'การศึกษา' มุ่งยกระดับ การสร้างคน สังคม เศรษฐกิจ!!!

การเปลี่ยนแปลง-เปลี่ยนผ่านในโลกเดิมๆ ที่ผ่านมาก่อนศตวรรษที่ 21 มีสภาพเป็นคลื่นความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ที่ใช้เวลาแต่ละช่วงนับศตวรรษหรือกว่าทศวรรษ! จากโลกเดิมดิบๆ สู่การปฏิวัติเกษตรกรรมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมและผ่านสู่ยุคข่าวสารข้อมูล การเปลี่ยนผ่านแต่ละช่วงใช้เวลายาวนาน สร้างการปรับตัวของผู้คนเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ละยุค แต่ละช่วงเวลา ไม่ว่าการปรับตัวเปลี่ยนจากยุคเหล็ก-สู่ยุคไอน้ำ-สู่ถ่านหิน-สู่ยุคเชื้อเพลิงน้ำมัน-จนถึงยุคดิจิทัล แต่ละช่วงเป็นคลื่นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สั่งสมใช้เวลายาวนาน! ผู้คน-สังคม-เศรษฐกิจมีเวลามีโอกาสตั้งตัว-ตั้งรับ!

แต่ในสังคมเทคโนโลยียุคศตวรรษที่ 21 โลกใบใหม่มีการเปลี่ยนผ่านที่ไม่สั่งสม-ไม่ใช้เวลายาวนานให้ผู้คน-สังคมปรับตัว! เป็นริ้วคลื่นการเปลี่ยนแปลง-เปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นเร็ว-บ่อย มีพลังแรง-เร็ว-ครอบคลุมผ่านโลกดิจิทัลทั้งใบ สร้างความสับสนอลหม่าน-การทำลายล้างทางสังคม เศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ!

ในสภาวะเยี่ยงนี้การเรียนรู้ตลอดชีวิต-รู้เท่าทันการเปลี่ยนผ่านของโลกใหม่วันนี้จึงสำคัญต่อการดำเนินชีวิต สังคม เศรษฐกิจ และสัมพันธภาพ-การสื่อสารของผู้คน-สังคม ฯลฯ เพื่อเข้าถึงโอกาสใหม่หรือจัดการชีวิตเศรษฐกิจและสังคมให้ไปต่อได้-ปลอดจากการถูกทำลายล้าง! คือการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 ที่มีผล-มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต...ยากที่จะปฏิเสธ!

ในความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนี้ พื้นฐานสำคัญคือ การพัฒนาบุคลากรและการศึกษาจึงจำเป็นยิ่งที่ต้องปรับวิธีคิดความเข้าใจโลก-สังคม และการเปลี่ยนแปลงใหม่ เพื่อปรับการพัฒนาทุนมนุษย์-ทุนความรู้-การพัฒนาทักษะ-สมรรถนะ-การเรียนรู้ใหม่ให้เท่าทันพลังความเปลี่ยนแปลงนี้ ด้วยว่าความล้ำหน้าของนวัตกรรม-เทคโนโลยีในคลื่นการสื่อสารใหม่นั้นเกิดขึ้นอย่างทรงพลังข้ามชาติ-ข้ามกาลเวลา-ไร้พรมแดน-เชื่อมโลกเป็นหนึ่งเดียว-เปิดให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ได้แบบไร้ขีดจำกัด ปรับโลกของความจริงผสมผสานกับโลกเสมือนจริง ก่อให้เกิดนวัตกรรม-ความก้าวหน้า-และกิจกรรมทางสังคม-เศรษฐกิจใหม่ๆ ขึ้นตลอดเวลาเหนือความคาดหมาย ฯลฯ ทำให้ชีวิตการงาน-การจัดการตัวเองที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบันไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป!

การพัฒนาคนสร้างทรัพยากรมนุษย์-ระบบการศึกษา-ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา-และสถาบันการศึกษาจะต้องขยับปรับรับกับความเปลี่ยนแปลงเช่นไรเพื่อสร้างความอยู่รอด-ก้าวหน้า? หนุนสังคมบ้านเมือง-เศรษฐกิจให้ไปต่ออย่างเท่าทันคลื่นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้!

คลื่นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ไม่ได้ขึ้นกับกฎระเบียบ-กติกาแบบราชการ หรือ พ.ร.บ.สถาบันการศึกษาของมหาวิทยาลัยใดทั้งสิ้น! ความก้าวหน้าของโลกใบใหม่สู่อนาคตนั้นขึ้นกับความคิดวิสัยทัศน์-ความเข้าใจโลก-ศักยภาพผู้คนที่มีสมรรถนะ-ทักษะความเข้าใจในเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ที่เราต้องปรับตัว-ปรับระบบการเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อจะเข้าไปมีส่วนร่วมประดิษฐ์คิดสร้างนวัตกรรมกับโลกใบใหม่! นี่คือเรื่องสำคัญที่ต้องปรับตัวให้ทันคลื่นการเปลี่ยนแปลง!

ผู้คน-สถาบัน-หน่วยงาน-องค์กร-หรือข่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา-การสร้างทุนมนุษย์ ต้องเร่งปรับออกจากความคิดเก่าๆ และมวลอำนาจ-ระบบระเบียบที่ปิดกั้น-กดทับ พาองค์กรเชื่อมเข้ากับความก้าวหน้าใหม่ให้ได้! ไม่เช่นนั้นการอยู่รอดจะสั้น-ล่มสลายไปต่อไม่ได้ในการเปลี่ยนผ่านที่เกิดบ่อย-รวดเร็ว-มีพลังแรง! การสร้างการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรต้องปรับความคิด ทิศทาง มุ่งสร้างทุนมนุษย์ในโลกแวดล้อมใหม่เชื่อมสู่ความก้าวหน้าใหม่ สร้างบทเรียนและศักยภาพในการปรับตัวให้ทัน

บทเรียนจากการพัฒนาบุคลากร-การสร้างทุนมนุษย์-การศึกษาแบบอีอีซี โมเดล เป็นแบบแผนในการสร้างบทเรียนเชื่อมการศึกษาเข้ากับภาคการประกอบการ-อุตสาหกรรม ที่ตอบโจทย์ความก้าวหน้าให้เกิดเครือข่ายการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรยุคใหม่อย่างก้าวกระโดดและต่อเนื่อง ช่วยปรับองคาพยพการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรออกจากมุมอับ-ระบบระเบียบรกรุงรัง ปรับความคิดทิศทางการจัดการ-ปฏิบัติการที่ยึดความต้องการ-ทักษะ-สมรรถนะตรงกับการงานยุคใหม่ ร่วมกับภาคการประกอบการที่มีการถ่ายโยงเทคโนโลยี-หรือกำลังปรับตัว-ปรับเทคโนโลยี-ปรับฐานยกระดับการผลิต-บริการใหม่ ที่สร้างคน-สร้างทุนมนุษย์ยุคใหม่มาอย่างต่อเนื่อง!

ส่วนที่กระทรวงการอุดมศึกษาฯ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาฯ ก็อยู่ระหว่างกำลังจัดปรับองค์กรที่รับผิดชอบเรื่องนี้อย่างมาก โดยเฉพาะกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ที่ปรับตัว-ปรับระบบระเบียบไปแบบก้าวกระโดด มุ่งปฏิบัติการปรับคุณภาพการพัฒนาบุคลากร-การศึกษาให้มีความรู้-ทักษะ-สมรรถนะตรงตามความต้องการในอุตสาหกรรมและการประกอบการโลกใหม่ ช่วยปรับวิธีคิด-วิธีการทำงาน-การจัดการแต่ละภาคส่วนและองคาพยพ การผลิตบุคลากรให้มีศักยภาพก้าวข้ามระบบระเบียบเก่าๆ ผ่านการจัดปรับระบบนิเวศทางการศึกษา-การเรียนรู้สู่โลกแวดล้อมของการงานยุคใหม่ ปรับหลักสูตรเป็นแบบโมดูล สร้างเครดิตแบงก์ในระบบการศึกษา เร่งพัฒนาทักษะด้านภาษา-การสื่อสารให้เป็นไปตามความก้าวหน้าและความต้องการของอุตสาหกรรม-ผู้ประกอบการต่างๆ สร้างหลักประกันการมีงานทำบนฐานความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับอุตสาหกรรม-ผู้ประกอบการ ปรับสร้างการพัฒนาคนยุคใหม่ที่อาศัยฐานเครือข่ายความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ เป็นการเปิดโลกการเรียนรู้ร่วมกันในสนามงานจริง ช่วยถ่ายโยงทักษะของเทคโนโลยีใหม่สู่การสร้างคน-สร้างการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ ความเคลื่อนไหวนี้เปิดให้เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ที่มีความหวังในการที่จะช่วยหยุดความสูญเปล่าทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ!

รูปธรรมความเคลื่อนไหวในความก้าวหน้าของการศึกษา-การพัฒนาบุคลากร-สร้างทุนมนุษย์ที่เกิดขึ้นนี้ สร้างบทเรียนกระตุ้นสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ผู้คนและการศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทีเดียว!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่อเลื่อนประชามติ รอแก้กฎหมาย ร่างรธน.ฉบับใหม่ ต้องไม่จุดไฟความขัดแย้ง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา รับทราบ รายงานผลการดำเนินงานของ”คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ

บทธรรมดับโลกร้อน .. ที่นักปกครองต้องอ่าน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. โลกกำลังเข้าสู่ห้วงธรรมวิกฤต.. ที่มนุษยชาติประพฤติตนอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ มีความโลภที่รุนแรงและราคะความกำหนัดที่ผิดธรรม .. เป็นส่วนใหญ่

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..