ไทยต้องไม่ตกรถไฟขบวนลาว-จีน

เมื่อวานเป็นวันสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่าง สปป. ลาวกับจีน...ที่เชื่อมด้วยทางรถไฟเป็นครั้งแรกระหว่างเวียงจันทน์กับคุนหมิง

คนไทยที่ติดตามเรื่องรถไฟลาว-จีนคงมีคำถามต่อว่าแล้วส่วนที่จะเชื่อมต่อมาถึงไทยอยู่ในสถานะเช่นไร

ก่อนหน้านี้มีคำประกาศจากกระทรวงต่างประเทศแห่ง สปป.ลาวว่า

 “ขอแจ้งให้ทราบว่า ในวันที่ 3 ธ.ค.2564 สหายทองลุน สีสุลิด เลขาธิการใหญ่พรรคประชาชนปฏิวัติลาว และประธานประเทศ สปป.ลาว จะได้พบปะสองฝ่ายกับสหาย สี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานาธิบดีจีน อย่างเป็นทางการ ในรูปแบบทางผ่านระบบ Video Call ภายหลังการพบปะสิ้นสุดลง ทั้งสองสหายเลขาธิการใหญ่จะได้เข้าร่วมพิธีเปิดเส้นทางรถไฟลาว-จีน”

คนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เฉพาะนักธุรกิจในทุกวงการ หากแต่ยังรวมถึงข้าราชการ, นักวิชาการและพ่อค้าแม่ขายคงจะเงี่ยหูฟังด้วยความสนใจ

หลายฝ่ายก็กระโดดลงไปร่วมความเคลื่อนไหวนี้แล้วเช่นกัน

เพราะการเชื่อมต่อทางคมนาคมระหว่าง สปป.ลาวกับจีนย่อมจะมีความสำคัญต่อไทย

ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ, สังคม, การเมืองและภูมิรัฐศาสตร์

เส้นทางรถไฟส่วนที่เป็นของไทยระหว่างหนองคายกับกรุงเทพฯ นั้น มีสัญญาทั้งสิ้น 14 สัญญา

ที่ทำเสร็จไปแล้วจากนครราชสีมาคือความยาวเพียง 3.5 กิโลเมตรเท่านั้น

ส่วนที่เหลือยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเดินหน้าไปอย่างไร

ทางรถไฟสายนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ BRI ที่สี จิ้นผิง เริ่มในปี 2013

อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เพื่อเชื่อมต่อด้านคมนาคมและขนส่งกับอีกกว่า 70 ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล

มูลค่าก่อสร้างอยู่ที่ 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เกือบ 2 แสนล้านบาท)

เส้นทางยาวกว่า 1,035 กิโลเมตร ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 ช่วงที่อยู่ในลาว 414 กิโลเมตร

ที่น่าทึ่งคือเป็นการสร้างที่ต้องเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์ตามทางรถไฟถึง 167 แห่ง

รวมระยะทางกว่า 590 กม. หรือเท่ากับ 63% ของระยะทางทั้งหมด

สถานีรถไฟของฝั่ง สปป.ลาว ช่วงแรกมี 11 สถานี เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสาร 10 สถานี ได้แก่ กรุงเวียงจันทน์ โพนโฮง วังเวียง กาสี หลวงพระบาง เมืองงา เมืองไซ นาหม้อ นาเตย และบ่อเต็น

และเป็นสถานีขนส่งสินค้า 1 สถานี คือ สถานีเวียงจันทน์ใต้

ส่วนสถานีรถไฟฝั่งจีน มี 14 สถานี ได้แก่ โม่ฮาน เหมิ่งล่า ก๋านหล่านป้า สิบสองปันนา เหมืองหย่าง ผูเอ่อร์ หนิงเอ่อร์ โม่เจียง หยวนเจียง หลัวหลี่เอ๋อซาน เหยียนเหอ อวี้ซีตะวันตก และนครคุนหมิง

ใช้ความเร็วในการขนส่งผู้โดยสาร 160-200 กม.ต่อชั่วโมง คาดว่าใช้เวลาเดินทางราว 10 ชั่วโมง

ขบวนรถไฟนี้มีน้ำหนัก 3,000 ตัน ขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า ระบบรางของรถไฟสายนี้

สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ความเร็วได้มากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ในส่วนของลาวจะวิ่งด้วยอัตราเร็ว 160-200 กม.ต่อชั่วโมง ในขบวนที่ใช้ขนส่งผู้โดยสาร

แต่หากเป็นขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจะจำกัดความเร็วที่ไม่เกิน 120 กม.ต่อชั่วโมง

ประมาณว่าเวลาที่ใช้วิ่งระหว่างนครคุนหมิงและกรุงเวียงจันทน์ตกประมาณ 10 ชั่วโมง

ส่วนของทางรถไฟที่อยู่ในจีนซึ่งให้บริการระหว่างนครคุนหมิงและเมืองโม่หาน แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ทางรถไฟคุนหมิง-อวี้ซี ระยะทาง 88 กม. วิ่งด้วยอัตราเร็ว 200 กม.ต่อชั่วโมง

กับทางรถไฟอวี้ซี-โม่หาน ระยะทาง 507 กม. มีแผนจำกัดความเร็วสูงสุดไว้ที่ 160 กม.ต่อชั่วโมง

ในการเปิดให้บริการเริ่มตั้งแต่เมื่อวานนี้ ขบวนรถขนส่งสินค้าจะให้บริการวันละ 2 เที่ยว จากสถานีสินค้าเวียงจันทน์ใต้ ข้ามชายแดนไปจนถึงสถานีคุนหมิง

ส่วนขบวนรถโดยสารจะให้บริการเบื้องต้นเฉพาะภายเส้นทางในประเทศ

นั่นคือวิ่งระหว่างสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ถึงสถานีบ่อเต็นก่อน

เหตุเพราะยังมีข้อจำกัดอันเกิดจากการระบาดของโควิด-19

คนไทยคงไม่รอให้ฝั่งเราสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อกับ สปป.ลาวเสร็จ เพราะประโยชน์ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจะมีให้เห็นได้เกือบจะทันที

ภาพใหญ่กว่านั้นคือเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ว่าด้วยจีน, ทะเลจีนใต้, ช่องแคบมะละกา และการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งผมจะว่ากันในคอลัมน์นี้ต่อไปในวันข้างหน้า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พม่าจะเดินตามรอยเกาหลีเหนือ? ทำไมจึงมีนักวิเคราะห์บางสายตั้งคำถามนี้?

เพราะมีข่าวหลายกระแสที่บ่งบอกไปในทิศทางที่ว่า ผู้นำทหารพม่ากำลังมองคิม จองอึน แห่งเกาหลีเหนือเป็น “แม่แบบ” ของการสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศที่พยายามจะกดดันให้ต้องยอมเสียงเรียกร้องให้กลับไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย

สงครามพม่า: ไทยอาจมีสภาพเหมือน ‘โปแลนด์’ ของสงครามยูเครน?

ข้อสังเกตของอาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข ว่าไทยอาจกลายเป็น “โปแลนด์” ในกรณีสงครามกลางเมืองพม่า เป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการวางยุทธศาสตร์ของไทยต่อสถานการณ์รอบบ้านเรา

ทำไม IMF กับ Apple ของจีนกันคนละมุม?

สองคนมองสองมุม ผู้อำนวยการ IMF เตือนว่าเศรษฐกิจจีนอยู่ในช่วงมาถึง “ทางสองแพร่ง” ต้องเลือกระหว่างนโยบายในอดีตหรือ “การปฏิรูปตลาด” เพื่อปลดล็อกการเติบโต

ปูติน-เซเลนสกีแลกหมัด กรณีเหตุก่อการร้ายมอสโก

ตกลงใครอยู่เบื้องหลังเหตุก่อการร้ายต่อโรงคอนเสิร์ตชานเมืองมอสโกที่มีคนตายกว่า 130 คนเมื่อค่ำวันศุกร์ที่ผ่านมา จนกลายเป็นเหตุการณ์ระดับโลก?

คำเตือนก่อเหตุร้ายมอสโก มาจากตะวันตกก่อน 2 สัปดาห์

สองสัปดาห์ก่อนเกิดเรื่องใหญ่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐฯเตือนคนของตนในรัสเซียให้หลีกเลี่ยงที่ชุมนุมชนในกรุงมอสโกเพราะอาจจะมีการโจมตีของผู้ก่อการร้าย