การฟื้นตัวของธุรกิจหลัง“โควิด”

หลังสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็เริ่มกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ภาคธุรกิจกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้น แม้ว่าหลายส่วนอาจจะยังไม่กลับมาขยายตัวได้เต็มศักยภาพ โดย ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ (Economic Intelligence Center: EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ออกบทวิเคราะห์ “การฟื้นตัวของธุรกิจหลังโควิด..ใครว่าขนาดไม่สำคัญ” โดยระบุว่า จากผลการศึกษาข้อมูลงบการเงินบริษัทจดทะเบียนในไทยช่วงปี 2560-2564 กว่า 1.1 แสนราย พบว่า ภาพรวมของภาคธุรกิจได้รับผลกระทบมาจากวิกฤตโควิด-19 ทั้งมิติความสามารถในการทำกำไรและปัญหาสภาพคล่องที่แย่ลง โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร

ทั้งนี้ ผลกระทบมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากกว่าสำหรับบริษัทขนาดเล็ก ทั้งความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงมาก และยังไม่ฟื้นตัว ขณะที่ภาพรวมในปี 2564 บริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากปี 2563

โดยบริษัทขนาดใหญ่มีความสามารถในการทำกำไรกลับไปใกล้เคียงช่วงพรีโควิด-19 แล้ว สาเหตุหนึ่งอาจมาจากข้อจำกัดของบริษัทขนาดเล็กในการหาเงินทุนหมุนเวียนกิจการ และการเข้าถึงสินเชื่อ แม้จะได้รับการผ่อนผันหรือช่วยเหลือจากนโยบายภาครัฐหรือสถาบันการเงินก็ตาม ขณะที่การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของบริษัทขนาดใหญ่อาจทำได้มากกว่า และยังมีการกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดที่หลากหลาย ทำให้ได้รับผลกระทบรุนแรงน้อยกว่า

สำหรับ บริษัทขนาดเล็กในกลุ่มธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบสูงสุด โดยเฉพาะโรงแรมขนาดเล็กที่มีความสามารถในการทำกำไรลดลงมากที่สุดในกลุ่มธุรกิจทั้งหมด เนื่องจากที่ผ่านมานักท่องเที่ยวมีความกังวลด้านสุขอนามัยค่อนข้างมาก และโรงแรมขนาดเล็กที่ได้รับรองตามมาตรฐาน SHA+ ยังมีสัดส่วนน้อย อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาเดินทางกลุ่มแรกๆ ส่วนมากเป็นนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง จึงทำให้อานิสงส์ตกไปอยู่ที่โรงแรม 4-5 ดาวที่เป็นโรงแรมขนาดใหญ่

สอดคล้องกับบริษัทขนาดเล็กในกลุ่มร้านอาหารและอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่ เนื่องจากการบริหารจัดการต้นทุนที่เป็นรอง แต่อย่างไรก็ดี!! คาดว่าธุรกิจกลุ่มดังกล่าวจะปรับตัวดีขึ้นจากจุดต่ำสุดในปี 2564 ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในประเทศและทั่วโลกที่เริ่มคลี่คลาย หลายประเทศประกาศเปิดประเทศและทยอยผ่อนคลายมาตรการการเดินทางระหว่างประเทศให้กลับสู่ภาวะปกติ แต่ธุรกิจขนาดเล็กในกลุ่มนี้ที่ได้รับผลกระทบแรงและลึกกว่า จะมีความเปราะบางและฟื้นตัวได้ช้า เพื่อให้กลับมามีความสามารถในการทำกำไรเท่ากับระดับก่อนการระบาด

โดย EIC ระบุว่า เมื่อมองไปข้างหน้า การฟื้นตัวของภาคธุรกิจไทยยังคงมีความท้าทายจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ยังสูงและไม่ทั่วถึง (Uneven) โดยธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตได้แก่ กลุ่มที่ตอบโจทย์การฟื้นตัวของการบริโภค หรือสอดรับเทรนด์โลก หรือที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในเมกะโปรเจ็กต์ ขณะที่บางกลุ่มธุรกิจมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หรือได้รับผลกระทบจากเมกะเทรนด์ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ความช่วยเหลือพิเศษจากภาครัฐและการปรับตัวอย่างเหมาะสม ยังคงมีความสำคัญอย่างมากต่อการประคองบริษัทขนาดเล็กเหล่านี้ให้กลับมาฟื้นตัวได้

โดย นโยบายภาครัฐควรมุ่งเน้นการลดค่าใช้จ่าย พร้อมเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กในภาคบริการ รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมากกว่า อาทิ มาตรการช่วยเหลือต้นทุนผู้ประกอบการ โดยระยะสั้นควรมีมาตรการอุดหนุนราคาพลังงานและค่าจ้างให้กับผู้ประกอบการรายเล็ก และในระยะยาวควรให้ความรู้ในการวางแผนจัดการต้นทุนของธุรกิจ เป็นต้น, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น แทนมาตรการแบบหน้ากระดาน

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญต่อการปรับตัว โดยคำนึงถึงปัจจัยดังนี้ 1.รักษาเสถียรภาพของธุรกิจควบคู่กับการบริหารความเสี่ยง โดยเน้นดูแลงบการเงิน ผ่านการลดต้นทุนการดำเนินงานที่ไม่จำเป็น 2.เน้นตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค 3.ปรับโมเดลในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และ 4.ลงทุนเพื่ออนาคต ผ่านการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลงทุนแผน Retrain และ Reskill-Upskill พนักงานเพื่อเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน!.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุบัติเหตุหรือละเลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ชลบุรี ฯลฯ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น

ลุ้นแจ้งเกิดให้บริการซีเพลน

จากนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ผลักดันการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนะSME“ปรับเปลี่ยน”เพื่อ“ไปต่อ”

สถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ระบุว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขณะนี้ยังน่ากังวล เพราะยังคงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้

ดีมานด์ทองคำยังแกร่งแม้ราคาพุ่ง

จากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำ หรือ Gold Demand Trends จากสภาทองคำโลก (World Gold Council) สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสำหรับการลงทุนของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10%

ปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีแต่เสียกับเสีย

ปมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ โดยจุดเริ่มต้นต้องเรียกว่าชนวนเหตุนั้น มาจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นโยบายขายฝัน

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท