
การยุบสภาผู้แทนราษฎรวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ นับเป็นการยุบสภาฯครั้งที่ ๑๒ และเป็นการยุบสภาฯที่มีลักษณะที่แตกต่างไปจากการยุบสภาฯ ๑๑ ครั้งก่อนหน้า และในความเห็นของผู้เขียน การยุบสภาฯครั้งที่ ๑๒ ถือเป็นการยุบสภาฯที่ผิดหลักการการยุบสภาฯตามแบบแผนการปกครองระบบรัฐสภาที่มีสหราชอาณาจักรเป็นต้นแบบ
ตามข้อมูลที่เผยแพร่ทั่วไป อย่างเช่น วิกิพีเดีย ได้กล่าวว่า “การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย คือ การทำให้ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสิ้นสุดลง โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นผลให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งปวงพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ทั้งนี้ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ การยุบสภาเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ทำให้มีการคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารอาจนำมาใช้แก้ปัญหาทางตันทางการเมือง นอกจากทางอื่น เช่น รัฐบาลลาออก อนึ่ง เหตุผลในการยุบสภานั้น หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติไว้ไม่ ดังนี้ จึงเป็นไปตามประเพณีการปกครองตลอดจนสภาวการณ์ของประเทศในขณะนั้น อาทิ เกิดความขัดแย้งรุนแรงในรัฐสภาหรือระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล การใช้เป็นเครื่องมือในการชิงความได้เปรียบทางการเมือง เช่น ขณะที่ตนมีคะแนนนิยมสูงมาก การที่สภาวการณ์ต่าง ๆ สุกงอมพอสมควรที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนครบอายุสภา เช่น ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญได้เสร็จสิ้นแล้ว” รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับมิได้กำหนดหรือวางเกณฑ์ของสาเหตุในการยุบสภาไว้
ดังนั้น เหตุผลหรือเงื่อนไขในการยุบสภาจึงเป็นไปอย่างที่กล่าวไปข้างต้น นั่นคือ เป็นไปตามประเพณีการปกครองตลอดจนสภาวการณ์ของประเทศในขณะนั้น
สำหรับการยุบสภาฯ ๑๑ ครั้งก่อนหน้าการยุบสภาฯวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ผู้เขียนได้ประมวลสาเหตุของการยุบสภาฯไว้ดังนี้
๑.ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับสภา ๒ ครั้ง (การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๘๑, การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๙)
๒.ความขัดแย้งภายในรัฐบาล ๔ ครั้ง (การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๑๙, การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๑, การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๘, การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๙)
๓.ครบวาระ ๓ ครั้ง (การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๘๘, การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๓, การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๘)
๔.สภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งกับวุฒิสภา ๑ ครั้ง (การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๒๖)
๕.เป็นรัฐบาลเฉพาะกาลหลังจากเกิดวิกฤตทางการเมือง ๑ ครั้ง (การยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๕)
ขณะเดียวกัน เมื่อสืบค้นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรและปัญหาการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย จะพบว่ามีงานวิจัย ๓ ชิ้น โดยเริ่มจากงานของ กาญจนา เกิดโพธิ์ทอง เรื่อง “การยุบสภาในประเทศไทย” (๒๕๓๐), งานของหนึ่งฤทัย อายุปานเทวัญ เรื่อง “ปัญหาการยุบสภาผู้แทนราษฎร” (๒๕๕๓) และงานของตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ เรื่อง “การยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย” (๒๕๕๔) จะพบว่า ความเห็นของทั้งสามท่านพ้องต้องกันกับผู้เขียนเกี่ยวกับสาเหตุในการยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทยในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๕๗๕-๒๕๒๙ ส่วนความเห็นต่อสาเหตุของการยุบสภาหลัง พ.ศ. ๒๕๒๙ จนถึงการยุบสภา พ.ศ. ๒๕๔๓ หนึ่งฤทัย และ ตวงรัตน์ มีความเห็นสอดคล้องกับผู้เขียน
ขณะเดียวกัน จากการศึกษาการยุบสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๕๒๙ แม้ว่าจะเป็นการยุบสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญและตามหลักการของระบอบรัฐสภา แต่กระนั้น กาญจนา เกิดโพธิ์ทอง ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “จากประสบการณ์และความเป็นจริงของไทย จะเห็นได้ว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาได้อย่างกว้างขวางโดยไม่เกรงการตอบโต้จากสภา เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรของไทยอ่อนแอเป็นเหตุให้สภาเสียเปรียบฝ่ายบริหาร ซึ่งมีผลเสียต่อศรัทธาของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย”
แต่สำหรับการยุบสภา พ.ศ. ๒๕๔๙ ในสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ในงานวิจัยของ ตวงรัตน์ เลาหัตถพงษ์ภูริ มิได้มีข้อสังเกตเห็นถึงความผิดปรกติแต่อย่างใด แต่ในงานของ หนึ่งฤทัยอายุปานเทวัญ ได้เขียนสรุปให้ความเห็นถึงสาเหตุการยุบสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ๑๑ ครั้ง นั่นคือ ตั้งแต่หลัง พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงการยุบสภาครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ในสมัยที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีไว้ว่า “จากการศึกษาเหตุการณ์ยุบสภายังทำให้ทราบอีกว่า เหตุผลการยุบสภารวมทั้งคำชี้แจงทั้งหลายเกี่ยวกับการยุบสภาที่ปรากฏอยู่ในพระราชกฤษฎีกาการยุบสภาผู้แทนราษฎรและในคำแถลงการณ์นั้นอาจเป็นจริงดังเนื้อความที่ปรากฏอยู่หรืออาจเป็นการเขียนเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจยุบสภาของนายกรัฐมนตรีก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสาเหตุหรือเหตุผลในการยุบสภาจะเกิดจากสิ่งใดหรือจะเขียนไปในแนวทางใด สามารถกระทำได้ทั้งสิ้น เนื่องจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎรนั้นมิได้กำหนดสาเหตุของการยุบสภาไว้ ดังนั้น สาเหตุของการยุบสภาจึงเปิดกว้างมาก การยุบสภาจึงชอบด้วยกฎหมาย แต่จะชอบธรรมหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง”
ผู้เขียนขอย้ำความเห็นของ หนึ่งฤทัย ที่ยืนยันว่า การยุบสภาสามารถกระทำได้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลตามที่ประกาศไว้อย่างไรในพระราชกฤษฎีกา รวมทั้งเหตุผลที่แท้จริงจะเป็นเช่นไรก็ตาม เพราะการยุบสภาสามารถกระทำได้ทั้งสิ้น เนื่องจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเรื่องการยุบสภาผู้แทนราษฎรนั้นมิได้กำหนดสาเหตุของการยุบสภาไว้ ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย แต่จะชอบธรรมหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การยืนยันในเรื่องการยุบสภาของเธอนั้นยึดหลักการให้ความสำคัญกับกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้นเป็นสำคัญ ขณะเดียวกัน เธอก็ยอมรับว่า การกระทำตามบทบัญญัติข้อกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรอาจจะชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมก็ได้ ความเห็นของเธอนั้นสอดคล้องกับความเห็นของศาสตราจารย์ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่ผู้เขียนได้เคยมีโอกาสนทนาเป็นการส่วนตัวเกี่ยวกับการยุบสภา พ.ศ. ๒๕๔๙ ในสมัยที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรประกาศยุบสภา ขณะเดียวกัน อาจารย์วรเจตน์ ก็เป็นกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง “ปัญหาการยุบสภาผู้แทนราษฎร” ของหนึ่งฤทัยด้วย
คำถามที่เกิดขึ้นคือ หากกฎหมายลายลักษณ์อักษรอาจจะไม่สามารถให้ความชอบธรรมต่อการยุบสภาผู้แทนราษฎรได้ แล้วอะไรจะเป็นตัวกำกับให้การยุบสภาผู้แทนราษฎรตามกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มิได้กำหนดสาเหตุของการยุบสภาไว้มีความชอบธรรมได้ ?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เด็กธนาธร' หลอน! จะเลือกตั้งอยู่แล้ว ดันกลัวรัฐประหาร
นายธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เพื่อนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Th
ความรู้เกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร
การยุบสภาในประเทศไทยที่เกิดขึ้นตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น ๑๕ ครั้ง
ประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน: เรื่องพรรคประชาธิปัตย์ กับ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 (ตอนที่ 3: รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดย Joshua Kurlantzick)
สมัยก่อนใครอยากจะรู้ว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคแบบไหนและมีความเป็นมาอย่างไร คงต้องไปค้นตามห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเพื่อค้นหาหนังสือและงานวิจัยที่กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๓๕): การสละราชสมบัติ
ในหนังสือ “เอกสารการเมือง-การปกครองไทย” ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๘ ชัยอนันต์ สมุทวนิช และ ขัตติยา กรรณสูตรได้รวบรวมเอกสารสำคัญในการเมืองการปกครองไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๗๗
ประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน: เรื่องพรรคประชาธิปัตย์ กับ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 (ตอนที่ 2: มรณกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ โดย Joshua Kurlantzick)
พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่คือพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นพรรคมีฉายาต่างๆนานามากมายและย้อนแย้ง เช่น ยืนหยัดต่อสู้กับเผด็จการทหาร, มี ส.ส.
'เศรษฐา' โยนกลองโทษรัฐประหาร ไม่สน ส.ว.วันชัย เตือนระวังซ้ำรอยทักษิณ-ยิ่งลักษณ์
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย น.ส. แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย นายเศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรค นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร อดีตส.ส.พิจิตร พรรคเพื่อไทย