ธรรมาภิบาลกับทฤษฏีเกมส์

วันนี้ผมอยากขอคุยถึงเครื่องมือที่นำมาประยุกต์ใช้วิเคราะห์ในทางธุรกิจ ทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่สังคม การเมือง นั่นคือ ทฤษฏีเกมส์ ซึ่งจะมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ powerful อธิบายปรากฏการ์ณ ทางสังคมและการเมืองได้เป็นอย่างดี

ทฤษฏีเกมส์นี้มีการศึกษามานาน และมีพัฒนากระบวนการมาเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อได้รับความสนใจ ที่โด่งดังในหลายปีก่อนจากนักเศรษฐศาสตร์ ที่นำทฤษฏีนี้ไปใช้ เรื่องดุลยภาพของ Nash (Nash’s equilibrium)

ทฤษฏีเกมส์เป็นหลักการที่อยู๋บนพื้นฐานของการประเมินผลตอบแทน (payoff) จากการจะตัดสินใจใน แต่ละครั้งว่าเราจะได้ผลตอบแทนคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการตัดสินใจในทางเลือกอื่นๆ โดยสมมติฐานคือ มนุษย์จะตัดสินใจโดยคำนึงถึงทฤษฎีผลประโยชน์ที่ได้รับเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ ที่จับต้องได้ เช่นทรัพย์สิน เงินทอง หรือ ผลประโยชน์/ผลลัพธ์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความภาคภูมิใจ การได้รับการยกย่องฐานะทางสังคม หรือแม้แต่ การช่วยสร้างสะสมบารมี บทบาทสำคัญในสังคม หรือ หนี้บุญคุณในหมู่เพื่อฝูงพวกพ้องก็ตาม ทั้งนี้สัดส่วนส่วนที่เป็น ทรัพย์สินเงินทองหรือ ผลประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งขึ้นกับทัศนคติส่วนบุคคล หรือความโน้มเอียงในการสะสมทรัพย์ (ความโลภเพื่อตัวเอง หรือพวกพ้อง) ที่แตกต่างกัน ในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี มีต้นทุนทางธรรมาภิบาลในสังคมที่ผมจะพูดถึงต่อไป

ส่วนทฤษฎีเกมส์จะมาสัมพันธ์กับธรรมาภิบาลอย่างไรนั้น มีคำอธิบายได้ตั้งแต่ ตัวอย่างส่วนเล็กๆ ในบุคคล ชยายออกในวงกว้าง ผลต่อสังคมการเมือง ด้วยเช่นกัน ผมขอยกตัวอย่าง ของผมในเรื่องใกล้ตัวของหลายๆ ท่านอาจเคยเจอ คือ การตัดสินใจเข้าเป็นกรรมการในงาน ที่ไม่ได้ผลประโยชน์รูปตัวเงิน แต่ได้รับผลลัพธ์ในรูป จิตอาสา วัดเป็นเงินไม่ได้ แต่ได้ความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือส่วนรวม เช่น การเป็นกรรมการสหกรณ์ประเภทต่างๆ การเป็นกรรมการ นิติบุคคลหมู่บ้าน หรืออาคารชุดหลายท่านอาจเคยโดนทาบทาม ขอความช่วยเหลือซึ่งต้องรวม (หากมี) บทบาทของธรรมมาภิบาลภาคสาธารณะด้วย

ประเด็นการตัดใจตรงนี้ ทฤษฎีเกมส์ สอนให้เราเทียบผลลัพธ์ที่ได้ จากการเป็นกรรมการ ซึ่งไม่ได้ผลตอบแทนรูปตัวเงิน แต่เป็นความภาคภูมิใจซึ่งต้องแลกมากับการเสียเวลา และความยุ่งยากกับงานที่ต้องเจอ กับการตัดสินใจไม่เลือกเป็นกรรมการ ในกรณีตัวอย่างนี้ ระบบธรรมาภิบาลจะช่วยสนับสนุนให้เราได้อธิบายผลการตัดสินใจการเสียสละเวลาในการเลือกทำหน้าที่เป็นกรรมการด้วย pay off ที่ชัดขึ้น เพราะการมีหน้าที่เป็นกรรมการ จะมีต้นทุนเพิ่มในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับธรรมาภิบาลของภาคสาธารณะ แต่จะได้ผลตอบแทน จากที่เป็นเป็นจิตอาสา เสียสละที่จะสร้าง ความภาคภูมิใจได้มากขึ้น และผลประโยชน์ ที่มีต่อสังคมส่วนรวม (welfare gain) ก็จะเกิดขึ้น

อีกตัวอย่างในภาพที่ใหญ่ขึ้นในช่วงที่ใกล้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเร็วๆนี้ ซึ่งภาพจำที่เราเห็นก็คือ นักการเมืองจะลงสมัครจะอาสาเข้ามาทำงานนี้ โดยได้รับผลตอบแทนรูปตัวเงิน (ผลตอบแทนจากรัฐในรูปเงินเดือน) ไม่มากเท่าไหร่ 

ผมเคยถามตัวเองว่าพวกนักการเมืองเหล่านี้ทำไมถึงยอมมาทำงานนี้กันมาก ในความเห็นส่วนตัว ของผม อธิบายได้จาก ทฤษฎีผลประโยชน์ ซึ่งอธิบายได้เป็นอย่างดี ในที่นี้ ไม่ใช่ในส่วนของเงินเดือน ที่ได้รับเท่านั้น ผลตอบแทนในรูปของความภาคภูมิใจ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลประโยชน์ซ้อนเร้นที่ มากับอำนาจหน้าที่ ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า economic rent นั่นเอง หาก ถ้าส่วนหลังนี้ มีมากไปก็จะทำให้ผลต่อ สังคมจะติดลบ (welfare loss)

อย่างไรก็ดี ความมีธรรมมาภิบาลจะเป็นตัวตัดสินว่าผลประโยชน์ซ่อนเร้นจะเกิดขึ้นอย่างจำกัดมากขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ความมีธรรมาภิบาลผมจะหมายถึง กฏระเบียบของสังคมที่สร้างขึ้นใหม่ ภาวะแวดล้อมและการจับจ้องชองผู้คนรอบด้าน (survilance from peer pressure) ของบริบทธรรมาภิบาล ที่เป็นรูปธรรมและเข้มแข็ง มีการกำหนดบาทลงโทษทางสังคมชัดเจนขึ้น

ถ้ากลับมาพูดถึง ทฤษฎีเกมส์อีกครั้ง การตัดสินใจจะเป็นกรรมการสหกรณ์/กรรมการหมู่บ้าน ตลอดจน การเป็นสมาชิกสภาผู้แทรราษฎร ทางเลือก คือ 1) ไม่เป็นไม่เสียเวลา เอาเวลาไปทำมาหากินอย่างอื่น แต่ก็ไม่มามารถตอบโจทย์ความภาคภูมิใจที่ได้รับจากการยกย่องจากสังคม กับทางเลือกที่ 2) คือเลือก ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการฯ หรือ สส. แต่ต้องแลกมาด้วยเวลาที่เสียไปให้เกิดธรรมกาภิบาลที่ต้องปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะต้องถูกลงโทษ จากสังคมรอบด้าน ในเวลาเดียวกันก็จะลดช่องว่างให้เกิดการหาผลประโยชน์ซ่อนเร้นอื่นๆได้มากขึ้น

ดังนั้น การมีธรรมาภิบาลภาคสาธารณะ หรือจิตสำนึกต่อการมีธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรมและ จริงจังเป็นความท้าทายของทุกคน ทั้งตัวเองและสังคมที่น่าพึงปรารถนาต้องช่วยกันผลักดัน อันจะเป็นตัวทำให้ payy off ของผลประโยชน์ลดทอนลงไป และอยู่ในระดีบที่เหมาะสมขึ้นในที่สุด

ส่งบทความคอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
โดย
ดร. สิงห์ชัย บุณยโยธิน
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมคิด' ลั่น ผลิตอัศวินขี่ม้าขาวกี่คนก็ช่วยไม่ได้ กระตุก 4 สถาบัน เป็นเสาหลักของแผ่นดิน

"สมคิด" ออกโรงร่ายยาวชุดใหญ่  แนะบริหารการคลัง 4 สถาบันต้องเป็นเสาหลักของแผ่นดิน ใครก็เขย่าไม่ได้ เตือนเร่งกู้ความเชื่อมั่นธรรมาภิบาลประเทศ สร้างพลังฝ่าวิกฤต ไม่ใช่ใครคนหนึ่งมาแบกรับ  ระบุผลิตอัศวินกี่ม้าขาวกี่คนก็เหมือนเดิม

นโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาลพรรคการเมืองไหนมัดใจเด็กรุ่นใหม่

ส่องทัศนคติวัยรุ่นไทยที่มีสิทธิ์กาบัตรเลือกตั้งครั้งแรกในศึกเลือกตั้งที่ถือว่างวดเข้ามาทุกวัน พรรคการเมืองไหนจะมัดใจ คว้าคะแนนของวัยรุ่นกลุ่มนี้ไปครอง ความยุติธรรม ความโปร่งใส ที่มาพร้อมกับสิทธิ เสรีภาพบุคคล