“ความยั่งยืน” โอกาสการเติบโตทางธุรกิจ

สภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทั้งโลกต้องหันมาให้ความสนใจการไปต่อของโลกอย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อปัญหาภาวะโลกร้อน และเป็นความหวังในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ดังนั้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างตระหนักและร่วมกันแก้ปัญหา องค์กรจึงจำเป็นต้องมีความรู้ เพื่อดำเนินธุรกิจโดยไม่เพิ่มปัญหา หรือยิ่งไปกว่านั้นยังสร้างประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจก หรือปัญหาภาวะโลกร้อน

จนเกิดการผลักดันให้เกิดองค์กรต่างๆ เพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้น

ซึ่งผลสำรวจของ บริษัท การ์ทเนอร์ จำกัด บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษา ระบุว่า ซีอีโอ 54% มองว่าธุรกิจของพวกเขาได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระดับปานกลางเป็นอย่างต่ำ และมากกว่าครึ่งหนึ่ง (51%) ยอมรับว่าสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องอยู่ในขั้นของการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานหรือปรับเปลี่ยนไปแล้ว

ทั้งนี้ คริสติน โมเยอร์ รองประธานฝ่ายนักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ ระบุว่า ในขณะที่ซีอีโอมีการปรับกลยุทธ์ระยะยาวกันใหม่ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่กำหนดกรอบการแข่งขัน สภาพเศรษฐกิจได้กระตุ้นให้เกิดกระแสการวกกลับของความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล หรือ ESG แม้ว่าจะมีการฟอกเขียว หรือ Greenwash ในองค์กรต่างๆ มากมาย และไปให้ความสำคัญกับผลกำไรจากต้นทุน อย่างไรก็ตาม พันธกิจภาพรวมของซีอีโอยังไม่เปลี่ยนไปแต่อย่างใด

นอกจากนี้ยังพบว่า บรรดาซีอีโอและผู้บริหารระดับสูงในองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลากหลาย ในกลุ่มรายได้และขนาดองค์กรแตกต่างกันออกไปมากกว่า 400 ราย จากทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย/แปซิฟิก ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ มองว่าความยั่งยืนยังเป็นปัจจัยสำคัญของการทำธุรกิจที่อยู่ใน 10 อันดับแรกอย่างต่อเนื่อง โดยแซงหน้าเรื่องผลิตภาพ (Productivity) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ขึ้นมาในปีนี้

ซึ่งผู้นำและนักลงทุนต่างทราบดีว่าองค์กรที่มีพฤติกรรมที่ไม่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเป็นความเสี่ยงที่สร้างผลกระทบระยะกลางถึงระยะยาวต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจ โดยมีราคาที่ต้องจ่ายมหาศาลหากละเลยปัจจัยในด้านสิ่งแวดล้อม และซีอีโอยังตระหนักดีว่าความท้าทายด้านความยั่งยืนจะสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การ์ทเนอร์ยังพบว่าผลกระทบใหญ่ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ซีอีโอกล่าวถึงคือ พลวัตการดำเนินงานมีถึง 30%, โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านโลจิสติกส์ เช่น การจัดเก็บสินค้า การกำหนดเวลา และกำหนดเส้นทางการจัดส่ง หรือการย้ายสถานที่ ซึ่งรวมถึงการทำงานในพื้นที่ใกล้เคียง อยู่ในอันดับสอง 14% รองลงมาคือ ระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยี และข้อมูล (13%)

ดังนั้นแนวทางหลักที่ซีอีโอใช้ความยั่งยืนขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจ ได้แก่ การใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืน 33%, ยึดแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่ยั่งยืน 18%, สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 18% และมุ่งลดการปล่อยคาร์บอน 18% โดยการลงทุนด้านนวัตกรรมและดิจิทัลอยู่ในอันดับที่ 9 ที่ 8%

และยังพบว่าซีอีโอเห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังทำให้สภาพอากาศแปรปรวนและกระทบตรงๆ ต่อการดำเนินธุรกิจของพวกเขาแล้ว และการดำเนินงานจะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห่วงโซ่อุปทาน

โมเยอร์ ระบุว่า เทคโนโลยีดิจิทัลนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนผลลัพธ์ด้านการเงินและความยั่งยืน ตัวอย่างเช่น Internet of Things (IoT), ข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data & Analytics) ที่สามารถปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดต้นทุนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมี AI และ IoT คอยช่วยลดต้นทุนของอาหารและขยะที่สูญไป ขณะที่ตลาดในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สามารถสร้างรายได้ใหม่และลดขยะไปพร้อมๆ กัน
ดังนั้นเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถเร่งการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน นอกจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายต่างๆ เช่น การเปิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ และการสร้างช่องทางรายได้ใหม่ๆ.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดันSMEอีอีซีบุกตลาดตปท.

ที่ผ่านมารัฐบาลอาจจะยังไม่ได้พูดถึงโครงการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี มากนัก เนื่องจากคงจะยุ่งกับการบริหารงานในแนวทางอื่นๆ อยู่ แต่กับหน่วยงานอย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โรงไฟฟ้าฟอสซิลต้นทุนพุ่งโตช้า

ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าฟอสซิลยังคงมีทิศทางเติบโตต่อเนื่อง ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2568 ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคธุรกิจจะโต 1% ชะลอลงจาก 2.8% ในปี 2567 จากการใช้ไฟฟ้าในภาคการผลิตและภาคบริการที่เพิ่ม

เคลียร์ปมสถานีอยุธยา

เมื่อพูดถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ไฮสปีดเทรนไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พบว่าปัจจุบันงานโยธาทั้ง 14 สัญญาคืบหน้าไม่สอดคล้องกัน รวมทั้งปัจจุบันยังมีอีก 2

แจกเงินหวังคะแนน

เก็บตกการประชุม ครม.ในสัปดาห์นี้ ตอนแรกก็รอลุ้นโครงการแจกเงินหมื่นเฟส 2 ที่ช่วงเช้า นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาให้ข่าวว่า จะให้ที่ประชุมอนุมัติในวันนี้ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นรอเก้อ เพราะ ครม.ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ เนื่องจากยังติดขัดปัญหาบางประการ

เทรนด์Pet Parentบูมไม่หยุด

คงต้องยอมรับว่า Pet Parent ยังคงเป็นกระแสนิยมในปัจจุบัน สะท้อนแนวโน้มและรูปแบบการเลี้ยงสัตว์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงสมือนคนในครอบครัว ยิ่งกว่านั้น

ปี 67 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยหืดจับ!!

ปี 2567 เป็นอีกปีที่มีความท้าทายอย่างมากสำหรับ “ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์” ที่ยังคงเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตของธุรกิจ ซึ่ง KKP Research