นโยบายสาธารณะว่าด้วยเรื่องของสินทรัพย์ดิจิทัลและการกำกับดูแล

Bitcoin (Photo by Justin TALLIS / AFP)

เดือนที่แล้ว (พ.ย. 65) ผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน Blockchain Thailand Genesis 2022 ที่ สยามพารากอน มีเวทีหนึ่งพูดถึงเรื่อง Tokenization คิดว่าน่าสนใจจะมาเล่าให้พวกเราเห็นภาพใหญ่ของ ecosystem ทิศทาง และการใช้งานในระดับแนวหน้า

Tokenization อาจจะแปลเป็นไทยได้ว่า

A. เป็นกระบวนการที่ทำให้สินทรัพย์ในโลกความเป็นจริง (เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ นาฬิกาหรู) กลายเป็นมีตัวแทนในรูปแบบดิจิทัล หรือ

B. กระบวนการสร้างสินทรัพย์ดิจิทัลขึ้นมาและให้อยู่ในโลกดิจิทัลอย่างเดียว หรือ

C. กระบวนการเชื่อมโยงโลกสินทรัพย์ที่เป็นดิจิทัลล้วน ๆ เข้ากับสิ่งที่มีอยู่ในโลกกายภาพ

ถ้าคำสั้น ๆ สำหรับคนในวงการเรียก ก็ 3 ขั้นตอน คือ Invest (ลงลทุน), Earn (รับผลตอบแทน), Experience (เก็บเกี่ยวประสบการณ์)

สินทรัพย์ดิจิทัล มี กฎหมายออกมาดูแลตั้งแต่ปี 2561 แล้ว (ผลักดันโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต.)  กฎหมายนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561”

ตัว พรก. จะครอบคลุมเพียง 2 กรณี คือ

ก. การระดมทุนด้วยการเสนอขาย Token Digital (Investment Token) และ

ข. การให้บริการเป็นตัวกลางซื้อขายแลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ตาม โลกของ Token Digital ณ เวลานี้ ไปไกลกว่านั้นมาก คือ มีอีก 2 ประเภทที่กฎหมายยังดูแลไปไม่ถึง แต่เริ่มใช้งานกันจริงในภาคธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว คือ Utility Token (ใช้กันมากแล้ว) กับ Asset Token (เป็นอนาคตที่มีศักยภาพจะเกิดขึ้น)

สรุปชนิดของ Token

1. Investment Token (มีกฎหมายออกมาควบคุมแล้ว)

2. Utility Token (ยังไม่มีกฎหมายควบคุม)

3. Asset Token (ยังไม่มีกฎหมายควบคุม)

Investment Token คือ การสร้าง Token ขึ้นมา (ในรูปของ Coin หรือ NFT ก็ได้แล้วแต่กรณี) เพื่อเสนอขายให้คนทั่วไป คล้ายเสนอขายหุ้นกู้ โดยผู้สร้าง Token สัญญาว่าจะแบ่งปันส่วนแบ่งรายได้ (หรือกำไร) ให้กับผู้ถือ ตัวอย่างเช่น มี apartment แห่งหนึ่ง สร้าง Token มาขาย โดยสัญญาว่าจะมีส่วนแบ่งรายได้ค่าเช่าให้ ซึ่งเป็นรายได้ที่ค่อนข้างประเมินได้ชัดเจนและมีจำนวนคงตัวต่อเนื่อง ข้อดีคือ ผู้สร้าง Token ได้เงินไปใช้จ่ายลงทุน ส่วนผู้ถือ Token ก็ได้รับส่วนแบ่งรายได้

Utility Token เป็น Token ที่สร้างเพื่อให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกค้า เช่น เอา NFT

หรือ Coin มาใช้เป็นส่วนลด มาใช้พักโรงแรม (10 คืนต่อปี) มาใช้แลกสิทธิซื้อสินค้า Premium หรือ ซื้อตั๋วหนังพิเศษที่จะขึ้นชื่อคนซื้อตั๋วให้บนจอตอนฉายหนังว่าเป็น exclusive sponsor หรือ ตั๋วดูคอนเสิร์ตที่มีสิทธิได้ถ่ายรูปคู่กับนักร้อง ที่ตนคลั่งไคล้ ฟังดูเท่ห์และตื่นเต้นทีเดียวสำหรับลูกค้า

  • Asset Token เป็น Token ที่สร้างเพื่อกำหนดว่าผู้ถือมีสิทธิในสินทรัพย์ที่มีตัวตนจริงด้วย เช่น ที่ดิน บ้าน รถ แหวนเพชร นาฬิกาหรู แต่ตรงนี้กฎหมายยังไม่รองรับ

หมายความว่าถ้ามีเหตุพิพาทกันจะใช้ Token เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดียังไม่ได้ ไม่เหมือนมีโฉนด หรือ สมุดทะเบียนรถยนต์ ที่กฎหมายรองรับสิทธิเต็มรูปแบบ

ที่นี้ … ในทางปฏิบัติ อาจจะผสมผสานกันทั้ง Investment Token และ Utility Token คือ Invest (ลงทุนซื้อ Token) แล้ว Earn (รับส่วนแบ่ง) แล้ว ก็ Experience (ดื่มด่ำในสิทธิพิเศษที่ได้รับ)

Utility Token จะเป็นอะไรที่เปิดให้คิดนวัตกรรมได้เยอะแยะมากมาย เช่น เอาไปใช้กับคาร์บอนเครดิต คือ ใครลดคาร์บอนได้ (เช่น ปลูกต้นไม้ หรือ เอาขยะมารีไซเคิล) ก็จะได้ Token กลับไป ซึ่งก็สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยน Token กันระหว่างสมาชิกได้อีก หรือ เอาไปแปลงเป็นสิทธิประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ส่วนลดค่าเติมน้ำมัน หรือ ซื้อสินค้า หรือ บริการ

ในทางเทคนิค Utility Token สามารถแลกเปลี่ยนข้ามระหว่างเครือข่ายสินค้าและบริการได้ แต่ในทางปฏิบัติ ณ ปัจจุบันยังทำได้ยาก เพราะต้องมีการเจรจาข้ามธุรกิจและประเมินว่า Token ในเครือข่ายหนึ่งควรมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่ในอีกเครือข่ายธุรกิจหนึ่ง และมูลค่านั้นควรต้องคงที่หรือ แปรเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ ยังต้องระวังเรื่องแต่ละเครือข่ายธุรกิจ จะไปขัดแย้งผลประโยชน์ หรือ แย่งลูกค้ากันเองหรือไม่ หากอนุญาตให้ถ่ายโอน Utility Token

ทั้งนี้หาก Utility Token สามารถโอนย้ายใช้งานข้ามไปมาได้อิสระ Token เหล่านี้ก็จะยิ่งมีมูลค่ามาก เช่น token จาก carbon credit สามารถเอาไปซื้อกาแฟได้ทุกร้าน ทานอาหารร้านไหนก็ได้ ซื้อของใช้ในร้านสะดวกซื้อ หรือช้อปปิ้งที่ห้างไหนก็ได้

การใช้ Blockchain เก็บข้อมูล Token จะมีข้อดี คือ เอื้อให้สามารถถ่ายโอนไปมาได้ง่ายและน่าเชื่อถือกว่ากรณีการสะสมแต้มที่แต่ละธุรกิจทำกันเองผ่านฐานข้อมูลที่ตัวเองดูแลแบบเป็นศูนย์กลางโดยตัวเอง

การทำ Investment Token จะเรียกอีกอย่างว่า การทำ ICO (Initial Coin Offering) ก็ได้

ธุรกิจไหนอยากทำ ก็มีบริษัทกฎหมาย และ ICO Portal มากมาย ที่พร้อมช่วยดำเนินการพวกนี้ (ผมไปเจอมาเยอะเลยในงาน)

ขั้นตอนคร่าว ๆ คือ จะต้องเขียน ICO White Paper (ประมาณว่าหนังสือชี้ชวนการลงทุน) ออกมา แล้วตอน implement ตัว Token ก็ต้องดูให้ระบบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นไปตามที่ประกาศไว้ใน White Paper (ซึ่งการทำจริงจะใช้ Smart Contract ของ Blockchain)

สำหรับกรณี Asset Token เท่าที่ทราบยังไม่เห็นกฎหมายประเทศไหนรองรับ  แต่ในอนาคต รัฐอาจจะออกกฎหมายมารับรองเหมือนที่รับรองโฉนดที่ดิน หรือ รับรองการจดทะเบียนระยนต์ ทะเบียนอสังหากันไปเลย เพื่อให้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ คือ หมายความว่า ต่อไปอาจจะมีการออก NFT เพื่อใช้แทนที่โฉนดที่ดิน

หรืออีกแนวทางหนึ่งสำหรับ Asset Token คือ มีนิติบุคคลที่เป็นคนกลาง (ผมเรียกเองว่า “สถาบันดิจิทัลภัณฑารักษ์แห่งชาติ” ไปก่อน) รับดูแลทะเบียนผู้ถือ NFT ของอสังหาริมทรัพย์ และ สังหาริมทรัพย์ ต่าง ๆ ให้ แล้วกฎหมายแค่รับรอง ให้นิติบุคคลนี้เป็นผู้ชี้ขาดว่าใครคือผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน NFT หรือ ทรัพย์สินนั้น  เมื่อถึงจุดนั้นหากข้อมูลกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ถูกจัดเก็บใน Blockchain สาธารณะ ที่ไม่มีใครไปแอบแก้ไขโดยพละการหรือมิชอบได้ ก็จะนำไปสู่สังคมโปร่งใส ตรวจสอบได้ … น่าตื่นเต้นที่จะติดตามความก้าวหน้าโลกของสินทรัพย์ดิจิทัลและนโยบายสาธารณะกันต่อไป

หมายเหตุ พอดีได้บัตรฟรีเข้างานมา และพอไปถึงงานก็มีคนให้บัตร VIP อีก จึงได้มีโอกาสนำเรื่องมาเล่าให้พวกเราฟังเป็นความรู้เกี่ยวกับงานดังนี้ ในงานมีผู้เยี่ยมชมต่างชาติประมาณ 30% และมีวิทยากรจากต่างประเทศ มาร่วมประมาณ 20 ท่าน ถือว่าขยายตัวจากปีก่อน ๆ มากเลยทีเดียว

ดร. มนต์ศักดิ์  โซ่เจริญธรรม

ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล

คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกพ.ชี้การทำงานยากขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานใหม่

กกพ.ชี้การกำกับพลังงานยากขึ้น ย้ำไทยยังต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ ชี้พลังงานหมุนเวียนยังพึ่งพาไม่ได้ 100% พร้อมเผยความท้าทายใหม่ ทั้งการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานใหม่ และความพร้อมของโครงข่ายไฟฟ้ารับการซื้อขายในอนาคต

เปิดเผยข้อมูลด้วยไฟล์คอมพิวเตอร์ Word/Excel การปรับเปลี่ยนเล็ก ๆ ที่ส่งผลใหญ่

โปรแกรม Microsoft Word/Excel เป็นโปรแกรมอยู่คู่งานภาครัฐไทยมาอย่างยาวนาน เพราะภาครัฐโดยธรรมชาติมักเต็มไปด้วยงานเอกสาร ตั้งแต่ งบประมาณ เอกสารจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารรับรอง ใบอนุญาตต่าง ๆ

‘รัฐบาล - ก.ล.ต.’ ยกระดับหน่วยงานกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล

“รัฐบาล-ก.ล.ต.” ประกาศความสำเร็จ “ยกระดับหน่วยงานเชี่ยวชาญเฉพาะกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล” ตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์กลางระดมทุนในภูมิภาค

ประเทศไทยจะเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม : ทำอย่างไรให้การเชื่อมโยงแบ่งปันข้อมูลเกิดได้จริงในภาคราชการ

ผมทำงานทางด้านการจัดการข้อมูลและการเชื่อมโยงข้อมูลในภาครัฐมาตลอดชีวิตตั้งแต่จบการศึกษา  ได้เห็นโครงการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เวียนตายเวียนเกิดเป็นวัฎสงสารนับครั้งไม่ถ้วนที่เมื่อของบประมาณดำเนินการครั้งใดก็ปรากฎคำว่า “บูรณาการข้อมูล” หรือ “เชื่อมโยงข้อมูล” หรือ “แลกเปลี่ยนข้อมูล” หรือ “ศูนย์ข้อมูล (เพื่อรวบรวม เผยแพร่และนำข้อมูลไปใช้งาน)” เกือบทุกโครงการ 

สินทรัพย์ดิจิทัล : นโยบายสาธารณะที่ท้าทาย

 สินทรัพย์ดิจิทัล คือสิ่งมีค่าซึ่งแสดงความเป็นเจ้าของในรูปแบบดิจิทัล อาจเป็นสินทรัพย์ทางการเงินและทรัพย์สินที่แท้จริง เช่น งานศิลปะ  คุณสมบัติสำคัญ  (1) Tokenization เกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อแปลงสิทธิ์การเป็นเจ้าของสินทรัพย์ให้เป็นโทเค็นดิจิทัลที่สามารถจัดเก็บ ขาย หรือใช้เป็นหลักประกันได้

กลต. แนะนำ บจ. ผุดแผนดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลชี้เสี่ยงสูง

ก.ล.ต.เสนอบริษัทจดทะเบียน ต้องมีระบบบริหารความเสี่ยง ชี้สินทรัพย์ดิจิทัลเสี่ยงถูกโจรกรรมสูง พร้อมจัดให้มีระบบการควบคุมแบบแบ่งหน้าที่ชัดเจน