
เลือกตั้งเที่ยวนี้ต้องยอมรับว่ากระแส มีผลอย่างมากที่ทำให้ผู้สมัครและพรรคได้รับชนะ ไม่เว้นแต่พื้นที่ ส.ส.เดิมหรือ ส.ส.บ้านใหญ่หลายจังหวัดต้องสอบตก เสาไฟฟ้าล้มเป็นครั้งแรก ท่ามกลางการยอมรับภูมิทัศน์การเมืองต้องเปลี่ยนไป
พรรคก้าวไกล ประสบความสำเร็จ ด้วยการผุดวาทกรรม "มีลุงไม่มีเรา " หรือบางพื้นที่อาจเล่นประเด็นความขัดแย้ง สร้างความเกลียดชัง ด้วยวากรรม งูเห่า เพื่อให้ตัวเองได้รับชัยชนะ
อย่างเช่นจังหวัดศรีสะเกษ ที่พรรคใช้ประเด็นโจมตีเรื่องงูเห่า กระทั้งคว้าชัยไปได้ 7 ที่นั่งจาก 9 ที่นั่ง ขณะที่2 ที่นั่งเป็นของพรรคภูมิใจไทย
โดย1 ใน 2 คนของพรรคสีน้ำเงินที่หนังเหนียว ฝ่ากระแสต่างๆ และเข้าสภาฯรอบ 2 ได้ คือ"ส.ส. แนน" นายอาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ ว่าที่ ส.ส.เขต 8 จังหวัดศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ด้วยคะแนน 42,882 คะแนน เหนืออันดับ 2 นายประวิทย์ จารุรัชกุล จากพรรคเพื่อไทยที่ได้ 34 ,811 คะแนน และ อับดับ 3 นายเฉลิมชัย ทัพพเสรษฐโชติ จากพรรคก้าวไกล ได้ 8,158 คะแนน
"ส.ส.แนน" ยอมรับว่า สาเหตุที่กลับมาได้เพราะการทำเททำงานหนัก 7 วันตลอด 24 ชั่ว โมง และมีโอกาสลงพื้นที่พบพี่น้องประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ 300 กว่าหมู่บ้าน มีโอกาสนำเสนอนโยบายพรรคภูมิใจไทย "พูดแล้วทำ" อาทิ นโยบายพักหนี้3ปีหยุดต้น ปลอดดอกเบี้ย, ค่าตอบแทน อสม. เดือนละ 2000 บาท , ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ เช่นฟรีหลังคาโซล่าเซลล์ , มิเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ฯลฯ
พร้อมมีโอกาสพูดถึงผลงานที่ผ่านมาในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ส.ส. ว่าทำอะไรบ้าง มีผลงานอะไรบ้าง และได้มีโอกาสรับฟังปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับพี่น้องประชาชน
นอกจากนี้ในช่วงหาเสียง ยังยึดหลักการ ประการแรก จะไม่ปราศรัยโจมตี กล่าวให้ร้ายใคร เพราะไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้ง
ประการที่สอง คือ ต้องการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน และต้องการพัฒนาบ้านเรา ให้เติบโตเหมือนอย่างที่เมืองใหญ่ๆเขามี
" ขอขอบคุณพี่น้องประชาชนทั้งที่เลือกและไม่ได้เลือกผม และหลังจากได้รับโอกาสเข้าไปทำหน้าที่ในสภาฯสมัยที่ 2 จะ มุ่งมั่น และตั้งใจทำงานตามที่เคยรับปากเอาไว้เพื่อให้ชาวศรีสะเกษทุกคนมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป" "ส.ส.แนน" รับประกัน
นี่คือ “คนเหนือกระแส” ชนะเลือกตั้งได้ด้วยแนวทาง “คนรุ่นใหม่ พูดแล้วทำ อยู่กับพี่น้อง มีผลงาน”
ช่างสงสัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บันทึกหน้า 4
จับตา 30 พ.ค.นี้ 8 พรรคร่วมรัฐบาลจะคุยกันอย่างไร โดยมีวาระเดินหน้าไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล แบ่งโควตากระทรวงต่างๆ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ขอให้จับตาเรื่องประธานสภาฯ ที่มีความสำคัญไม่แพ้ตำแหน่งนายกฯ
“รอรับได้เลย”
ตั้งแต่หลังการเลือกตั้งเสร็จ สีสันการปราศรัยหาเสียงก็ได้จบลง เหลือไว้เพียงความทรงจำบนเวทีที่เหล่าแกนนำหาเสียง ได้งัดกลยุทธ์ กลวิธีในการดึงดูดผู้คน อย่างขวัญใจชาวเสื้อแดง อย่าง “เต้น” ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผอ.ครอบครัวเพื่อไทย
กำลังใจของลุงขิง
หลังจบศึกเลือกตั้ง “พรรครวมไทยสร้างชาติ” ภายใต้การนำของ “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์พรรค และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค ก็เดินหน้าต่อพัฒนาพรรคให้ก้าวทันโลกยุคใหม่ ที่ไม่ใช่การรีแบรนด์ดิ้ง
หายเครียดแล้ว
เป็นพรรคที่เก็บ ส.ส.ได้เป็นอันดับ 2 ในขั้วรัฐบาลเก่า รองจากพรรคภูมิใจไทย สำหรับพรรคพลังประชารัฐของ ลุงป้อมพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค
ทุเรียนภูเขาไฟมาแล้ว
การเลือกตั้งผ่านไปแล้ว จะเลือกหรือไม่เลือก แต่ความความสัมพันธ์ยันคงเดิม สำหรับ "กวาง" ไตรศุลีไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังมุ่งมั่นพัฒนา หวังสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่ชาวศรีสะเกษ ผ่านช่องทางต่างๆเพื่อให้ทุกคนเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน
ปธ.สภาฯ คือใคร?
ตอนนี้ประชาชนกำลังจับตาไปยังสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) จะโหวต “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างไร?