EEC เขตปลอดการเมือง : พื้นที่ในการสร้างคุณค่า-ยกระดับประเทศ-สร้างบ้านเมืองยุคใหม่

การเปลี่ยนแปลงระดับ Mega Changes ของประเทศที่สัมผัสจับต้องได้คือ การสร้างประเทศสู่ความทันสมัยช่วงกลางทศวรรษพ.ศ 2520 เป็นต้นมา ขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรียุคนั้นเร่งปรับฐานประเทศออกจากความยากจนปรับประเทศสู่โหมดอุตสาหกรรม โดยใช้โครงการอีสเทิร์น ซีบอร์ด ที่ส่งผลให้ประเทศปรับฐานจากสังคมเศรษฐกิจเกษตรกรรมเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจที่มีอุตสาหกรรมเป็นแกนขับเคลื่อน-เปลี่ยนผ่านประเทศจากยุคเก่าสู่ยุคใหม่ ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่โลกอยู่ในยุคอุตสาหกรรม 1.0 - 2.0 บ้านเมืองไทยในครั้งนั้นจึงเคลื่อนอยู่ในกระแสโชติช่วงชัชวาล

หลังจากนั้นการปรับตัวของสังคมเศรษฐกิจไทยก็เคลื่อนไปตามกาลเวลา จนได้พาประเทศเข้าสู่ยุคการเมืองประชาธิปไตยเบ่งบาน ซึ่งช่วงตั้งแต่ต้นทศวรรษ พ.ศ 2540 ผู้คนตื่นตัวทางการเมือง-สนใจที่จะดึงการเมืองออกจาก “วงจรอุบาท” แต่ที่สุดก็กลายเป็นการช่วงชิงอำนาจ-สร้างความขัดแย้งรุนแรงเป็นการเมืองของเสื้อสีและความขัดแย้ง-แบ่งฝักแบ่งฝ่ายสร้างความรุนแรงจนสับสนอลหม่านต่อเนื่องยาวนานนับทศวรรษ!

เมื่อสังคมโลกเคลื่อนสู่ศตวรรษที่ 21 ความเปลี่ยนแปลงใหม่ได้ก่อรูปภูมิเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ “จีน” เป็นแกนขับเคลื่อนเปลี่ยนผ่านเส้นทางภูมิศาสตร์ของโลกยุคใหม่ผนวกผสานเส้นทางเชื่อมโลกตามโครงการ Belt Road initiative (BRI) เข้ากับเทคโนโลยียุคอุตสาหกรรม 4.0 ส่งผลให้สังคมเศรษฐกิจในโลกศตวรรษที่ 21 เคลื่อนไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 4.0 เปลี่ยนโลกยุค อนาลอคสู่โลกดิจิทัลที่เคลื่อนไหวต่างจากโลกใบเก่า-ทำลายล้างแบบแผนวิถีสังคมเศรษฐกิจยุคเก่าลงชนิดที่สัมผัสจับต้อง!

การปรับตัวของโลกศตวรรษที่ 21 ครั้งนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับฐานยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และศักยภาพของ ผู้คน-ทรัพยากรมนุษย์ครั้งใหญ่โดยเปิดพื้นที่ “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรือ EEC เพื่อดึงการลงทุนและเทคโนโลยสร้างต้นทุนทางเศรษฐกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยี-ปรับสร้างเศรษฐกิจและสะสมที่จะก้าวสู่อนาคตต่อไป

การขับเคลื่อนความก้าวหน้าใหม่ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จากช่วงปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาจะพบความก้าวหน้าในหลายมิติ ไม่ว่าการลงทุนโดยภาพรวมที่ดึงเม็ดเงินลงทุน-ที่มาพร้อมเทคโนโลยียุค 4.0 ได้สูงถึง 1.9 ล้านล้านบาท การปรับสร้างสาธารณูปโภคสำคัญรองรับความเติบโตก้าวหน้าความเปลี่ยนแปลงใหม่ อาธิ การพัฒนามหานครการบิน-สร้างสนามบินใหม่ที่อู่ตะเภา การสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อสามสนามบิน สร้างท่าเรือ 3 ท่าเรือใหม่-ปรับฐานการจราจรโลจิสติกส์โดยรวม ยกระดับสื่อสารสู่ระบบ 5g ใน EEC จนถึงการจัดปรับพัฒนาการศึกษา-ศักยภาพคนรองรับ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ฯลฯ

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ได้ขับเคลื่อนความก้าวหน้าใหม่ด้วยสถานะการเป็นองค์กรอิสระที่มีกฎหมายรองรับ มีความแข็งแกร่งของกฎหมายที่ลดทอนความรุงรังล้าหลังของระบบราชการเพื่อสร้างความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน-การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้โลกที่เปลี่ยนไป  แน่นอนว่าหาก EEC มีสภาพแบบองค์กรราชการ กระทรวง ทบวง กรม ฯ ทั่ว ๆ ไปย่อมไม่อาจขับเคลื่อนงานอย่างอิสระและก้าวหน้าได้ ที่สำคัญคือประชาชนในท้องถิ่นยอมรับการพัฒนาและกระบวนการเติบโตยุคใหม่ของเขตพัฒนาพิเศษฯอย่างโดดเด่น ผู้คนในสังคมหลายพื้นที่เปลี่ยนจากต่อต้านมาให้ความร่วมมืออย่างดี เพราะได้เห็นสัมฤทธิผล-อานิสงส์ของการพัฒนาเปลี่ยนแปลงครั้งนี้  ที่ได้รับประโยชน์โพดผลหลายประการ ตั้งแต่ระบบการศึกษาใหม่ในพื้นที่ไปจนถึงการลงทุนการจ้างงาน-ทิศทางการจัดการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น-ความก้าวหน้าที่เกิดจากการ ปรับตัวออกจากโลกใบเก่าสู่เศรษฐกิจสังคมฐานดิจิตอล ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

องค์กรเครือข่ายความร่วมมือของนักวิชาการ-นักบริหาร-นักปฏิบัติการภาคตะวันออก Club of Eastern Corridor สำรวจวิจัยพบว่า การยอมรับของประชาชนในการดำเนินโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC มีปัจจัยสำคัญ 5 ประการด้วยกัน คือ 1) EEC เป็นองค์กรอิสระที่ปราศจากการเมืองและการครอบงำทางการเมือง และไม่ผูกติดกับระบบระเบียบวิธีการทำงานแบบราชการ จึงมีวิธีการทำงานที่ต่างไปจากวิธีการทำงานแบบเดิมในระบบราชการ ทำให้เกิดความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้คนและสังคมท้องถิ่น 2) มีการจัดปรับฐานการศึกษาและการพัฒนาคนที่โดดเด่น ทำให้การศึกษาตอบโจทย์การมีงานทำและรายได้สูง สร้างประโยชน์ทั้งกับภาคอุตสาหกรรมและเด็กเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษาโดยตรง 3) มีการเปิดการลงทุนที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ ช่วยให้มีการปรับใช้เทคโนโลยีที่มีผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตผู้คนและชุมชนท้องถิ่น 4) มีความเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเชิงบวกจากเทคโนโลยีใหม่ที่เป็น 4.0 มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมช่วยแก้ปัญหาที่หมักหมมสั่งสมมาจากอุตสาหกรรมยุคเก่าได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ช่วยให้สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมท้องถิ่นดีขึ้น 5) มีการทำงานที่ตอบโจทย์ท้องถิ่น และตอบสนองความต้องการของผู้คนในพื้นที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาขึ้นต่อขั้นตอนของระบบราชการและอำนาจความคิดราชการเก่าๆ ที่สำคัญคือปลอดจากการเมืองและการครอบงำจากของผลประโยชน์ทางการเมืองด้วย!

บทสรุป 5 ประการนี้ สะท้อนว่าการขับเคลื่อนความก้าวหน้าใหม่นั้นต้องยึดโยงกับผลประโยชน์ของพื้นที่และผู้คนในท้องถิ่นเป็นสำคัญ องค์กรที่ดำเนินงานต้องมีวิสัยทัศน์-กระบวนการที่ปลอดการเมือง ไม่ถูกครอบงำทั้งจากการเมืองและความล้าหลังของระบบราชการ ฯ การเมืองควรเป็นผู้ช่วยสร้างเสริม สนับสนุน ช่วยปลดแก้เงื่อนปมปัญหา-นำประเทศสู่จุดหมายได้ มุ่งขับเคลื่อนสร้างประโยชน์กับทุกภาคส่วน สนับสนุนการทำงานที่ปลอดจากการเมือง-การครอบงำผลประโยชน์ทั้งปวง และมีศักยภาพขับเคลื่อนงานได้โดยไม่ตกอยู่ใต้กับดักของระบบราชการที่อ่อนล้า! นี่คือปัจจัยสำคัญที่บ่งบอกถึงการมีอนาคตที่มั่นคง ยั่งยืน ของประเทศในการขับเคลื่อนโดยโครงการขนาดใหญ่ที่ทุกคนสัมผัสจับต้องได้!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่อเลื่อนประชามติ รอแก้กฎหมาย ร่างรธน.ฉบับใหม่ ต้องไม่จุดไฟความขัดแย้ง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา รับทราบ รายงานผลการดำเนินงานของ”คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ

บทธรรมดับโลกร้อน .. ที่นักปกครองต้องอ่าน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. โลกกำลังเข้าสู่ห้วงธรรมวิกฤต.. ที่มนุษยชาติประพฤติตนอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ มีความโลภที่รุนแรงและราคะความกำหนัดที่ผิดธรรม .. เป็นส่วนใหญ่

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..