ลุ้นถกสัมปทานสายสีเขียว

ถือเป็นข้อถกเถียงกันมานานสำหรับประเด็นการขยายสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากที่ผ่านมามีประเด็นข้อสงสัยของกระทรวงคมนาคมที่สอบถามกรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่ยังไม่ได้รับการชี้แจงที่ครบถ้วน ทำให้กระทรวงคมนาคมมีความเห็นคัดค้านการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ในเครือบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ออกไปอีก 30 ปี หรือไปสิ้นสุดปี 2602 จากเดิมสิ้นสุดปี 2572 

เรื่องนี้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งหลังจากชัชชาติ สิทธิพันธุ์ คว้าชัยชนะเก้าอี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมานั่ง ก็ทำให้หลายฝ่ายจับจ้องว่า ที่สุดแล้วท่านผู้ว่าฯ ป้ายแดงจะเข้ามาแก้ไขเผือกร้อน สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างไร ทันทีที่ผู้คนสนใจเรื่องนี้นั้น ด้านผู้ว่าฯ กทม.ป้ายแดงก็ได้เรียกบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือเคที เข้ามารายงานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญญาการเดินรถ​และสัมปทาน​รถไฟฟ้าสายสีเขียว

แน่นอนว่าการขยาย​สัญญาสัมปทาน​รถไฟฟ้าสายสีเขียวที่จะหมดสัญญาในปี 2572 นั้น ยังไม่ได้มีการหารืออย่างละเอียดที่ชัดเจน โดยผู้ว่าฯ กทม.มองว่าเรื่องนี้มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ​ฝ่ายอื่นๆ ทั้งสำนักการจราจร​และขนส่ง ​กรุงเทพ​มหานคร​ หรือ​ สจส.​ และสภา กทม.​ ที่จะต้องพูดคุยกัน​เพื่อดูรายละเอียดข้อมูลและทบทวนการต่ออายุสัญญา จึงมอบให้สภา กทม.ดูเนื้อหาอย่างละเอียด​ตามแนวทางปฏิบัติ​ เพราะสัญญาเดิมที่ค้างอยู่ในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขณะนี้เกิดขึ้นจากการพิจารณา​ของคณะกรรมการ​ที่ถูกตั้งขึ้นโดยใช้มาตรา 44 หากศึกษารายละเอียดแล้วเชื่อว่าจะมีจุดที่ทำให้สัญญา​ถูกลงได้​ เพราะที่ผ่านมาไม่มีการใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุนเข้ามาแข่งขัน​ 

ขณะที่ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้ให้รายละเอียดกรณีสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่าขอให้ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบข้อกฎหมาย ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันหลักการนี้ อย่าไปพูดอะไรล่วงหน้า เพราะมีรายละเอียดเยอะ ขณะเดียวกันมองว่าอยู่ที่ผลการศึกษา หลักการอยู่ที่ทำอะไรแล้วประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและสัญญา การที่อยู่ๆ จะไปลดอะไรต่างๆ นานา ต้องไปดูด้วยว่าสัญญาสามารถทำได้หรือไม่ ระวังจะเป็นค่าโง่ 

มาดูกันที่ภาระหนี้สินระหว่างกรุงเทพมหานครกับบีทีเอส จากข้อมูลล่าสุดมีจำนวน 40,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.ค่าจ้างเดินรถและบำรุงรักษา (08M) ส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวน 3,710 ล้านบาท ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 13,343 ล้านบาท และ 2.ค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) จำนวน 20,088 ล้านบาท โดยปัจจุบันบีทีเอสได้ทวงถามหนี้กับ กทม.มาแล้วหลายครั้ง และได้ยื่นฟ้องเพื่อให้ กทม.จ่ายหนี้ในส่วนของค่าจ้างเดินรถที่ขณะนี้เป็นจำนวน 13,343 ล้านบาทแล้ว

ขณะเดียวกันกรุงเทพมหานครยังมีภาระหนี้ที่ต้องชำระกับบีทีเอสอีก แบ่งเป็น ภาระเงินต้นงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่กรุงเทพมหานครรับโอนมาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในปี 2561 จำนวน 55,000 ล้านบาท และภาระดอกเบี้ยงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ปี 2564-2572 ประมาณ 10,000 ล้านบาท 

คงต้องติดตามความคืบหน้ากันอย่างใกล้ชิด หลังจากกระทรวงคมนาคมเตรียมทำหนังสือเชิญไปยังปลัดกรุงเทพมหานคร และประธานกรรมการร่วม เพื่อเข้าประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการมอบหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้บริการจัดการเดินรถ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ครั้งที่ 2/2565 ในวันจันทร์ที่ 13 มิ.ย.นี้ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกัน

เนื่องจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะผู้บริการชุดใหม่ได้เข้าบริหารราชการ กระทรวงจึงขอเรียนเชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เกียรติเข้าร่วมการประชุมเพื่อรับทราบข้อมูลและรายละเอียดของโครงการกับกระทรวงคมนาคม

ต้องมาลุ้นกันว่าปมสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จะสรุปออกมาในแนวทางใด ต้องมาติดตามกันหลังจากนี้.

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุบัติเหตุหรือละเลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ชลบุรี ฯลฯ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น

ลุ้นแจ้งเกิดให้บริการซีเพลน

จากนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ผลักดันการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนะSME“ปรับเปลี่ยน”เพื่อ“ไปต่อ”

สถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ระบุว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขณะนี้ยังน่ากังวล เพราะยังคงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้

ดีมานด์ทองคำยังแกร่งแม้ราคาพุ่ง

จากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำ หรือ Gold Demand Trends จากสภาทองคำโลก (World Gold Council) สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสำหรับการลงทุนของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10%

ปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีแต่เสียกับเสีย

ปมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ โดยจุดเริ่มต้นต้องเรียกว่าชนวนเหตุนั้น มาจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นโยบายขายฝัน

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท