ถึงเวลาต้องรื้อสร้างการศึกษา พัฒนาคนกันใหม่อย่างจริงจัง!

ปฐมบทของการรื้อสร้างการศึกษา-การพัฒนาคนสู่โลกใบใหม่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 เกิดจากการเข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนกฎหมาย “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรืออีอีซี และได้รับมอบหมายให้ดำเนินการปรับสร้างกำลังคนในการพัฒนาการลงทุนยุคใหม่ ในโลกของอุตสาหกรรม 4.0 ที่เป็นเป้าหมายในการเปิดรับการลงทุนของประเทศ!

กฎหมายการลงทุนในพื้นที่ใหม่ 3 จังหวัด ระยอง ชลบุร ฉะเชิงเทรา ที่ตราขึ้นเป็น “พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรืออีอีซี มีการประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อ 16 พฤษภาคม 2561 ยุคที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งการสร้างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ขึ้นมาก็เพื่อที่จะเร่งยกระดับ-ปรับประเทศให้ก้าวทันโลกที่เคลื่อนสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม-เทคโนโลยีที่พัฒนาการไปไกลมากแล้ว!

ขณะที่สภาพประเทศไทยในช่วงเวลานั้น เพิ่งผ่านความขัดแย้งรุนแรงในสังคม-บ้านเมืองต่อเนื่องมาอย่างหนักจนเข้าสู่การรัฐประหาร ครั้งที่ 13 เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ต่อมาได้ยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 ขึ้น และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยหลังเลือกตั้ง รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเปิดพื้นที่การลงทุนกระตุ้นสร้างเศรษฐกิจ มุ่งเปิดรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่ผ่านการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษ หรืออีอีซี

เขตพัฒนาพิเศษนี้กำหนดเป้าหมายการพัฒนา 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเปิดรับอุตสาหกรรมใหม่ 5 กลุ่ม และยกระดับขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมเก่า 5 กลุ่ม เพื่อปรับฐานให้เท่าทันนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตและบริการยุคใหม่ ที่ต้องก้าวออกจากโลกอุตสาหกรรมไทยที่ยังอยู่ในยุค 2.0!!!

นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีขึ้นเพื่อยกระดับปรับตัวทางเศรษฐกิจ มุ่งปรับสร้างพื้นฐานการพัฒนาให้เชื่อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้า ซึ่งการเปิดพื้นที่การลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี จะเป็นการปรับเปลี่ยนที่สำคัญที่มุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่ความก้าวหน้าใหม่คู่ไปกับการสะสมความรู้-ทักษะ-สมรรถนะโดยรวมด้านเทคโนโลยีหลากมิติ เพื่อปรับสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดให้รวดเร็วเท่าทันโลก!

การเปิดประตูรับเอาเทคโนโลยีการผลิตและบริการมากระตุ้นสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่นั้น จำเป็นต้องปรับฐานความรู้ให้เท่าทันนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่เปิดรับเข้ามา ซึ่งหมายถึงว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์-การพัฒนาคนด้านความรู้-ทักษะ-สมรรถนะ-และการจัดการปรับฐานของระบบการศึกษาให้เข้าสู่โลกยุค 4.0 นั้น เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นยิ่งที่จะต้องปฏิบัติการให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องฉุดดึงการศึกษาไทยที่กดจมอยู่ในโลกยุคเก่าขึ้นมาให้ได้!!!

การศึกษาและการผลิตบุคลากรบนพื้นฐานที่เป็นอยู่ของระบบการศึกษาไทย มีกระบวนระบบการผลิตบุคลากรที่ตอบโจทย์การทำงานและโครงสร้างขององค์กรในการผลิตและภาคบริการ ยุคที่ใช้คนเป็นหลัก ทั้งแรงงานและสติปัญญาในการขับเคลื่อนองค์กรและเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่โลกยุค 4.0 ใช้เทคโนโลยี-นวัตกรรมการสื่อสารเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างการผลิตและบริการ ที่เข้าทดแทนการใช้แรงงาน รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล-การประมวลผลในการผลิตและบริการเป็นหลัก!

การปรับตัวในคลื่นความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนี้ต้องอาศัยทักษะ-ความรู้-ความชำนาญ-และระบบมาตรฐานจากภาคอุตสาหกรรมที่ได้ปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง แทนระบบความรู้-ทักษะ-สมรรถนะโดยรวมที่จัดการเรียนการสอนกันอยู่ในระบบการศึกษาในทุกระดับของประเทศ จึงจะขับเคลื่อนสร้างความก้าวหน้าได้จริง!

ประสบการณ์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องเริ่มต้นที่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มบุคลากรและสถาบันที่เปิดกว้างรับรู้ถึงการที่กำลังถูกดิสรัปชัน! โดยกระตุ้นให้เข้าใจและเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงเข้าใจในโลกของการผลิตและบริการ รวมถึงเศรษฐกิจปัจจุบันที่แตกต่างจากความเคลื่อนไหวของโลกเศรษฐกิจในวันเก่าๆ ที่ผ่านมา จากนั้นต้องเปิดประตูสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง ระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคการผลิตจริง คือเชื่อมให้เปิดประตูโรงเรียนเข้าไปหาโรงงาน! เพื่อดึงเอาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจากภาคการผลิตจริง มาสร้างทักษะประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ให้กับภาคการศึกษาอย่างต่อเนื่อง นี่คือประสบการณ์ก้าวแรกที่ต้องขับเคลื่อนเปิดประตูนี้ออกให้ได้!

กลุ่มความรู้ทักษะ-สมรรถนะแรกที่ต้องปรับพื้นฐานคือ กลุ่มที่ทำงานกับระบบการผลิต ที่จะต้องเปลี่ยนจากโรงงานยุคเก่าสู่ระบบโรงงานเข้าสู่การเป็นโรงงานระบบอัตโนมัติ ที่ใช้หุ่นยนต์ แขนกลและฐานการจัดการด้วยข้อมูล ที่เชื่อมถึงกันด้วยอัลกอริทึมจากการออกแบบกลไกการผลิต ที่มีการประมวลผลจากโรงงานที่เชื่อมกันทั้งระบบ ในการเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นสินค้าหรือชิ้นส่วนการผลิตที่ต้องการ ซึ่งต้องวางรากฐานทักษะ-ความเข้าใจ-และการปรับสมรรถนะใหม่ ซึ่งเป็นการปรับสร้างคน-ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความหมายต่อการลงทุนจริงและขับเคลื่อนสู่อนาคตได้!

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมชั้นสูง และช่างเทคนิคยุค 4.0 ต้องปรับสมรรถนะ-ปรับฐานทักษะใหม่! ซึ่งแน่นอนว่าสถาบันการศึกษาที่มักปิดตัวเหมือนอยู่ในถ้ำต้องเปิดประตูออก เพื่อทำงานกับภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจังทั้งกลุ่มการผลิตและบริการ ไม่เช่นนั้นการศึกษาก็จะถูกทำลายล้างจากแนวทางการผลิตบุคลากรที่ไม่สอดคล้องกับโลกที่เป็นจริง-ไร้ทักษะทำงานได้จริง! ซึ่งมันคือความสูญเปล่าที่เวิ้งว้างไร้ทิศทางของระบบการศึกษาและการพัฒนาคน! นี่คือความสำคัญที่ว่า ทำไมต้องปรับสร้างการศึกษากันใหม่อย่างจริงจัง!!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่อเลื่อนประชามติ รอแก้กฎหมาย ร่างรธน.ฉบับใหม่ ต้องไม่จุดไฟความขัดแย้ง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา รับทราบ รายงานผลการดำเนินงานของ”คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ

บทธรรมดับโลกร้อน .. ที่นักปกครองต้องอ่าน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. โลกกำลังเข้าสู่ห้วงธรรมวิกฤต.. ที่มนุษยชาติประพฤติตนอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ มีความโลภที่รุนแรงและราคะความกำหนัดที่ผิดธรรม .. เป็นส่วนใหญ่

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..