ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เทรนด์รับมือภัยคุกคาม

เมื่อเทรนด์การทำงานในองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเปลี่ยนเป็นแบบไฮบริด เกิดการเพิ่มขึ้นของดิจิทัลฟุตพรินต์มากมาย นำไปสู่การคุกคามและโจมตีทางไซเบอร์ อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ Cyber Security Agency (CSA) ของประเทศสิงคโปร์ ประกาศว่ามีบริษัทสิงคโปร์ที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ในปีที่แล้วมากขึ้นถึง 54% และเชื่อว่าการคุกคามทางไซเบอร์มีแต่จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่องค์กรต่างๆ จะต้องพิจารณาแผนรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ในฐานะส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจระยะยาว เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคง

โดย Zoom ได้คาดการณ์และเปิดเผยแนวโน้มสำคัญด้านความปลอดภัยด้านไซเบอร์ไว้หลายด้านด้วยกัน อย่างแรกเลยคือ ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะหันมาให้ความสำคัญกับความสามารถในการรับมือกับภัยทางไซเบอร์ขององค์กรมากขึ้น เพราะความปลอดภัยด้านไซเบอร์เป็นมากกว่าการป้องกัน

แต่ยังรวมถึงการกู้คืนและการทำให้เกิดความต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุร้ายทางไซเบอร์ ไม่เพียงแต่ลงทุนทรัพยากรเพื่อป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ แต่ยังลงทุนในคน กระบวนการ และเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบ และทำให้การดำเนินการยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดเหตุโจมตีทางไซเบอร์

ส่วนข้อต่อมา จะเห็นได้ว่าทีมความปลอดภัยต้องเพิ่มการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพราะต่อไปจะสามารถระบุแหล่งที่มาของผู้คุกคามได้ยากขึ้น ซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ ยากที่จะป้องกันอย่างเหมาะสม ในปีหน้าคาดว่าจะเห็นการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี AI และ Deep-Fake รูปแบบใหม่ ขณะที่ความไม่เสถียรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานของซอฟต์แวร์ จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการโจมตีขนาดใหญ่ เราเห็นการโจมตีของห่วงโซ่อุปทานครั้งใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ห่วงโซ่อุปทานของซอฟต์แวร์จึงมีความสำคัญมากขึ้น

ทั้งนี้ บริษัทจำนวนมากขึ้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเสริมความแข็งแกร่งให้กับแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย ตั้งแต่การพิจารณาแนวทางแบบ Zero-trust ไปจนถึงการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมของบริการโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการปรับปรุง Release Process การใช้บุคคลที่สามมากขึ้นทำให้จำเป็นต้องควบคุมความปลอดภัยตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น เช่น การประเมินความเสี่ยงโดยบุคคลที่สาม การจัดการข้อมูลประจำตัวและการเข้าถึง และการแพตช์ที่ทันท่วงที

นอกจากนี้ การเพิ่มการพึ่งพาผู้ให้บริการระบบคลาวด์อาจทำให้บริษัทถูกโจมตีมากขึ้นได้ ด้วยความยืดหยุ่นของระบบคลาวด์ องค์กรต่างๆ จำนวนมากจึงใช้เทคโนโลยีคลาวด์กับงานด้านใหม่ๆ และงานที่มีความเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตามในการทำเช่นนี้องค์กรกำลังทำให้ตัวเองตกเป็นเป้าของการโจมตี จึงต้องคิดหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อปรับใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยบนคลาวด์และกลยุทธ์การป้องกัน นอกจากนี้ผู้ดูแลด้านไอทียังจำเป็นต้องมีกระบวนการที่แข็งแกร่งในการประเมินผู้ให้บริการคลาวด์ และทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีแบ็กเอนด์ที่พวกเขาใช้อีกด้วย

โดยยังมีข้อมูลจาก Trend Micro ระบุอีกว่า ทั่วโลก Ransomware มีอัตราเติบโตสูงถึง 75% และมากกว่า 1,200 องค์กรที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตี ใน 6 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา ดังนั้นสิ่งที่องค์กรควรตระหนักและหันมาให้ความสำคัญมากกว่าการป้องกันการโจมตี คือ การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือการทำ BCP (Business Continuity Planning) ด้าน Cybersecurity เพื่อให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ ขณะเดียวกันองค์กรจะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านการป้องกันภัยไซเบอร์ หรือผู้นำองค์กรระดับ Chief Information Security Officer (CISO) มาเป็นผู้วางรากฐานการป้องกันองค์กรให้แข็งแกร่งอีกทางหนึ่งด้วย

อย่างไรก็ดี Trend Micro กล่าวอีกว่า ปัจจุบันองค์กรยังมองการทำ BCP ด้าน Cybersecurity น้อยมาก สวนทางกับการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ที่มาพร้อมกับช่องโหว่ใหม่ ซึ่งบางครั้งทรัพย์สินทางไซเบอร์ เช่น ข้อมูลหรือระบบถูกโจมตี แต่ฝ่าย IT ยังไม่รู้ว่าองค์กรถูกโจมตีแล้ว ขณะที่บางองค์กรโดนโจมตีและต้องเลือกทำ System Restore จากชุดข้อมูล 1-3 เดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ยังตรวจสอบไม่ได้ว่าถูกโจมตีจากไหน และมีช่องโหว่อยู่ที่ใดบ้าง แน่นอนว่าองค์กรในยุคนี้ควรจะมีคนที่เข้าใจเรื่อง Cybersecurity โดยเฉพาะ หรือผู้บริหารในตำแหน่ง CISO ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถตัดสินใจได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจากการโดนโจมตี และเป็นผู้วางกลยุทธ์ BCP ด้าน Cybersecurity ให้กับองค์กรเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่เข้ามาได้ตลอดเวลา.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research