EEC โมเดล: ปรับฐานการพัฒนาคนและการศึกษา 4.0

การก่อรูปการพัฒนาคน-การรื้อสร้างการศึกษาเพื่อตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงจากโลกใบเก่าสู่การพัฒนาคนและการศึกษาให้ตอบโจทย์โครงสร้างเศรษฐกิจ 4.0 นั้น เป็นงานโหดหิน-ต้องใช้พลังสร้างสรรค์-สร้างเครือข่าย-กระตุ้นสร้างความเปลี่ยนแปลง-เปลี่ยนผ่านจากโลกเก่าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่เคลื่อนอยู่ในระบบการศึกษา-การพัฒนาคนของบ้านเมืองที่ยืนขาตาย-แข็งทื่ออยู่กับยุคอุตสาหกรรม 2.0 - มรดกทางความคิดทางการศึกษา-พัฒนาคนที่สืบทอดเหนียวแน่นมาจากปลายศตวรรษที่ 19 ภายใต้ระบบราชการรวมศูนย์อำนาจที่ซับซ้อนของหน่วยงานที่รับผิดชอบจนถึงวันนี้!

EEC ขับเคลื่อนการสร้างการศึกษา-การพัฒนาคนมุ่งตอบโจทย์ความต้องการใหม่ให้ตรงตามสมรรถนะของอุตสาหกรรม 4.0 ตั้งแต่เมื่อปี 2562 เป็นต้นมา มุ่งตอบโจทย์การลงทุนและการยกระดับประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) หมุดหมายสำคัญคือการปรับฐานสมรรถนะ-ทักษะของผู้คนและระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์การงานใหม่ในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมที่ก้าวหน้าต่อเนื่องไปอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมกำลังปรับตัวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่กระบวนการทำงาน-องค์กรทางเศรษฐกิจสังคมกำลังเลื่อนไหล-ปรับตัวตามคลื่นความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคปัจจุบัน-พูดง่าย ๆ ว่ากำลังปรับตัวออกจากยุคการทำงานที่เคยพึ่งพาแรงงาน-ศักยภาพของคนเป็นหลัก บนฐานองค์กรที่มุ่งใช้คนทำงานในทุกหน้าที่อย่างเข้มข้น (labor intensive) สู่การทำงานบนดิจิตอลแพลตฟอร์มในโลกอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งการศึกษาที่เป็นมาไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องนี้!

เมื่อคลื่นความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมถาโถมสร้างการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต-การงาน-เศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบัน-อุตสาหกรรม 4.0 ส่งผลให้สถาบันการศึกษาที่ไม่ตอบโจทย์โลกใบใหม่กลายเป็นสิ่งแปลกปลอม-ถูกดิสรัปชั่นจากนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ผู้คนผลผลิตจากระบบการศึกษาที่ผ่านมาจึงตกงานจำนวนมาก (บัณฑิตตกงานปีละกว่า 3-4 แสนคน) จากหลากหลายสาเหตุ ตั้งแต่คุณภาพการเรียนการสอน หลักสูตรที่ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาทักษะความรู้-สมรรถนะยุคใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ การปรับตัว-ประดิษฐ์คิดสร้างในการทำงานยุคดิจิตอล รวมถึงจมอยู่ในระบบนิเวศน์ของการศึกษา (Eco System) ที่ผูกโดยงกดทับด้วยกับอำนาจการบริหารของรัฐราชการ ฯ ทำให้เกิดความสูญเสียสูญเปล่าทางการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรคิดเป็นมูลค่ามหาศาลนับล้านๆบาท! ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องรื้อสร้าง-ให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจริงจังเพื่อหยุดปัญหานี้!

ความเคลื่อนไหวในคลื่นการเปลี่ยนผ่านที่อ่อนล้านี้ การลงทุน-การยกระดับประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต้องเร่งขับเคลื่อนประเทศสู่ยุค 4.0 จำเป็นต้องสร้างโมเดลการพัฒนาคนและการศึกษาขึ้นใหม่ เพื่อขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลง-กระตุ้นให้โครงสร้างการศึกษาเคลื่อนสู่โลกใบใหม่อย่างมีสัมฤทธิผล คณะทำงานพัฒนาบุคลากรและการศึกษาฯ (EEC HDC) ได้พัฒนา EEC โมเดล type A – การศึกษาที่อาศัยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมสร้างบุคลากรและการศึกษา โดยให้ภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนทุนการศึกษา-จัดทำหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษา ฯ ร่วมกันคัดเลือกบุคลากรเข้าเรียนในหลักสูตรที่ออกแบบร่วมกันให้ตอบโจทย์งานยุคใหม่ของบริษัทชั้นนำต่างๆ สร้างสมรรถนะใหม่ทั้งทฤษฎี-ปฏิบัติจนจบการศึกษา ระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรีหรือสูงกว่าฯ เป็นการเรียนในห้องเรียนผสมในโรงงานสนามงานจริงคู่กัน เมื่อจบแล้วได้ทำงานทันที-รับเงินเดือนที่สูงกว่าเกณฑ์ราวร้อยละ 25 ถึง 30 การจัดการศึกษา อีอีซี โมเดล type A ได้หยุดความสูญเปล่า-ปรับฐานสมรรถนะในเส้นทางอาชีพได้ต่อเนื่อง สร้างการศึกษาตลอดชีพ-สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี-มีการทำงานที่มีอนาคต

พร้อมกันนั้นการพัฒนาคนและการศึกษาแบบ อีอีซี โมเดลช่วยปรับ Eco System หรือระบบนิเวศทางการศึกษาใหม่ที่ตอบโจทย์โลกดิจิตอลด้วยกล่าวคือ ในระดับการศึกษาพื้นฐานได้ประสานสร้างเพิ่มการเรียนการสอนด้านภาษาเพิ่มขึ้น 3 ภาษา เพิ่มการเรียนการสอนด้าน STEAM และ Coding ในระบบการศึกษาพื้นฐาน เร่งปรับ Eco system ระดับอาชีวะและปริญญาตรี ให้มีการปรับสร้างหลักสูตร-เปลี่ยนจากระบบหน่วยกิตสู่ระบบโมดูลให้ตรงกับฐานสมรรถนะ มีความคล่องตัวตรวจสอบฐานสมรรถนะได้ง่าย และวางรากฐานการศึกษาตลอดชีพให้สามารถต่อยอดพัฒนาความรู้ทักษะได้ต่อเนื่อง และมีการสร้างเครือข่ายศูนย์เชี่ยวชาญในการสร้างทัดกษะความรู้ยุคใหม่ที่ตอบโจทย์การพัฒนา 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ปัจจุบันมีรวม 10 ศุนย์ฯกระจายอยู่ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งระดับวิทยาลัยอาชีวะและอุดมศึกษา ฯ  รวมทั้งเคลื่อนไหวจัดทำระบบเครดิตแบงค์-ระบบนิเวศใหม่ในการเชื่อมประสานชีวิตการทำงานกับการพัฒนาการศึกษาของบุคคลให้สอดรับกับโลกที่เปลี่ยนไป ความเคลื่อนไหวเหล่านี้สร้างการปรับตัวเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับกลุ่มการพัฒนาบุคลากรที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งกำลังปรับตัว ให้ทำงานได้ต่อเนื่องและสามารถปรับสู่เทคโนโลยีการผลิตใหม่  EEC สนับสนุนการฝึกอบรมระยะสั้นในการยกระดับทักษะทักษะใหม่-ตอบโจทย์การมีงานทำ-การปรับตัวยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมไปพร้อมกันผ่านการฝึกอบรมระยะสั้น อีอีซี โมเดล type B การทำงานที่ผ่านมาได้สนับสนุนอุตสาหกรรมกว่า 300 บริษัทยกระดับพัฒนาศักยภาพของตัวเองและบุคลากร - สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากหลักสูตรที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมกว่า 200 หลักสูตร ที่สำคัญคือช่วยกระตุ้นสร้างระบบนิเวศน์การศึกษายุคใหม่ ผ่านการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษาทั้งระดับอาชีวะและอุดมศึกษามากกว่า 50 แห่งให้ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมชั้นนำ!

ทั้งหมดคือความเคลื่อนไหวปรับฐานการพัฒนาทรัพยากรคน-พัฒนาสมรรถนะ ทั้งในสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ผ่านมา ไม่นับรวมการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอื่น ๆ ฯลฯ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่อเลื่อนประชามติ รอแก้กฎหมาย ร่างรธน.ฉบับใหม่ ต้องไม่จุดไฟความขัดแย้ง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา รับทราบ รายงานผลการดำเนินงานของ”คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ

บทธรรมดับโลกร้อน .. ที่นักปกครองต้องอ่าน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. โลกกำลังเข้าสู่ห้วงธรรมวิกฤต.. ที่มนุษยชาติประพฤติตนอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ มีความโลภที่รุนแรงและราคะความกำหนัดที่ผิดธรรม .. เป็นส่วนใหญ่

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..