัญที่ภาครัฐนำมาช่วยเหลือและเยียวยาเกษตรกร คือ การพักชำระหนี้ โดยการพักชำระหนี้และสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติม อาทิเช่น ล่าสุด ธ.ก.ส. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ปี 2564 ดังนี้ 1) มาตรการพักชำระหนี้ โดยการพักชำระหนี้ไม่เกิน 12 เดือน และไม่คิดดอกเบี้ยปรับ 2) มาตรการสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงินกู้รายละไม่เกิน  50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน และระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 3 ปี

จะเห็นได้ว่าโครงการพักชำระหนี้ในสถานการณ์วิกฤตและเศรษฐกิจไม่ดีของภาครัฐที่ผ่านมา เป็นเพียงการช่วยให้ชาวนามีโอกาสพักหนี้ ช่วยยืดเวลาการชำระหนี้เงินต้น แต่ระหว่างหยุดพักก็จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยต่อไป สำหรับชาวนาบางรายช่วงเวลาปกติก็สามารถชำระได้เพียงดอกเบี้ยอยู่แล้ว ซึ่งเท่ากับอาจจะไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหาหนี้สินของชาวนาโดยตรง โดยเฉพาะชาวนาที่มีหนี้เดิมอยู่แล้ว ยิ่งทำให้ไม่สามารถหลุดพ้นจากภาวะหนี้สินได้เลย หลายครอบครัวต้องเข้าสู่ระบบการขอสินเชื่อเพิ่มหรือขอปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง นั่นเป็นเพราะชาวนาไทยส่วนใหญ่มองว่าตนเองนั้นมีทางเลือกที่จะสร้างรายได้ไม่มากนัก และมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาและขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน

ขณะที่ตัวชาวนาเองก็ไม่สามารถปลดหนี้ของตนเองได้ และขาดศักยภาพในการพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง (สูงวัย มีปัญหาสุขภาพ ต้นทุนสูง หนี้สูง รายได้ต่ำ) ดังนั้นการช่วยเหลือภาระหนี้ชาวนาในภาวะวิกฤต จำเป็นที่ภาครัฐต้องมีแนวทางนโยบายการพักชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ที่มีประสิทธิภาพกับเกษตรกร และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงมีเป้าหมายไกลไปถึงการฟื้นฟูอาชีพและรายได้ สร้างความมั่นคงในชีวิตให้ชาวนาและเกษตรกรผู้ประสบภัย มีแผนสนับสนุนการปลูกพืชระยะสั้นหลังน้ำท่วม เพื่อเป็นรายได้ชดเชยความเสียหายของพืชผลจากน้ำท่วมได้โดยเร็ว โดยให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด รวมไปถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำระดับไร่นา การปรับระบบการผลิต การปรับตัวเพื่อรับมือและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในระยะยาว

อารีวรรณ คูสันเทียะ

มูลนิธิชีวิตไท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่อเลื่อนประชามติ รอแก้กฎหมาย ร่างรธน.ฉบับใหม่ ต้องไม่จุดไฟความขัดแย้ง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา รับทราบ รายงานผลการดำเนินงานของ”คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ

บทธรรมดับโลกร้อน .. ที่นักปกครองต้องอ่าน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. โลกกำลังเข้าสู่ห้วงธรรมวิกฤต.. ที่มนุษยชาติประพฤติตนอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ มีความโลภที่รุนแรงและราคะความกำหนัดที่ผิดธรรม .. เป็นส่วนใหญ่

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..