4เทรนด์อสังหาปี67

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคธุรกิจอสังหริมทรัพย์ ซึ่งผู้บริโภคมองหาความปลอดภัยในการมีที่อยู่อาศัยในรูปแบบที่ปกป้องคนในครอบครัวมากขึ้น คนส่วนใหญ่ก็ยังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เพื่อรองรับการอยู่อาศัย ทํางาน และต้องมีพื้นที่สําหรับทํากิจกรรมภายในบ้านได้ด้วย เพราะพฤติกรรมการอยู่อาศัยในบ้านของคนยุคนี้ที่หันมาให้ความสําคัญกับสุขภาพทางใจ ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน และต้องการพื้นที่สําหรับออกกําลังกายภายในบ้าน

ทั้งนี้ ชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า แม้โลกจะก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วแต่การสำรวจเทรนด์ผู้บริโภคในปี 2024 กลับพบว่า ท่ามกลางความรวดเร็วนั้น การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลับใช้เวลาเพิ่มขึ้นเพื่อวิเคราะห์ว่า “ตัวเลือกใดเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าที่สุด”

ซึ่งความคุ้มค่านั้นต้องสามารถตอบสนองได้ทั้งคุณภาพ ราคา และมอบประสบการณ์ที่แปลกใหม่ สิ่งสำคัญ ต้องใช้ประโยชน์ได้ยาวนานกว่าเก่า ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์การตลาดในปี 2024 ที่แบรนด์ระดับแถวหน้าต่างให้ความสำคัญกับ 3 ปัจจัยหลัก คือ ผู้บริโภค (Consumer), “ฐานข้อมูล (Data)” และ “กระแสความยั่งยืน (Sustainability)” เพราะเป็น 3 กุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่ความสำเร็จได้ด้วยการนำข้อมูลต่างๆ มาพัฒนากลยุทธ์ให้เข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคแต่ละกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น

 “ในปี 2024 เทรนด์ของผู้บริโภคจะเริ่มเปลี่ยนเข้าสู่ยุคประหยัด โดยเฉพาะกลุ่มตลาดบ้าน real demand หรือกลุ่มที่มีกำลังซื้อที่แท้จริง เป็นกำลังซื้อที่มีความต้องการที่อยู่อาศัย มีรายได้เพียงพอที่จะซื้อ มีเครดิตเพียงพอที่จะกู้แบงก์ผ่าน ดังนั้นการทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเทรนด์ผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ โดยสรุปเทรนด์ของผู้บริโภคในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1.ให้ความสำคัญต่อประสบการณ์ใหม่ 2.ให้ความสำคัญกับสุขภาพกายและใจเป็นหลัก 3.ให้ความสำคัญต่อการสร้างชีวิตที่สมดุลกว่าเดิม และ 4.ให้ความสำคัญต่อการแสวงหาและเพิ่มคุณค่าสูงสุดอย่างสมเหตุสมผล”

สำหรับ เทรนด์แรก การส่งมอบประสบการณ์ใหม่สู่มือผู้บริโภคยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ จะเห็นได้ทั้งกรณีที่แบรนด์เป็นผู้พัฒนาประสบการณ์นั้นขึ้นเอง หรือเป็นการจับมือร่วมกับแบรนด์อื่นๆ เพื่อมอบประสบการณ์และสิทธิพิเศษใหม่ๆ ก็ยังเป็นแนวทางที่ผู้บริโภคตอบรับ นอกจากนี้การใช้เครื่องมือในการจับกระแสโซเชียลเพื่อคอยอัปเดตเทรนด์ที่กำลังมา และหยิบสิ่งเหล่านั้นมานำเสนอเป็นสินค้าและบริการที่อินเทรนด์ ก็เป็นอีกโอกาสทางการตลาดที่ไม่ควรมองข้าม

เทรนด์ที่ 2 การพัฒนาสุขภาพกายและใจไปพร้อมๆ กัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าการให้ความสำคัญต่อสุขภาพกายและใจเป็นอีกหนึ่งกระแสนิยมที่ชัดเจนขึ้นมากหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ดังนั้นคำว่า บ้านสุขภาพ จึงต้องเกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อดูดซับกำลังซื้อในกลุ่มนี้ที่มักคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดต่อทั้งใจและกาย แสวงหาผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถสะท้อนการอยู่กับปัจจุบันได้อย่างดี ท่ามกลางธรรมชาติที่สัมผัสได้เต็มที่

เทรนด์ที่ 3 การสร้างชีวิตที่สมดุลกว่าเดิม ปัจจุบันคนในสังคมส่วนใหญ่จะทุ่มเทเวลาไปกับงาน ทำให้เกิดการขาดสมดุลในการใช้ชีวิต และเมื่อถึงขีดสุดที่ชีวิตจะรับได้คนส่วนใหญ่จะหยุดนิ่งและหันกลับมามองและหาวิถีสร้างสมดุลชีวิตให้เกิดขึ้น ปฏิเสธไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบและขับเคลื่อนด้วยเงินเพียงอย่างเดียว หลายคนเริ่มมองหาความสุขจากสิ่งพื้นฐานและการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นกับตัวเองได้มากขึ้น ดังนั้นการมองหาที่อยู่อาศัยก็ต้องยืดหยุ่นกับทุกโมเมนต์การใช้ชีวิตได้ด้วยเช่นกัน

และ เทรนด์สุดท้าย การแสวงหาและเพิ่มคุณค่าสูงสุดอย่างสมเหตุสมผล เทรนด์นี้จะชัดเจนมากในกลุ่มผู้บริโภคเจนใหม่ๆ ที่การตัดสินใจแต่ละครั้งจะอยู่บนความรอบคอบและชาญฉลาดเสมอ สิ่งที่คนกลุ่มนี้มองหาคือ การเพิ่มคุณค่าสูงสุดอย่างสมเหตุสมผลระหว่างคุณภาพและราคา รวมไปถึงการออกแบบฟังก์ชันภายในบ้านที่สามารถรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย นับเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านในกลุ่มคนรุ่นใหม่.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด