ไทยแลนด์ 4.0 : สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตกับเศรษฐกิจ BCG

ความเคลื่อนไหวตระหนักรับรู้ของประชาคมโลกที่มีต่อเรื่อง “สิ่งแวดล้อม” นั้นมีมายาวนานกว่า 4 ทศวรรษ โดยหมุดหมายสำคัญอยู่ที่การจัดการความอยู่รอดและการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ เพื่ออยู่ร่วมกับโลกแวดล้อม-สรรพสิ่งทั้งหลายอย่างมีคุณค่าความหมาย-มีการทำลายล้างน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร-ส่วนที่ทำลายนั้นให้มากที่สุด-เกิดประโยชน์สุดกับชีวิต-สังคม-และเศรษฐกิจ นี่คือมูลเหตุที่ประชาคมโลกใส่ใจถึงเรื่อง “สิ่งแวดล้อม” ที่มีนัยถึงการอยู่รอดร่วมกันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด บนฐานความเสมอภาคเท่าเทียม!

การพัฒนาที่ยั่งยืนจะมีมิติ 4 มิติสำคัญคือ หนึ่ง การพัฒนาเติบโตของสังคมเศรษฐกิจที่ไม่บริโภคทรัพยากรแบบทำลายล้าง-ล้างผลาญ-ฟุ่มเฟือยจนเกินขอบเขต สอง ปรับสร้างโอกาสในการพัฒนาที่เปิดโอกาสอย่างเสมอภาคในทุกมิติ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมทุกมุมโลก สาม มีการพัฒนา-จัดการโครงสร้างเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-ไม่ผูกขาด-เชื่อมโยงกับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นธรรมกับสังคม สี่ มีการจัดการเทคโนโลยีและทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่-หมุนเวียนใช้ได้ โดยลดความสูญเสียให้มากที่สุด บนมาตรฐานและมาตรการในการอยู่ร่วมกันของสังคมโลก!

วันนี้ประเด็นการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ หรือ CLIMATE CHANGE กลายเป็นฉันทามติและกฎบัตรสำคัญของประชาคมโลก ที่ผูกโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งกฎบัตรและฉันทามติต่างๆ เหล่านี้ได้รับรู้และดำเนินการผ่านกฎหมายสิ่งแวดล้อม การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงระบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในระบบการค้าโลก ฯลฯ ซึ่งมาตรการ-มาตรฐาน-และข้อกำกับในระบบการค้าโลกต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการผลิตและบริการในระบบเศรษฐกิจของสังคมโลกอย่างมีนัยสำคัญ!

แน่นอนว่าสิ่งแวดล้อมจะไม่ใช่ของฟรีอีกต่อไป ไม่ว่า น้ำ อากาศ และทรัพยากร ในโลกนี้จะไม่เป็นของฟรี! แต่เป็นเรื่องที่รัฐบาล เอกชน และประชาคมโลกทุกมุม-ทุกประเทศ ต้องร่วมกันกำกับดูแลและใช้อย่างระมัดระวังตามกติกา-กฎบัตรกฎหมาย-รวมถึงมาตรการ-มาตรฐานต่างๆ ที่จะส่งผ่านมาสู่กระบวนการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประชาคมโลก เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในรุ่นคนปัจจุบันจะถูกส่งผ่านให้กับคนรุ่นอนาคตได้อย่างดี นี่คือข้อตกลงที่สังคมโลกร่วมกันรับรอง-ตระหนัก บนหมุดหมายของ “การพัฒนาที่ยั่งยืน”

เศรษฐกิจในโลกยุคใหม่จึงไม่ใช่เศรษฐกิจแบบกำไร-ขาดทุนดิบๆ ที่มุ่งไล่ล่าเอาเปรียบกลุ่มสังคมที่อ่อนแอกว่า ไม่ว่าจะด้านแรงงาน-การค้ามนุษย์ หรือการปล่อยมลพิษที่ไม่รับผิดชอบ ฯลฯ อีกต่อไป ตรงกันข้าม โครงสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ประชาคมโลกรับรองนั้น เป็นเศรษฐกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม-มีมาตรฐานการผลิต-มาตรฐานสินค้า รวมถึงมาตรฐานการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการใช้เทคโนโลยีเข้าจัดการ ลดการใช้ทรัพยากร-เพิ่มขีดความสามารถในระบบการผลิต-ช่วยขจัดการงานที่น่าเบื่อหน่าย-ซ้ำซาก-จำเจของมนุษย์ ให้ค่อยๆ หมดไป เศรษฐกิจยุคใหม่จึงเป็นเศรษฐกิจที่ปฏิสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับฐานความรู้ นวัตกรรม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาคุณภาพชีวิต ฯลฯ ที่สภาเศรษฐกิจโลกเรียกรวมๆ ว่าเป็น ยุคอุตสาหกรรม 4.0!

ที่จริงการเคลื่อนไหวของขบวนการสิ่งแวดล้อมโลกนั้นมีมานาน แต่มาเริ่มเคลื่อนไหวอย่างหนัก-เข้มข้นในช่วงราวทศวรรษ ปี พ.ศ.2535 เป็นต้นมา โดยที่ขบวนการสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยก็เคลื่อนไหวหนักในช่วงนั้น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่โหมหนักจนถึงกลางทศวรรษ 2540 เป็นช่วงที่ภาคเอกชนไทยมีการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น รับกับที่รองประธานาธิบดีอัลกอร์ ของสหรัฐอเมริกา ได้ทำสารคดีเรื่อง inconvenient truth เผยแพร่จนโด่งดัง สร้างความรับรู้ตระหนักถึงหายนะจากการไม่ใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมไปทั่วโลก!

ในช่วงนั้นมีการหาทางออกต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม-ที่เคลื่อนอยู่ท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจทุนนิยมที่กำลังกลัดมันกับการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน-การบริโภคทรัพยากรแบบล้างผลาญ และการไม่รับผิดชอบต่อการก่อปัญหามลภาวะเกิดขึ้นทั่วโลก โดยสหประชาชาติร่วมกับองค์กรเอกชนร่วมจัดประชุมสุดยอด “เอิร์ธ ซัมมิท” ขึ้นที่กรุงรีโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในปี พ.ศ.2535 หรือเมื่อกว่า 30 ปีขึ้นมา ที่ประชุมเอิร์ธ ซัมมิท ได้สร้างฉันทามติการดูแลแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันของโลก และยกร่างประกาศ “แผนปฏิบัติการ 21” (แผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของโลก หรือที่รู้จักกันในชื่อ AGENDA 21) เพื่อให้มีทิศทางในการกอบกู้-แก้ไข-สร้างสรรค์จัดการสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ ทั้งระดับโลก ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ซึ่งแผนปฏิบัติการ 21 ถือเป็นเสมือนหนึ่งคัมภีร์ฉบับแรกจากความร่วมมือของชาวโลกในการดูแลสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ จากภาพรวมสิ่งแวดล้อมโลกไปถึงทุกพื้นที่!!!

ต่อมามีการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการเชื่อมโยงให้การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมปรับผสานสู่ความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดภาษีสิ่งแวดล้อมและมาตรฐาน-มาตรการต่างๆ ที่ทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนของระบบเศรษฐกิจ ทั้งการผลิตและบริการ จนวันนี้ ประเด็นเรื่อง climate Change หรือการจัดการมลภาวะกลายเป็นฉันทามติของสังคมการค้าโลกในที่สุด ล่าสุดมีการเสนอทางออกรูปเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ที่เรียกกันว่าเศรษฐกิจ BCG  (Bio circular และ Green economy) เพื่อเป็นฐานการปรับสร้างเศรษฐกิจใหม่

วันนี้ประเทศไทยยุค 4.0 กำลังขับเคลื่อนใช้เค้าโครงเศรษฐกิจ BCG เป็นการสร้างเศรษฐกิจสู่ความก้าวหน้าใหม่ในกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก บนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า.. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะที่เข้าสู่วิกฤตการณ์โลกร้อน.. ด้วยภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติปกติ (Climate Change) อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษยชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้ถือโอกาสคิดทำโครงการนำพระคืนสู่ป่า.. เพื่อศึกษาวงจรธรรมชาติของชีวิตที่เนื่องกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีความสมดุล (Nature Cycle in Balance)